บทความนี้ต้นฉบับมาจาก Blog ของ Hiten Shah ซึ่งเขียนไว้อย่างน่าสนใจ Techsauce จึงหยิบมาเรียบเรียง เป็นอีกหนึ่ง Case Study ที่ควรอ่านค่ะ
ย้อนกลับไปในปี 2011 Joel Spolsky ตั้งบริษัท Fog Creek เปิดตัว Kanban Board บนเบราเซอร์และแอปพลิเคชั่นไอโฟนที่ชื่อว่า Trello ในงาน TechCrunch Disrupt มีผู้สนใจถึง 131,000 คน ใน 22% ของผู้ที่สนใจเลือกที่จะสมัครใช้บริการในวันนั้น Trello มีเป้าหมายคือการสร้าง Product ที่เรียบง่ายและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน เคยมียอดผู้ใช้งานโตสูงถึง 10 ล้านคน
แต่ทำไมกลายเป็นว่า Trello ต้องขายบริษัทตัวเองให้กับ Atlassian ไปในมูลค่า 425 ล้านดอลลาร์ ในเมื่อ Trello กำลังจะกลายเป็นแอปพลิเคชัน SaaS (Software-as-a-Service) ที่มีมูลค่าหลักพันล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ Trello ยังไม่ได้ทำนั่นคือการเก็บค่าใช้บริการจากลูกค้าที่เขามีอยู่เป็นจำนวนมาก และกลับโฟกัสไปยังการสร้างฐานผู้ใช้ฟรีก่อน โดยเอาเรื่องของการสร้างรายได้ไว้ทีหลัง พอถึงเวลาที่จะมองหาลูกค้าหรือสมาชิกให้มาเสียค่าบริการ ก็สายไปเสียแล้ว เพราะลูกค้าเหล่านั้นย้ายไปใช้บริการอื่นหมดแล้ว ซึ่งในระหว่างการพัฒนา Trello ให้เข้ากับ Product ของ Atlassian ที่มีอยู่เดิม กลับทำให้บริษัทหยุดการเติบโต
เราจะพาย้อนไปดูว่า Trello พลาดโอกาสอะไรไป และควรทำอะไรแก้สถานการณ์อะไรหลังจากนี้
Trello ใช้คอนเซปต์ที่เรียกว่า “Kanban board” ซึ่งพัฒนาโดย Toyota เป็นที่นิยมในช่วงปี 1940-1950 โดยคอนเซปต์คร่าว ๆ จะมีการ์ด 3 ประเภทคือ product, part และ inventory เมื่อการ์ดถูกย้ายแสดงว่างานนั้นถูกย้ายจาก supplier ไปยังโรงงานแล้ว
เมื่อใช้งานจริงจะมีลักษณะแบบนี้
เมื่อ Trello เปิดให้ใช้งานครั้งแรก ถือเป็นการเปลี่ยนการสร้างบอร์ดบนเว็บเบราเซอร์ มันเป็นความท้าทายในเชิงเทคนิคอย่างมากเมื่อคุณสามารถจัดการย้ายการ์ดไปวางอยู่ในลิสต์แต่ละแถวได้ในทันที ซึ่งต่างจาก SaaS Tools ในยุคนั้นจะอยู่บน Database ขนาดใหญ่โดยมี visual interface ครอบไว้ด้านบน ยกตัวอย่างเช่น Salesforce
แต่ Trello วางตำแหน่งของ Product ของตัวเองตรงข้ามกับ SaaS Tools ยุคนั้นเลย โดย Trello ถอดทุกสิ่งอย่างที่เป็นแบบเดิมลง แล้วสร้างบอร์ดและการ์ดที่เห็นได้ในทันที เพื่อให้ระบบทำงานได้ดี Trello ประยุกต์เอา Bleeding-Edge Stack เว็บแอปแบบ single page ที่ดึงเอาข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์โดยใช้เวลาไม่ถึงครึ่งวินาที โดยใช้ขนาดไฟล์เพียง 250 กิโลไบต์เท่านั้น หลังจากที่ผู้ใช้ใช้งานครั้งแรก Trello จะแคชหน้าเว็บไว้ ซึ่งทำให้ Trello ทำงานได้เร็วขึ้น
ทีมงาน Trello สร้างเซิร์ฟเวอร์บน Node.js และใช้ MongoDB ในการเก็บข้อมูล ทำให้เวลาเปิด Trello ได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่ผู้ใช้เพิ่ม ลบ หรือเปลี่ยนข้อมูลอะไรบนบอร์ด Trello จะส่งข้อมูลไปยังเบราเซอร์ที่เปิดอยู่โดยทันที ผลลัพธ์ก็คือการทำงานจะง่ายขึ้น เมื่อคุณเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบอร์ด การเปลี่ยนแปลงนั้นก็จะเกิดขึ้นทันที
เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว สิ่งกล่าวไว้ข้างต้นอาจเป็นสิ่งใหม่ ทำให้ Trello เป็นผู้นำในตลาดในเวลานั้นอย่างสบาย ๆ แต่ในปี 2017 การสร้างเว็บแอปที่สวยงาม และรองรับ responsive ให้เหมือน Trello ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป คุณจะเห็น Kanban board ได้จากทุกที่ อย่างเช่น
Justin Rosenstein Co-founder ของ Asana คู่แข่งรายสำคัญของ Trello ระบุว่า “เราให้เครดิตกับ Trello อย่างเต็มที่ Trello คือ Product แรกที่บุกเบิกในเรื่องนี้” แต่ Justin ก็ไม่ได้แสดงความเสียใจต่อการคัดลอกฟีเจอร์ของ Trello โดยกล่าวว่า “เรามองว่า Trello คือ Feature ไม่ใช่ Product”
จริงๆ Trello ก็มีลุ้นที่จะเป็นธุรกิจระดับพันล้านได้ ถ้าระบบของ Trello ผันตัวมาเป็น “Systems of Record” (ระบบจัดการการประมวลผล Transaction) อย่างเต็มตัว ให้ลองนึกดูว่าถ้า Trello ไม่ใช่แค่ติดตามการทำงานของฝ่ายการตลาดเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถย้ายข้อมูลจากบอร์ดฝ่ายการตลาดไปยัง Sale Pipeline และ Product Roadmap ได้ แทนที่จะต้องมีบอร์ด Trello หลาย ๆ อัน แยกแต่ละทีมไป ก็มีบอร์ดใหญ่ของบริษัทอันเดียวไปเลย
การทำ Software-as-a-Service (SaaS) เข้ามาแข่งนั้น คุณไม่ได้ชนะจากการที่คุณมีไอเดียที่เจ๋ง ๆ คนแรกหรือเป็นเจ้าของไอเดียที่เจ๋ง ๆ คนแรก แต่คุณจะชนะได้อย่างต่อเนื่องถ้าคุณคิดแก้ปัญหาได้ดีกว่า เมื่อคุณคิดว่าคุณสร้างฟีเจอร์นี้จนประสบความสำเร็จหรือจนเป็นที่นิยมแล้ว ยังไงคู่แข่งของคุณก็ขโมยไปได้อยู่ดี
เราจะพาไปดูว่า Trello จะต้องทำอะไรบ้างเกี่ยวกับ Customer Plan บ้าง
การสร้างธุรกิจพันล้านเป็นไปได้อย่างแน่นอน ถ้าหากจะใช้ Business Model แบบ Freemium เจาะไปยังกลุ่มลูกค้า เมื่อปี 2013 Dropbox มีมูลค่าบริษัท 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีรายได้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับมีผู้ใช้งานถึง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 6 ปีหลังจากการเปิดตัว Dropbox โดยก่อนหน้าหน้านี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ Dropbox มีแผนเริ่มใช้ Business Plan ที่เน้นสร้างรายได้ให้กับองค์กร โดยจะเน้นขายบริการแบบรายเดือนในราคา 10 ดอลลาร์ให้กับผู้ใช้ฟรี
