มีโอกาสเข้าไปรับฟังความรู้เรื่อง Sustainability และการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG (Environmental, Social & Governance) ร่วมกับเหล่าสตาร์ทอัพในงานสัมมนา ‘ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups’ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นตามคอนเซ็ปต์ของ KATALYST by KBank โครงการบ่มเพาะความรู้ให้แก่สตาร์ทอัพ ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้ธนาคารกสิกรไทย โดย Beacon VC พบว่าสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ามาอบรมความรู้ในงานนี้ ใจจดใจจ่อกับการรับฟังวิทยากรตลอดหลายชั่วโมงที่มีการเรียนการสอน
สำหรับผู้สอนหรือวิทยากรที่มาถ่ายทอดองค์ความรู้ในหัวข้อ ESG ESSENTIAL WORKSHOP คือ ดร.เอกภัทร มานิตขจรกิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้อำนวยการหลักสูตร KU Care โดยประเด็นที่นำมาถ่ายทอดนั้น แบ่งออกเป็น Introduction to Sustainability, Level of Sustainability, Process of Sustainability, Buy-In, Value Chain (Michael E. Porter) และ Materiality Process
ที่ผ่านมาคงเห็นแล้วว่า Beacon VC มี Beacon Impact Fund โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกสิกรไทย ในการจัดสรรวงเงินเพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งเสริมความยั่งยืนและ ESG อีกทั้งมุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพ โดยมีการดำเนินงานผ่านโครงการ KATALYST by KBank มาอย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำถึงความตั้งใจที่จะผลักดันสตาร์ทอัพไทยให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ และกลายเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนในท้ายที่สุด โดยในช่วงไม่กี่ปีนี้ เน้นให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืนและ ESG ตั้งแต่การให้ความรู้และแนะวิธีลงมือทำ ไปในทิศทางเดียวกับแผนของธนาคารกสิกรไทยในปี 2567 ที่ต้องให้ทุกภาคส่วนนำไปปฏิบัติจริงหลังจากที่ได้สร้างการรับรู้เรื่อง ESG แล้วในปีที่ผ่านมา
เพราะเล็งเห็นว่า สตาร์ทอัพส่วนใหญ่มีความตระหนักรู้ (Awareness) เรื่อง ESG แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะริเริ่มนำหลัก ESG ไปใช้ในองค์กร (ESG Initiative) อย่างไร ประกอบกับการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต Beacon VC และ KATALYST by KBank จึงร่วมมือกับ Singapore Management University (SMU) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ (SASIN) และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU) จัดเวิร์กช็อปแชร์ความรู้ ‘ESG ESSENTIAL WORKSHOP: Navigating Sustainability for Post-Revenue Startups’ ขึ้น เพื่อการทำ ESG ในภาคปฏิบัติ โดยเน้นการให้ความรู้แก่สตาร์ทอัพเพื่อวางแผนทำ ESG Report ของบริษัทตัวเองได้ และมีสตาร์ทอัพ 50 บริษัทสมัครเข้าร่วมกิจกรรม แต่คัดเลือกสตาร์ทอัพเพียง 40 บริษัทที่ได้เข้าร่วมในเวิร์กช็อปดังกล่าว
ดร.เอกภัทรสรุปภาพความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในปัจจุบัน ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ที่มาของก๊าซเรือนกระจก (GHG) ผลกระทบจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ความเข้าใจและการตระหนักรู้เกี่ยวกับภาวะโลกรวน (Climate Change) เป้าหมายด้านความยั่งยืน (SDGs) การสร้างความร่วมมือและการทำข้อตกลงต่างๆ เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5-2 องศา เช่น Tokyo Protocol, Paris Agreement (COP21) ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลกจาก The Global Risks Report 2024 ความสำคัญของการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ฯลฯ
ขยับลงมาที่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ‘ผู้ประกอบการ’ ต้องเข้าใจเรื่องความยั่งยืน การดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ซึ่งต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นคู่ค่า ลูกค้า พาร์ตเนอร์ พนักงาน ผู้ถือหุ้น ชุมชน แต่การทำตามหลัก ESG ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย จึงนำมาสู่การปูพื้นฐานความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดย ดร.เอกภัทรชี้ให้เห็นการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การให้เห็นความสำคัญในเรื่อง ESG ประโยชน์ที่สตาร์ทอัพจะได้รับ กรอบการทำรายงาน ESG ตัวชี้วัด ตัวอย่างรายงาน และประเด็นที่สตาร์ทอัพควรรู้อีกมากมาย โดยเทคซอสหยิบสิ่งที่น่าสนใจและย่อยง่ายมาบอกต่อเพียงบางส่วน ดังนี้
UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change) การประชุมเกี่ยวกับ Climate Change ซึ่งจัดขึ้นทุกปี
Kyoto Protocol (COP3) การแสดงจุดยืนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศพัฒนาแล้ว
COP21 (Conference of the Parties) หรือ 2015 Paris Climate Conference การประชุมสุดยอดผู้นำในประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยองค์การสหประชาชาติ ครั้งที่ 21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการหารือและทำข้อตกลงในเรื่องลดความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระดับนานาชาติ เพื่อร่วมกันรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดเป็น ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งบังคับให้ทุกประเทศที่ร่วมลงนามต้องดำเนินการตามข้อตกลง (Agreed Process) อย่างเป็นรูปธรรม
COP26 (Conference of the Parties) การประชุมสุดยอดผู้นำในประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 โดยมีประเด็นสำคัญในเรื่องการกำหนดกรอบระยะเวลาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย, การกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องสนับสนุนประเทศด้อยพัฒนา, การประกาศแผนลดการปล่อยมลพิษ, ข้อตกลงเฉพาะเกี่ยวกับการเลิกใช้ถ่านหิน การเปลี่ยนไปใช้ยานพาหนะไฟฟ้า, การปล่อยมลพิษสุทธิทั่วโลกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และรักษาระดับอุณหภูมิไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส
COP28 (Conference of the Parties) การประชุมสุดยอดผู้นำในประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 โดยมีเหล่าผู้นำและตัวแทนภาครัฐจาก 200 ประเทศ มาหารือร่วมกันในเรื่องภาวะโลกร้อน
ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) เช่น ส่งเสริมการแยกประเภทขยะและกำจัดขยะอย่างถูกต้อง ลดการใช้พลังงานในสำนักงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ลดการใช้เชื้อเพลงฟอสซิลเพื่อผลิตไฟฟ้า วางแผนการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานและลดการปล่อยคาร์บอน
ด้านสังคม (Social) เช่น เปิดรับความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ศาสนา (Diversity), ให้ค่าแรงและสวัสดิการอย่างเหมาะสมแก่พนักงาน, ให้เกียรติผู้ร่วมงานและไม่มีการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment)
ด้านธรรมาภิบาล (Governance) เช่น ทำธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการตัดสินใจและกิจกรรมขององค์กร (Responsibility & Accountibility) การให้ความสำคัญในเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Diversity and Equality)
Scope 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร โดยบริษัทสามารถประเมินได้ว่า แต่ละกิจกรรมในบริษัทปล่อยคาร์บอนมากเพียงใด
Scope 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้า
Scope 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากเพราะต้องเก็บข้อมูลได้ทั้ง Supply Chain
Thailand Taxonomy คือ การกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่กิจกรรมในภาคเศรษฐกิจ เพื่อช่วยประเมินว่า กิจกรรมใดเข้าข่ายการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ด้วยการแบ่งเป็น สีแดง สีเหลือง สีเขียว โดยสีเขียวคือ บริษัทนั้นๆ ทำกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สีแดง คือ บริษัทนั้นๆ ทำกิจกรรมที่ไม่เข้าข่ายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะต้องมีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น หรืออาจไม่สามารถระดมทุนได้
เพื่อกระตุ้นความจำ เพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ ดร.เอกภัทรให้ 40 สตาร์ทอัพ รวมกว่า 60 คน ตอบคำถามจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านการเล่นเกมบนแพลตฟอร์ม Kahoot เช่น ประเทศไทยประกาศว่าจะเป็น Net Zero Emission ในปีใด, ประเทศใดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยผู้ที่ตอบถูกมากที่สุด มีคะแนนสูงสุดก็จะได้รับของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ต่อด้วยการแนะแนวเรื่องการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมี 4 ขั้นตอนหรือ 4 สเตจ
