เทียบสวัสดิการหญิง ไทยสู้ใครได้บ้าง? | Techsauce

เทียบสวัสดิการหญิง ไทยสู้ใครได้บ้าง?

กว่า 100 ปีที่ผู้หญิงทั่วโลกต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี จากโลกที่เคยมีแค่ผู้ชายเท่านั้นที่ได้โอกาสทางสังคม มาสู่โลกที่หญิงและชายสามารถยืนอยู่ข้างกันได้อย่างเท่าเทียม บทความนี้ Techsauce จึงจะพามาดูว่าการต่อสู้กว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบัน ‘สิทธิสตรี’ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว 

รัฐสวัสดิการเพื่อสตรีในไทย

สำหรับรัฐสวัสดิการเพื่อผู้หญิงในไทยนั้นมาจาก 2 หน่วยงานสำคัญ ได้แก่ กรมแรงงานและประกันสังคม ซึ่งนโยบายต่างๆ จะครอบคลุมในเรื่องการดูแลความปลอดภัยของสตรี สิทธิในการลาคลอดและการเลี้ยงดูบุตร โดยแยกย่อยได้ดังนี้

กรมแรงงาน

  • ห้ามผู้หญิงทำงานแบกหามของที่มีหนักเกิน 25 กิโลกรัม
  • ค่าจ้างต้องเท่าเทียมกันทั้งหญิงและชาย (ตำแหน่งเดียวกัน)
  • ห้ามกระทำการล่วงเกินและคุกคามทางเพศลูกจ้าง

การคุ้มครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์

  • ห้ามทำงานล่วงเวลา 22.00 - 06.00 น.
  • ห้ามทำงานในวันหยุด
  • สิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน
  • สิทธิลาคลอดจ่ายเงินเต็มจำนวนไม่เกิน 45 วัน

ประกันสังคม

กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน

  • 15 เดือนก่อนคลอดมีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตร (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
  • ได้ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ 

กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน 

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร ครั้งละไม่เกิน 3 คน

รัฐสวัสดิการเพื่อสตรีจากต่างชาติ

จากการศึกษาของ World Economic Forum พบว่า ในแง่ของรัฐสวัสดิการ ประเทศแถบนอร์ดิกและยุโรปหลายประเทศนั้นมีความก้าวหน้าด้านการส่งเสริมสิทธิสตรี และความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุด โดย 4 อันดับแรกที่มีรัฐสวัสดิการเพื่อผู้หญิงดีที่สุดในโลกได้แก่

ไอซ์แลนด์: ความเท่าเทียมไม่ใช่เพียงแค่การรณรงค์ แต่บัญญัติเป็นกฏหมาย ‘พระราชบัญญัติว่าด้วยสถานะที่เท่าเทียมกันและสิทธิที่เท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชาย’ ซึ่งได้รับการประกาศใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 แล้ว โดยมีรัฐสวัสดิการเพื่อผู้หญิงที่โดดเด่น ได้แก่

  • กฎหมายคุ้มครองสิทธิสตรีในที่ทำงาน
  • ห้ามโฆษณาสื่อว่าผู้หญิงเป็นเพียงวัตถุทางเพศ
  • รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรทั้งหมด
  • ลาคลอดสูงสุดได้ 12 เดือน
  • สิทธิในการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้นานถึง 24 เดือน
  • ยุติการตั้งครรภ์ถูกกฏหมาย  (12 สัปดาห์)

นอร์เวย์: รัฐบาลส่งเสริมความเท่าเทียมในบริษัทและได้ออกกฎหมายกำหนดให้บริษัทต่างๆ ต้องมีสมาชิกคณะกรรมการอย่างน้อย 40% เป็นผู้หญิงเพื่อสร้างสมดุลให้กับการตัดสินใจในองค์กร และเป็นประเทศที่รัฐบาลลงทุนเพื่อสร้างสมดุลระหว่างชีวิตครอบครัวและการทำงานให้กับมารดาและบิดา โดยรัฐสวัสดิการเพื่อผู้หญิงที่โดดเด่น ได้แก่