สามปีหลังจากการเปิดตัวของ Trello พบว่ายอดผู้ใช้ของ Trello เติบโตก้าวกระโดดกว่าที่ Dropbox เคยทำมา โดยในปี 2015 Trello มียอดผู้ใช้สูงถึง 10 ล้านคน (ขณะที่ Dropbox เปิดตัวมาได้ 3 ปีมียอดผู้ใช้อยู่ 4 ล้านคน) แต่ Trello กลับโน้มน้าวให้ผู้ใช้บริการ Trello แบบฟรีเปลี่ยนมาใช้บริการ Trello Gold ได้ยากกว่าที่คาดการณ์ไว้
จากข้อมูลเมื่อปี 2013 ที่ Trello เปิดตัวบริการ Trello Gold ชูจุดเด่น 3 ประการที่ผู้ใช้ควรเปลี่ยนมาใช้ Trello Gold ได้แก่
จริงอยู่ที่ตอนนี้ทุกคนชอบ emoji แต่เหตุผลที่ Trello ให้มาก็ยังไม่สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้ใช้บริการแบบฟรีเปลี่ยนใจมาจ่ายบริการ Trello Gold ได้ เมื่อมองเทียบกับ Dropbox ที่ใช้พื้นที่ฟรี 2 GB แต่ถ้าคุณจ่ายเงินคุณจะได้พื้นที่สูงถึง 1 TB เมื่อเทียบแล้วพบว่าถ้าจ่ายเงินให้ Dropbox จะได้พื้นที่มากกว่าเดิมถึง 50 เท่า
การสร้างคุณค่าของ Trello (Trello’s value proposition) ทำได้ยากกว่า Dropbox อย่างชัดเจน นี่คือเหตุผลว่าทำไม Trello ควรจะคิดและวางแผนมาก่อนว่าฟีเจอร์แบบใดที่ผู้ใช้จะยอมเสียเงินให้
แทนที่ Trello จะโฟกัสเรื่องการสร้าง Product สำหรับทุกคน Trello ควรจะขุดให้ลึกไปถึง Use Case (หน้าที่ที่ระบบต้อง
ถ้าคุณมี Product และแอปจำนวนมาก คุณควรเจาะไปยัง Use Case ที่แตกต่างกันก่อนเป็นอันดับแรก โดยดูว่า
การทำวิจัยหรือ research เกี่ยวกับฐานลูกค้าและคู่แข่งทางการค้าของเรา จะทำให้คุณสามารถแยกกลุ่ม Use Case กับ มูลค่าสูงสุดที่แบรนด์จะได้รับทั้งหมดจากลูกค้า (Highest Lifetime Value) ได้ชัดเจนขึ้น
ถ้า Trello ทำวิจัยกับฐานผู้ใช้ Freemium จริง ๆ อาจจะพบข้อมูลที่น่าสนใจบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักกฎหมาย นายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์ และ designer เป็นกลุ่มผู้ใช้ที่มีโอกาสสร้างรายได้สูงสุด (Highest Revenue Potential) พอ Trello วิจัยตรงนี้ก็อาจจะพบข้อมูลบางอย่างเพิ่ม เช่น Designer อาจจะต้องการเข้าถึง ปฏิทินในบอร์ด Trello ทันที หรือนักกฎหมายอาจจะต้องการบอร์ดในโหมด read-only เพื่อส่งให้ลูกค้าได้ดูบอร์ดนี้แบบไม่ต้องแก้ไขอะไร
ซึ่งฟีเจอร์ที่กล่าวไปข้างต้น Trello อาจจะย้ายเอาไปใส่ในแผนทางธุรกิจ (Business Plan) ได้ แต่ไม่ต้องให้ความสำคัญในเชิงการตลาดเพราะลูกค้าจะต้องการโฟกัสแบบกว้าง ๆ และแทนที่ Trello จะสร้าง Landing Page แยกกันเพื่อกลับไปเจาะกลุ่มลูกค้าแบบฟรีอีกครั้ง ก็เสนอขาย Paid Plan เจาะไปยังแต่ละ Use Case เลย
เมื่อคุณมี Product สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือการเจาะไปยัง Use Case เฉพาะอันใน Product ของคุณ เพราะมันจะเปิดทางให้คุณสามารถสร้างฟีเจอร์พิเศษเจาะเข้าไปเพิ่มได้ในอนาคต แต่ถ้าคุณไม่ต้องการสร้างธุรกิจแบบเน้นลูกค้ากลุ่ม Freemium คุณมีทางเลือกคือคุณสามารถยกระดับไปเจาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMBs) แทนได้
ถึงแม้ Trello จะไม่มี Valuable Consumer Business เลยก็ตาม แต่ Trello ก็ยังคงแปลงสภาพเป็น Workflow Tool ตัวหลักใน SaaS (Software-as-a-Service) ได้ด้วยการเพิ่มความพยายามเจาะเข้าไปในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMBs)
Paid Plan อันแรกจาก Trello ถูกปล่อยออกมาเมื่อปี 2013 ในชื่อ Business Class สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม Trello คิดราคาอยู่ที่ 200 ดอลลาร์ต่อปี ต่อองค์กรก่อนที่จะเปลี่ยนมาคิดราคาตามจำนวนคนในองค์กร เหมือนที่ระบบ SaaS ส่วนใหญ่ทำ
Trello Business Class มีราคา 10 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน (จ่ายเงินจริง ๆ เป็นรายปี) สิ่งที่จะได้รับหลังจ่ายเงินแล้ว คือ
เมื่อ David Cancel Co-founder ของ Drift พูดถึงค่าใช้จ่ายของบริษัทที่ใช้ Trello อยู่ที่ 1,700 ดอลลาร์ต่อปี โดย Drift ระบุ “ในทีมของเรามีคนใช้ Trello แบบบ่อย ๆ เพียงไม่กี่คน และเรากำลังถูกคิดค่าบริการตามคนในองค์กร นี่จึงเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าทำไมเราถึงตัดสินใจเลิกใช้ เพราะราคาที่เราจ่ายกับความสามารถที่เราได้รับมันไม่สอดคล้องกันเลย”
David ตัดสินใจลดแพคเกจ Trello ที่ใช้อยู่ จากเดิมใช้ Paid Plan กลับมาใช้ Free Plan
เมื่อ Trello คิดราคากับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามจำนวนคนในองค์กร ก็ถือว่ามีความโอเคอยู่ แต่ Trello กลับไม่ปรับปรุงและพัฒนา Product ให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ใช้ที่เข้ามามากขึ้น แถมคุณยังมองหาช่องทางอื่น ๆ ในการแสดงให้เห็นถึงมูลค่าจากการจ่ายเงินเพื่อ Product ของคุณ
แล้ว Trello ควรจะทำอย่างไรดีล่ะ?
ลองนึกภาพดูว่าถ้าเราสามารถเปิดและปิด GitHub issue ได้จากใน Trello เลยจะเป็นอย่างไร? ลองนึกภาพดูว่าหัวหน้า Salesforce ของคุณเปิดและปิดบอร์ด Trello ได้โดยอัตโนมัติซึ่งเป็นไปตามสิ่งที่คุณทำใน Salesforce จะเป็นอย่างไร? เมื่อไรที่ Trello สามารถกลายเป็น Dashboard สำหรับทุกอย่างและเชื่อมโยงกับ Tool อื่น ๆ ที่บริษัทใช้ได้ เมื่อนั้น Trello ก็จะมีค่ามากขึ้นอย่างมาก