จากนั้นเข้าสู่กิจกรรม Discussion Workshop ช่วงของการให้แต่ละทีมพูดคุยกันว่า ธุรกิจที่ทำอยู่นั้นอยู่ในสเตจใด โดยสตาร์ทอัพ AltoTech เป็นตัวแทนออกมานำเสนอว่า AltoTech อยู่ในสเตจ 2 และกำลังก้าวสู่สเตจ 3 เนื่องจากทีมเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องความยั่งยืนและเริ่มก่อตั้งทีม Sustainability แล้ว ตอนนี้อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data กับอีกสตาร์ทอัพ Poppin ที่ซีอีโอบอกสมาชิกในทีมเรื่อง Net Zero Journey เพื่อทำให้ทั้งทีมมีความตระหนักรู้เรื่องความยั่งยืน และทุกคน ทุกฝ่าย ก็พูดคุยประเด็นนี้กันในบริษัท เท่ากับว่า Poppin อยู่ในสเตจ 1 ของการทำธุรกิจที่ยั่งยืน
ดร.เอกภัทรแนะแนวทางในภาคปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน ว่า มีกระบวนการอยู่ 6 สเต็ป ดังนี้
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทมหาชน เอสเอ็มอี หรือสตาร์ทอัพ จะพาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนและสอดคล้องกับหลัก ESG ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจาก ‘ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย’ โดยรอบ เช่น คู่ค้า ลูกค้า พนักงาน แต่การจะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สเต็ป 0 Buy-in หรือสเต็ปการพูดเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแล้วทำตาม หรือเชื่อมั่นแล้วซื้อไอเดีย ซึ่งผู้พูดต้องเชื่อในเรื่องความยั่งยืนก่อน แล้วใช้ การมีส่วนร่วมและการสื่อสาร (Engagement and Communication) เนื้อหาที่เหมาะกับคู่สนทนา ตามมาด้วยการอธิบายว่า ทำแล้วเขาจะได้อะไร หรือ บริษัทมี Shared Value อะไรกลับคืน
“คนที่จะ Buy-in ต้องเป็นคนที่มีวาทศิลป์สูงมาก เป็นคนที่ Convince คนนู้นคนนี้ได้ และที่สําคัญอีกข้อก็คือ จะต้องไม่ยอมแพ้ เพราะว่าจะโดนปฏิเสธเยอะ แต่ก็ต้องคุยจนเขาเข้าใจและเห็นด้วย ซึ่งมันเป็น Process ที่ต้องค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ”
ดร.เอกภัทรกล่าวและยกตัวอย่าง เช่น CFO เห็นว่าควรลงทุนหรือซื้อหุ้นบริษัทเทคโนโลยีเพราะจะดีต่อบริษัทในระยะยาว ก็ต้องเอาตัวเลขไปคุยกับนักลงทุน ว่าการลงทุนในธุรกิจนี้มีโอกาสที่หุ้นจะขึ้น ทำกำไรได้ หรืออาจได้เทคโนโลยีล้ำสมัยมาปรับใช้ ซึ่งก็จะช่วยลดต้นทุน ลดการปล่อยคาร์บอน นำไปสู่มูลค่าหุ้นและผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
ด้วยเหตุนี้ สเต็ป Buy-in จึงมาก่อนกระบวนการทางธุรกิจข้ออื่นๆ
ในช่วงท้ายของงานมีกิจกรรมเวิร์กช็อปเพื่อให้ทุกทีมลองคิดและสื่อสารกันจริงๆ โจทย์ก็คือ ให้แต่ละทีมลองทำในสเต็ป Buy-in คือ ให้สมมุติสถานการณ์ว่า ถ้าต้องไปพูดกับ CEO, CFO, Engineer, Plant Manager หรือ Frontline Worker ใครก็ได้ 1 คน จะพูดให้คนคนนั้น Buy-in เรื่องความยั่งยืนได้อย่างไร
ต่อด้วยเวิร์กช็อปด้าน Value Chain ที่ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นว่า ธุรกิจที่ทำอยู่คืออะไร กำลังทำเรื่องไหนที่เป็นเรื่องความยั่งยืน อะไรสำคัญต่อบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ฯลฯ โดยให้สตาร์ทอัพระบุออกมาเป็น Value Chain ของธุรกิจที่ทำอยู่ แล้วแบ่งตามหมวด Economic, Environmental, Social และ Governance จากนั้นระบุสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อทำออกมาเป็น Materiality Matrix บอกได้ว่า Top 3 ที่แต่ละสตาร์ทอัพให้ความสำคัญมากที่สุดคือเรื่องอะไร
ตอนท้ายงานของงานเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพพูดคุยและสร้างเครือข่าย (Networking) ขยายระบบนิเวศสตาร์ทอัพภายใต้โครงการ KATALYST by KBank ออกไป โดยทุกคนจากภาคส่วนต่างๆ ที่มารวมตัวกันในวันนั้น ล้วนให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่อยู่ได้อย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG
นี่เป็นเพียงบทความชวนทบทวนความรู้ให้แก่เหล่าสตาร์ทอัพและผู้สนใจคอนเทนต์ด้านความยั่งยืน ซึ่งตอกย้ำว่า Beacon VC เน้นให้สตาร์ทอัพได้ทดลองทำจริงเพื่อให้เข้าใจเรื่อง ESG และเห็นความสำคัญของการทำรายงานด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ ทาง Beacon VC ยังเผยว่า จะจัดงานส่งต่อความรู้ด้านความยั่งยืนอีก แต่จะจัดขึ้นเมื่อไหร่นั้น สามารถติดตามความเคลื่อนไหวผ่านทางเฟซบุ๊ก KATALYST by KBank และ Beacon Venture Capital
..........................................................
บทความนี้เป็น Advertorial
#ESG #BeaconVC #KATALYSTbyKBank #ESGworkshop #SMU #SASIN #KU #StartupEcosystem
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด