‘ทุกคนมีทักษะการบริหาร ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด’ มุมมองจาก Youngblood Management วริศร เผ่าวนิช Managing Director,Techsauce | Techsauce

‘ทุกคนมีทักษะการบริหาร ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด’ มุมมองจาก Youngblood Management วริศร เผ่าวนิช Managing Director,Techsauce

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา หลายองค์กรต่างเผชิญปัญหาที่เข้ามาอย่างกะทันหันมากมาย การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้หลายองค์กรต้องปรับตัวเพื่อให้รอดพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ซึ่งหน้าที่ในการขับเคลื่อนองค์กรให้ผ่านจุดวิกฤตต่าง ๆ  “ผู้นำ” คือ คนสำคัญที่จะมีบทบาทในการเชื่อมประสานคนและกำหนดทิศทางขององค์กรให้เป็นไปอย่างเหมาะสม บทความนี้เราจะพาไปรับฟังมุมมอง คุณวริศร เผ่าวนิช หรือ คุณโต๊ด กรรมการผู้จัดการของ Techsauce ที่ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารงาน วิธีแก้ไขปัญหา รวมถึงการพัฒนาตนเองในฐานะผู้บริหารรุ่นใหม่ ในเวที Youngblood Management จากงาน Creative Talk Conference 2022 ร่วมกับคุณศุภกร เทพวิชัยศิลปกุล Strategic Director จาก Mission To The Moon Media ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก 

‘ทุกคนมีทักษะการบริหาร ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด’ มุมมองจาก Youngblood Management วริศร เผ่าวนิช Managing Director,Techsauce การเข้ามาของ covid-19  ในปี 2019 ทำให้องค์กรจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหลายด้านรวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้ตนได้รับมอบหมายหน้าที่ซึ่งสำคัญต่อองค์กร สิ่งที่ค้นพบในช่วงเริ่มต้นนั้นพบว่า ตำแหน่งนี้มีนิยามและบทบาทที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร คนที่จะได้รับมอบหมายหน้าที่นี้ ไม่ได้มีพรสวรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นคนที่มีมีพรแสวงด้วย

พรแสวงในที่นี้ หมายถึง ความกล้าที่จะแสดงออกว่าเรามีศักยภาพ แสดงออกถึงความพร้อมในการเป็นผู้นำคนอื่น ๆ มีมุมมองต่อเรื่องต่าง ๆ และสามารถตัดสินใจได้ 

โจทย์ที่ท้าทายของ Youngblood Management

แต่เดิมการเป็นผู้บริหารได้อาจต้องมีอายุประมาณ 40-50 ปี แต่ในปัจจุบันเราจะพบว่าหลายคนต้องการเกษียณเร็วขึ้น ตั้งแต่อายุ 40 ปี ดังนั้นการจะขึ้นเป็นระดับ Middle Management ได้อาจไม่จำเป็นที่จะต้องมีอายุถึง 40 ปีก่อน อีกทั้งปัจจุบันนี้โลกเราเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก ปัจจุบันคนที่มีอายุประมาณ 20 กว่าๆ มีศักยภาพที่สามารถทำงานในระดับ Middle Managerment ได้แล้ว โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ covid-19 ที่ทำให้หลายองค์กรต้องจัดสรรและคัดเลือกคน เป็นช่วงที่ทำให้หลายคนเติบโตอย่างรวดเร็วมากขึ้น ทำให้หลายคนได้รู้ว่าตัวเองมีศักยภาพมากกว่าที่คิด 

แน่นอนว่า ในช่วงแรก สิ่งหนึ่งที่เป็นความท้าทายสำหรับผู้บริหารหน้าใหม่  คือ การถูกตัดสินความสามารถในการทำงานจากอายุหรือจากภาพลักษณ์ภายนอก ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ต้องเจอ โดยสิ่งที่จะอธิบายตัวเราได้ดีที่สุด คือ 'การอธิบายด้วยผลงาน สิ่งที่เราทำให้เห็นว่าเราสามารถทำได้'

Lifelong Learning Mindset 

 สำหรับทักษะที่จำเป็นของการเป็นผู้นำที่ดีอันดับแรก คือ 'การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา' ซึ่งการมี Mindset ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากต่อการปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนในปัจจุบัน 

การได้รับโอกาสงานด้านบริหารทำให้ยิ่งต้องเรียนรู้งานด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากหน้าที่ของตนเองมากขึ้น เพราะตำแหน่ง Middle Management เป็นส่วนสำคัญที่ต้องประสานงานร่วมกับฝ่ายอื่น ๆ ในองค์กร ซึ่งการเรียนรู้นั้น เราสามารถเรียนรู้ได้จากคนภายนอกองค์กร เราสามารถรับมุมมองจากผู้นำที่มีประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับเพื่อนำเทคนิคต่าง ๆ มาปรับใช้กับบริษัท หรืออีกวิธีหนึ่งที่เรียนรู้จากคนในอย่างผู้บริหารหรือน้องในทีม ไม่ต้องอายที่จะถามหรือขอความช่วยเหลือจากทีมงาน เพราะเขาเชี่ยวชาญในสายงานนั้น ๆ มากกว่าเรา 

 “เราไม่จำเป็นต้องเก่งทุกด้าน แต่ต้องรู้ว่าควรเลือกทำอะไรให้งานสำเร็จลุล่วง เลือกทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อให้บริษัทขับเคลื่อนไปข้างหน้า.. ในการเป็น Youngblood ทำให้เรามีโอกาสทดลองทำ มีโอกาสที่จะผิดพลาดก่อนคนอื่น และอยู่ที่ว่าเราเรียนรู้และเดินหน้าต่อไปอย่างไร เราอาจจะรู้ในภาพกว้างจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ในภาพลึกให้มากขึ้น และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การลงมือทำจริง”

‘ทุกคนมีทักษะการบริหาร ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด’ มุมมองจาก Youngblood Management วริศร เผ่าวนิช Managing Director,Techsauce Middle Management - ผู้ดูแลความสุขของคนทุก ๆ ฝ่าย

นอกจากนี้ ปัญหาของหลายองค์กร คือ การที่ผู้บริหารระดับสูงนั้นไม่สามารถพูดคุยหรือเข้าถึงพนักงานทุกคนได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งต่างคนต่างมีเป้าหมายและความต้องการในการทำงานซึ่งมีพื้นฐานจากมุมมองที่แตกต่างกัน ดังนั้น โจทย์ท้าทายสำคัญสำหรับผู้บริหารระดับกลางในการรับมือ คือ 'หน้าที่ในการประสานความเข้าใจ เชื่อมต่อสารต่าง ๆ ระหว่างคนในองค์กร'

บทบาทหน้าที่ของ Middle Management ต้องรับแรงกดดันจากผู้บริหารระดับสูงทั้งด้านนโยบายและในขณะเดียวกันที่ต้องรับแรงกดดันจากความคาดหวังของน้องๆในทีม จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือ ทักษะในเรื่องการรับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ (Leading with Empathy)

เปิดกว้าง รับฟัง เข้าอกเข้าใจ 

ในปัจจุบันหลายองค์กรให้ความสำคัญกับพนักงานมากขึ้น มีแนวทางบริหารแบบที่เน้นบุคลากรเป็นศูนย์กลาง (People-Centric) ทักษะสำคัญของคนตรงกลาง คือ การมี Empathy รับฟังด้วยมุมมองและเหตุผลที่เปิดกว้าง การกลั่นกรองและรู้วิธีการสื่อสารอย่างเหมาะสม  รวมถึงการมีมุมมองด้านจิตวิทยาที่ต้องทำความเข้าใจให้ได้หลายระดับ เพื่อประสานให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานและอยู่ร่วมกันได้ เพราะองค์กรจำเป็นต้องมี ‘คนที่อยู่ตรงกลางทำหน้าที่คอยสื่อสาร ดูแลความต้องการ ดูแลความสุขของคนทุกๆฝ่าย’ ถ่ายทอดจุดประสงค์จากผู้บริหารสู่ทีมงานด้วยมีวิธีการที่ตอบโจทย์และเหมาะสม

เก่งเจรจา รู้จังหวะเวลาในการสื่อสาร 

 ในทุกบริษัทจะมีวัฒนธรรมแนวทางการทำงานและปัญหาที่แตกต่างกัน เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจบริบทและจุดยืนองค์กร เพื่อพิจาณาตัดสินใจเรื่องต่า ๆ บนพื้นฐานผลประโยชน์ขององค์กร ดังนั้นนอกเหนือจากทักษะในการรับฟังแล้ว การเจรจาสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ (Good Negotiation & Convincing) เป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญสำหรับ Middle Management ที่ต้องบริหารจัดการความขัดแย้ง บาลานซ์ผลประโยชน์ของบริษัทและการดำเนินงานในระบบปฎิบัติการ 

‘ทุกคนมีทักษะการบริหาร ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด’ มุมมองจาก Youngblood Management วริศร เผ่าวนิช Managing Director,Techsauce

ไม่เพียงทำให้บริษัทเติบโตแต่ยังมีเรื่องการจัดการคนด้วย

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ หน้าที่หลักของ Middle Management ไม่ใช่เพียงการทำให้บริษัทเติบโตเพียงอย่างเดียว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก คือ 'การทำให้พนักงานเติบโตไปพร้อมกับองค์กรด้วย' ความท้าทายคือจะทำอย่างไรให้ทุกคนเติบโตหรือไปถึงเป้าหมายได้ การส่งเสริมให้คนในทีมเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองและเสริมสร้างศักยภาพที่ทำให้ไปถึงจุดหมายต่อๆไป 

 ทุกคนมีทักษะ Management อยู่ อย่าหลงผิดกับชื่อตำแหน่ง ตำแหน่งเป็นแค่การบอกว่าเราต้องโฟกัสกับอะไร ทุกคน Management ได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด

ในอนาคตต่อไปจะมีเทคโนโลยีเข้ามาเสริมให้เกิดองค์ความรู้ หลักการบริหารใหม่ ๆ มีโอกาสให้ทำงานร่วมกับการฝ่ายต่าง ๆ มากขึ้น โลกยังมีอะไรให้เรียนรู้ใหม่ตลอดเวลา ความสนุกของ Middle Management คือ โอกาสที่ได้รับในการลองทำ ลองผิดพลาด และพัฒนาต่อไป เพื่อให้การทำหน้าที่เป็นไปอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พาทีมและองค์กรเติบโตไปได้อย่างพร้อมเพรียงกัน 



พบกับงาน Tech Conference ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
'Techsauce Global Summit 2022' ขนทัพความรู้จาก Speaker ระดับโลก พร้อมหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ 
อ่านรายละเอียดได้ที่ https://techsauce.co/news/techsauce-global-summit-2022
ซื้อบัตรได้ที่ : https://summit.techsauce.co/

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...

Responsive image

ทำไมนวัตกรรมถึงสำคัญกับองค์กร และสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุค AI

ถ้าเราใช้วิธีเก่า ในการแก้ปัญหาใหม่ หรือถ้าเราใช้โมเดลธุรกิจเดิม กับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผลลัพธ์จะออกมาไม่ดีนัก และทางออกของปัญหาที่เราอยากชวนทุกคนมารู้...