เมื่อฟีเจอร์หลักของ Trello ถูกคัดลอกไป และเมื่อถามกับ Vice President ฝ่าย Product Engineering ของ GitHub ในประเด็นการสร้างบอร์ดเพื่อจัดการ issue ต่าง ๆ เขาได้อธิบายว่า “ทุกคนอยากให้เราทำฟีเจอร์นี้ และเราต้องคอยตอบคำถามเมื่อไม่มีพีเจอร์นี้” นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ GitHub ต้องมีบอร์ดเหมือน Trello
ถ้าคุณสร้างแอป SaaS อย่าง Trello คุณต้องแบ่งกลุ่มผู้ใช้ด้วยการ integration โดยดูจาก
เมื่อการมองมูลค่า (Value) ไปยัง Use Case ประเภทอื่นของ Product ถ้าข้อมูลจำนวนมากออกจาก Product ของคุณไปยังอีกตัวหนึ่ง มันเป็นสัญญาณว่าคู่แข่งของคุณกำลังมาแรงขึ้นแล้ว ดังนั้นการสร้าง Integration ที่ดีขึ้น และการสร้างฟีเจอร์ใหม่ ๆ ขึ้นมา จะช่วยให้คุณมีพื้นที่ในการเตรียมลงสนามแข่งขัน พร้อมก้าวออกจากพื้นที่ Comfort Zone เดิมของคุณ
ตลาด SaaS สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs) มีการแข่งขันที่สูงมาก และเป็นเรื่องง่ายที่ธุรกิจจะเปลี่ยนจาก Solution หนึ่งไปยังอีก Solution หนึ่ง ถ้าไม่เอาชนะโดยใช้กลอุบาย ก็ต้องสร้าง Power ด้วยการยกระดับไปสู่ตลาดระดับ Enterprise
SaaS ส่วนใหญ่มักทวนกระแสหลักและเริ่มเจาะกลุ่มไปตลาด Enterprise โดย Slack ก็ทำแบบนั้นด้วยการเปิดแพคเกจ Enterprise Grid ซึ่งถ้า Trello อยากไปสู่ดวงดาวธุรกิจพันล้าน ก็ควรจะเดินตามรอย Slack ด้วยการยกตัวเองไปสู่ตลาด Enterprise ให้เร็วขึ้น
หลังจาก Trello ปล่อยกลยุทธ์ทางการตลาดในปี 2015 ไม่ถึงปี Trello อัตราผลตอบแทนทางบัญชี (ARR) ก็พุ่งแตะถึง 10 ล้านดอลลาร์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้จนได้
“สำหรับทีม Enterprise พวกเรามองลูกค้าว่าเป็นผู้ที่ทำให้ยอดผู้ใช้ของ Trello สูงขึ้น โดยกลยุทธ์การขายแบบเดิม ๆ ส่วนมากมักจะเน้นทำยอดออกมา และมักชอบพูดว่า “เฮ้ คุณมีคนมากกว่า 2000 คนบน Trello ใครสามารถคุยกับเราเรื่องนี้ได้บ้าง?”” Vice President ฝ่าย Sales ของ Trello อย่าง Kristen Habacht กล่าว
แต่ปัญหาคือ Sales Strategy ของ Trello มองเฉพาะบริษัทที่ใช้ Trello อยู่ก่อนแล้ว แต่สิ่งที่น่ากังวลคือเมื่อบริษัทอื่น ๆ เอา Trello ไปใช้ล่ะ จะเป็นอย่างไรต่อไป?
คำถามคือ Trello ควรจะถามตัวเองว่า “เราจะ integrate Trello เข้ากับ higher-end system ที่บริษัทใหญ่ ๆ ใช้กันจนขาดไม่ได้ และใช้จนเป็นส่วนหนึ่งของผังงาน (Workflow) ไปแล้วได้อย่างไร?”
