รู้จัก Gold-collar worker อาชีพระดับทองคำ ที่ AI แทนไม่ได้ | Techsauce

รู้จัก Gold-collar worker อาชีพระดับทองคำ ที่ AI แทนไม่ได้

ยุค AI อาชีพนี้จะอยู่รอด และไม่โดนแย่งงานง่ายๆ มารู้จัก Gold-collar worker แรงงานระดับทองคำหายากที่ทุกอุตสาหกรรมต้องการตัว

Gold-collar worker คืออะไร ? 

Gold-collar worker หมายถึงผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงในสาขาที่มีความต้องการสูง เช่น แพทย์ ทนายความ วิศวกร นักบิน หรือนักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น แรงงานระดับ ‘ทองคำ’ กลุ่มนี้ มาพร้อมทักษะที่หาตัวจับยากและแน่นอนมาพร้อมค่าตอบแทนที่เหนือกว่าแรงงานประเภทอื่น

คำนี้ถูกใช้ครั้งแรกโดย Robert Earl Kelley ในหนังสือของเขาเรื่อง Gold-Collar Worker ในปี 1985 ซึ่งในอีกความหมายหนึ่งคำนี้หมายถึง คนอายุน้อยที่ลงทุนในสินค้าฟุ่มเฟือย

และถึงแม้ว่าจะทำงานนั่งโต๊ะเหมือนกับ White-collar worker แต่ตำแหน่งระดับ Gold-collar จะมีการทำงานด้านเทคนิคระดับสูงมากกว่างานธุรการ การประสานงาน หรือการวิเคราะห์ทั่วไป

ยิ่งในยุคเทคโนโลยี ยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พัฒนาไปมากจนสามารถทำงานแทนมนุษย์ในบางอาชีพได้แล้ว ยิ่งทำให้ Gold-collar worker ทวีความสำคัญยิ่งขึ้น เพราะตำแหน่งงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ การแก้ปัญหา และการคิดเชิงวิพากษ์มีคุณค่ามากขึ้นกว่าที่เคย

แต่การจะก้าวไปเป็นแรงงานระดับทองคำนี้ก็ต้องแลกมาด้วยความยากลำบาก และต้องเป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงการศึกษาระดับสูงเท่านั้นด้วย แรงงานระดับนี้มักจะมีความรู้กว้างขวางในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และต้องมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากต้องเพิ่มพูนทักษะของตนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่เกิดใหม่และการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว

10 อาชีพ Gold-collar worker น่าสนใจ 

  1. Specialized Engineer (วิศวกรเฉพาะทาง) เช่น วิศวกรโครงสร้าง วิศวกรไฟฟ้า และวิศวกรเครื่องกล 
  2. Data Scientist (นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล) ในยุคที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยข้อมูล Data Scientist  จะช่วยให้องค์กรบูรณาการการใช้งาน AI Machine Learning กับข้อมูลที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  3. Quantitative Analyst (นักวิเคราะห์เชิงปริมาณ) มืออาชีพด้านการใช้วิธีเชิงปริมาณ ใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ ทำการตัดสินใจสำคัญทางธุรกิจและทางการเงิน มักทำงานในธนาคารเพื่อการลงทุนและ Trading Firm 
  4. Specialized Developer (นักพัฒนาเฉพาะทาง) มุ่งเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การพัฒนา Front-end หรือ Back-end แอปมือถือ แอปพลิเคชันการวิเคราะห์ข้อมูล หรือการทดสอบความปลอดภัย ต่างจาก Full Stack Developer ที่ทำงานส่วน Front-end และ Back-end ของโปรเจกต์
  5. Genetic Counselor (ที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์) ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีการศึกษาเฉพาะทางและการฝึกอบรมด้านพันธุศาสตร์ทางการแพทย์ ทำหน้าที่ให้ความรู้ด้านความผิดปกติทางพันธุกรรม ประเมินความเสี่ยงของบุคคลหรือครอบครัวต่อความผิดปกติทางพันธุกรรม 
  6. Nanosystems Technologists (นักเทคโนโลยีนาโนซิสเต็มส์ หรือ วิศวกรนาโนซิสเต็มส์) เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประยุกต์ใช้ระบบและเทคโนโลยีระดับนาโน ซึ่งต้องมีความเชี่ยวชาญรอบด้าน ทั้งด้านวัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และวิศวกรรมไฟฟ้า
  7. Space Tech Engineer (วิศวกรเทคโนโลยีอวกาศ) มีพื้นฐานด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
  8. Neurosurgeon (ศัลยแพทย์ระบบประสาท) ทำหน้าที่วินิจฉัยและผ่าตัดรักษาความผิดปกติที่ส่งผลต่อระบบประสาท รวมถึงสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท
  9. Researcher (นักวิจัย) สามารถพบได้ในหลากหลายสาขา ทั้งวิทยาศาสตร์ วิชาการ ธุรกิจ และเทคโนโลยี
  10. Intellectual Property Lawyer (ทนายความด้านทรัพย์สินทางปัญญา) อาชีพนี้จะยิ่งสำคัญมากขึ้นในยุค AI ที่สามารถเรียนรู้ข้อมูลมหาศาลและผลิตซ้ำออกมาได้ไม่รู้จบ ทำให้อาจเกิดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และละเมิดสิทธิของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ง่ายขึ้น 

อ้างอิง : forbes 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...