เรียนรู้ไว คิดนวัตกรรมได้ เข้าใจเทคโนโลยี 3 skills แห่งยุค ตอบโจทย์ตลาดงานศตวรรษ 21 | Techsauce

เรียนรู้ไว คิดนวัตกรรมได้ เข้าใจเทคโนโลยี 3 skills แห่งยุค ตอบโจทย์ตลาดงานศตวรรษ 21

รวมทักษะสำคัญที่ต้องมีสำหรับการหางานในวันนี้และอนาคต โดยคุณวิน โอชวิน จิรโสตติกุล CEO &  Founder ของ FutureSkill ในงาน Future Trends Ahead Summit 2024 

เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ทักษะการพิมพ์ดีดคือทักษะที่ต้องใส่ลงไปในเรซูเม่ และเมื่อ 10 ปีที่แล้วก็คงหนีไม่พ้นทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft

แต่การสมัครงานในปัจจุบัน หลายตำแหน่งต้องการ Portfolio สำหรับแสดงผลงานหรือทักษะเพื่อพิจารณา แม้จะเป็นตำแหน่งทั่วๆ ไปอย่างงานเอกสาร งานธุรการ เพราะทุกปีจะมีทักษะใหม่ๆ ที่เหมาะกับตำแหน่งนี้มากกว่าเดิม

สอดคล้องกับผลสำรวจของ Gartner ที่กล่าวว่า งานหนึ่งตำแหน่งมีทักษะที่ต้องใช้เพิ่มขึ้น 10% ต่อปี และ 30% ของทักษะที่เคยใช้เมื่อสามปีก่อนในงานตำแหน่งเดิมจะไม่เพียงพออีกต่อไป 

พูดง่าย ๆ ก็คือหากไม่เพิ่มทักษะอะไรเลย เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ทักษะที่เรามีจะไม่พอสำหรับการทำงานอีกแล้วแม้จะเป็นงานเดิมก็ตาม

ยุคของทักษะสำคัญกว่าใบปริญญา ทักษะจะกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการจ้างงาน

ในปี 2024 ยุคที่ทักษะสำคัญมากกว่าใบปริญญา หลายองค์กรมีการโยกย้ายภายในเพื่อให้พนักงานสามารถใช้ทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด  

เช่นเดียวกับพนักงานกว่า 66 % ต้องการให้บริษัทพิจารณาที่ทักษะมากกว่าใบปริญญา เพื่อการเติบโตที่มากขึ้นจากความสามารถของตัวเอง

นอกจากนี้ 76% ของผู้คนที่มี Professional Certificate จะได้รับโอกาสจ้างงานมากกว่า เป็นที่มาของทักษะแรกที่ต้องมีนั่นก็คือ Skill Acquisition Skill หรือเรียนรู้และปรับใช้ทักษะใหม่ ๆ ได้เร็วและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากมี Certificate แล้ว การนำมาใช้งานได้จริงจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานมากขึ้น

ใครมีนวัตกรรมย่อมเป็นผู้ชนะ

สงครามยุคใหม่ได้แปรเปลี่ยนจากการสู้รบด้วยกำลังสู่สงครามทางการค้า แต่ไม่ว่าในศึกแบบไหน ผู้ที่มีนวัตกรรมโดดเด่นที่เปรียบได้กับอาวุธอันทรงพลัง จะมีโอกาสเอาชนะศัตรูได้  หลายบริษัทจึงเร่งปรับตัว คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งและยืนหยัดในสนามรบได้ต่อไป

โมเดลที่ประสบความสำเร็จแบบเห็นได้ชัด คือ Netflix ที่ปรับตัวจากร้านเช่า DVD มาเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิงที่ใช้ระบบ Subscription ทำให้กลายเป็นผู้นำในตลาดนี้ในปัจจุบัน เร่งให้บริษัทอื่น ๆ ต้องปรับตัวก่อนที่จะถูกนวัตกรรมใหม่ ๆ กลืนกิน และตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงได้แก่ Kodak และ Toy R Us ที่ปรับตัวไม่ทันทำให้ต้องล้มละลายไป

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ใครที่มีนวัตกรรมที่ดีกว่า ล้วนได้เปรียบและเป็นผู้ชนะเสมอ หลายองค์กรจึงมองหาพนักงานที่มี Innovation skill หรือกลุ่มทักษะที่จะสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้

กลุ่ม Innovation skill ได้แก่ ทักษะคิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การมีความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ และทักษะที่ปรับตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เพราะการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่สามารถทำงานด้วยตัวคนเดียวได้

เมื่อเทคโนโลยีกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต 

30% ของเวลาทำงานจะลดลงจากเดิม และงานกว่า 300 ล้านตำแหน่งมีแนวโน้มถูกเปลี่ยนไปเป็นระบบอัตโนมัติ จากการเข้ามาของเทคโนโลยี

จึงเป็นที่มาของ Technology Skill หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ที่กำลังเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีมาไวและมีโอกาสเข้ามาแทนที่หลาย ๆ อาชีพได้ ตัวอย่างเช่น ครูอาจารย์ นักออกแบบ รวมถึงสายงานด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีโอกาสถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติเป็นอันดับต้น ๆ

ดังนั้นการมี Technology Skill จะช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันได้ แทนที่จะถูกเทคโนโลยีกลืนกินไปในอนาคต และยังเป็นที่ต้องการของหลายองค์กรในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีคือกุญแจสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมต่อไป

เพราะการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด การปรับตัวและพัฒนาทักษะใหม่ ๆ จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้สามารถตามความก้าวหน้าของโลกที่เปลี่ยนแปลงไวได้ทัน มีความสามารถและเป็นที่ต้องการขององค์กรต่อไปในอนาคต

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เทียบสวัสดิการหญิง ไทยสู้ใครได้บ้าง?

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามาดูว่าการต่อสู้กว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบัน ‘สิทธิสตรี’ และสวัสดิการหญิงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว...

Responsive image

Bridgit Mendler อดีตดาราเด็ก Disney ผันตัวมาเป็น CEO บริษัทเทคโนโลยีอวกาศ

Bridgit Mendler อดีตดาราเด็กและนักร้องชื่อดังจาก Disney Channel ล่าสุดเธอผันตัวมาทำ Startup สถานีอวกาศภาคพื้นดินแล้ว...

Responsive image

5 เทคนิคการเขียน Journal ที่ช่วยพัฒนาทักษะของผู้นำ

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 5 แนวทางเพื่อพัฒนาทักษะผู้นำผ่านการเขียน Journal...