ทางหนึ่งที่ทำได้ก็คือการเดินรอยตาม Slack เพราะ Slack โฟกัสไปยังวิธีกระจายกลุ่มผู้ใช้จากแบบส่วนบุคคล ไปยังทีมและบริษัทอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว
Slack ใช้เวลา 6 เดือนในการเปิดให้ใช้ private beta เพื่อสังเกตและเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้าผ่านการติดต่อภายใน Slack ต่อมา Slack ปรับปรุงระบบให้สามารถส่งข้อความในระดับ 2,000 ข้อความภายในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จนวันนี้ 93% ของบริษัทที่เคยใช้ Slack private beta ก็ใช้ Slack เวอร์ชันเต็มจนถึงปัจจุบัน
แนวคิดเบื้องหลัง Slack เวอร์ชัน Enterprise ก็คือการอนุญาตให้องค์กรสามารถสร้างชนิดข้อมูลต่าง ๆ บน Slack ได้อย่างไม่จำกัด ในแง่ Functionality นั้น Slack ทำออกมาต่างจาก Product อื่น ๆ ชัดเจน เน้นทำให้ Enterprise โดยทีมในองค์กรเราสามารถจัดการทุกอย่างลงใน Workspace ได้ รวมไปถึงสามารถจัดและแบ่งโครงสร้างองค์กรได้ตามใจชอบ เพราะ Slack นั้นโฟกัสไปยังวิธีการใช้งานแอปของตัวเองตั้งแต่ทีมเล็ก ๆ ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่ง Slack สามารถเจาะไปถึงปัญหาสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ต้องเจอ และแก้ปัญหาได้ด้วย Slack เวอร์ชัน Enterprise Grid
องค์กรขนาดใหญ่ส่วนมากชอบระบบที่ยืดหยุ่นและปรับแต่งได้แบบ Slack ซึ่ง Trello ควรจะพยายามก้าวไปสู่กลุ่มลูกค้า Enterprise มากขึ้นด้วยการอนุญาตให้บริษัทใหญ่ ๆ ปรับแต่ง Trello ให้เข้ากับผังองค์กร (Organizational Chart) ได้ โดย Trello ก็มีข้อดีอยู่แล้วคือเป็น Product ที่มีประโยชน์และใช้งานได้ง่าย แต่ Trello ก็ควรปรับปรุงให้ใช้งานได้กับองค์กรด้วย เพื่อให้การทำงานในองค์กรสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
ถึงแม้ว่าเราจะเล่าถึงข้อผิดพลาดของ Trello ที่พลาดโอกาสหลาย ๆ อย่างไปอย่างน่าเสียดาย แต่ก็ต้องแสดงความยินดีกับ Trello ด้วย เพราะการจะสร้างธุรกิจ SaaS ให้มูลค่าถึง 1 พันล้านดอลลาร์ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แค่ทำให้มีมูลค่าถึง 425 ล้านดอลลาร์ก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากแล้ว
Trello และทีมบริษัท Fog Creek ลงทุนไปจำนวนมากกับ Trello จึงถือได้ว่า Trello ประสบความสำเร็จตั้งแต่ Joel เปิดตัว Product นี้ในงาน TechCrunch Disrupt โดยสามารถสร้างให้ product มีผู้ใช้ถึง 500,000 คนภายใน 2 ปี และมีผู้ใช้ถึง 4,750,000 คน ภายใน 4 ปี ก่อนที่จะสร้างรายได้ให้เกิดขึ้น
ที่สำคัญ ทีมงาน Trello ก็ได้สร้าง Product อันน่ามหัศจรรย์ ซึ่งมีความเรียบง่าย งดงาม แถมยังใช้งานง่ายอีกด้วย
บทเรียนสำคัญที่ได้จาก Trello คือ ถ้าคุณอยากจะสร้างแอปแนว Software-as-a-Service (SaaS) พันล้านตัวต่อไป คุณต้องไม่ลืมว่าการจะพัฒนาแอปให้มั่นคง ต้องไม่สร้างแอปที่มีฟีเจอร์หลักเพียงฟีเจอร์เดียว เพราะถ้าแอปคุณมีแค่ฟีเจอร์เดียว ฟีเจอร์เดียวที่คุณมีอาจถูกคู่แข่งขโมยไปได้ หรืออีกทางเลือกหนึ่งก็คือถ้าแอปเรามีฟีเจอร์เดียวก็ต้องทำให้แอปของเราเชื่อมโยงกับแอปอื่น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยที่แอปอื่น ๆ ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
นอกจากนี้ คุณควรทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าของคุณให้ลึกซึ้งก่อนเป็นอันดับแรก เพราะจะทำให้รู้ว่าคุณควรปรับอะไรในแอปของคุณและแอปของคุณควรทำอะไรต่อไป ทางเดียวที่จะทำให้แอปของคุณอยู่ในตลาดได้ต่อไป คือการทำวิจัยและทำงานพัฒนา Product ให้สอดคล้องกับตลาดอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
บทความนี้แปลมาจากบทความของ Hiten Shah เขียนไว้ที่ Noteworthy - The Journal Blog
Sign in to read unlimited free articles