  • ลาคลอดได้ 35 สัปดาห์ ค่าจ้างเต็มจำนวน
  • รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรทั้งหมด
  • กฏหมายป้องกันการเลือกปฏิบัติทางเพศบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของนอร์เวย์
  • นโยบายสนับสนุนเงินเลี้ยงดูบุตร
  • ยุติการตั้งครรภ์ถูกกฏหมาย  (12 สัปดาห์)

สก็อตแลนด์: หนึ่งในประเทศที่สู้เพื่อสิทธิสตรีมาอย่างยาวนาน และผู้หญิงสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในสถานะที่เท่าเทียมผู้ชายได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1928 มีรัฐสวัสดิการเพื่อผู้หญิงที่โดดเด่น ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือนฟรี
  • มีศูนย์สิทธิสตรีแห่งสกอตแลนด์ (SWRC) ให้คำปรึกษาผู้หญิงฟรี เมื่อประสบปัญหาความรุนแรงหรือการล่วงละเมิด
  • พระราชบัญญัติความเท่าเทียมกันปี 2010 ครอบคลุมทุกเพศเพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติ
  • ลาคลอดได้ 39 สัปดาห์ ค่าจ้างเต็มจำนวน
  • หน่วยงานมาตรฐานการโฆษณา (ASA) กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ไม่สนับสนุนการใช้สตรีเป็นวัตถุทางเพศในสื่อ

ฝรั่งเศส: ความเท่าเทียมโดดเด่นมากในฝรั่งเศส เพราะเป็นหนึ่งในประเทศที่เปิดโอกาสผู้หญิงมีสิทธิ์ในการกำหนดแม่บทกฏหมายของประเทศ ในปี 2021 ที่นั่งในรัฐสภากว่า 39.5% เป็นของผู้หญิง ซึ่งรัฐสวัสดิการสำหรับผู้หญิงที่โดดเด่น ได้แก่

  • คุมกำเนิดและยุติการตั้งครรภ์ฟรี
  • เหยียดเพศเป็นเรื่องผิดกฏหมาย
  • ลาคลอดได้ 16 สัปดาห์ ค่าจ้างเต็มจำนวน
  • ลดภาษีผ้าอนามัย และเอาออกจากสินค้าฟุ่มเฟือย
  • ซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือนที่มีความยั่งยืน (เช่น ถ้วยรองประจำเดือนและผ้าอนามัยแบบใช้ซ้ำได้) จะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนจากประกันสังคมของฝรั่งเศส
  • ยุติการตั้งครรภ์ถูกกฏหมาย  (14 สัปดาห์)

อ้างอิง: globalcitizen, labour.go.th, library.parliament.go.th, valtioneuvosto, workingwithnorwegians, These 4 Nordic countries hold the secret to gender equality | World Economic Forum (weforum.org), webportal.bangkok

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bridgit Mendler อดีตดาราเด็ก Disney ผันตัวมาเป็น CEO บริษัทเทคโนโลยีอวกาศ

Bridgit Mendler อดีตดาราเด็กและนักร้องชื่อดังจาก Disney Channel ล่าสุดเธอผันตัวมาทำ Startup สถานีอวกาศภาคพื้นดินแล้ว...

Responsive image

5 เทคนิคการเขียน Journal ที่ช่วยพัฒนาทักษะของผู้นำ

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 5 แนวทางเพื่อพัฒนาทักษะผู้นำผ่านการเขียน Journal...

Responsive image

เรียนรู้ไว คิดนวัตกรรมได้ เข้าใจเทคโนโลยี 3 skills แห่งยุค ตอบโจทย์ตลาดงานศตวรรษ 21

รวมทักษะสำคัญที่ต้องมีสำหรับการหางานในวันนี้และอนาคต โดยคุณวิน โอชวิน จิรโสตติกุล CEO & Founder ของ FutureSkill ในงาน Future Trends Ahead Summit 2024...