แท้จริงแล้วผู้บริหารต้องการอะไรจาก HR ? ที่จะทำให้องค์กรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด | Techsauce

แท้จริงแล้วผู้บริหารต้องการอะไรจาก HR ? ที่จะทำให้องค์กรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

HR เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง (Backbone) ขององค์กร ที่คอยเชื่อมโยงองค์กรให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคอยประเมินผลการทำงานและการจ่ายผลตอบแทนให้กับพนักงานในองค์กร อย่างไรก็ตาม HR มีส่วนสำคัญอย่างมากในการกำหนดการสร้างความเติบโตให้กับองค์กร และแท้จริงแล้วหน้าที่สำคัญของ HR ที่ผู้บริหารองค์กรต้องการจริง ๆ คืออะไรกันแน่ บทความนี้ได้เรียบเรียงมาจาก Harvard Business Review มาเล่าให้ฟังว่า จริงๆแล้ว สิ่งที่ HR ควรมีในสายตาของผู้บริหารคืออะไรบ้าง ?

ถึงเวลาแล้วที่จะต้องบอกลาแผนกทรัพยากรบุคคลแบบเดิมๆ มี CEO หลายคนทั่วโลกที่ผิดหวังกับการทำงานของพนักงาน HR ในบริษัท เนื่องจากผู้บริหารต้องการให้ หัวหน้า HR (Chief human resource officers หรือ CHROs)  ทำหน้าที่เป็นเสมือนกระดานเสียงที่พนักงานในบริษัทสามารถพูดคุยสิ่งที่พวกเขาต้องการและรู้สึกได้ โดยทักษะที่ HR ควรมีเป็นอย่างยิ่ง คือ ทักษะในการเชื่อมโยงผู้คน สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร และสามารถวิเคราะห์ค้นหาจุดอ่อน จุดแข็งภายในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคนในองค์กร และให้คำแนะนำเกี่ยวกับกลยุทธ์ของบริษัท

อย่างไรก็ตาม มีหัวหน้า HR (CHRO) จำนวนน้อยมากที่สามารถทำได้ตามที่กล่าวไปข้างต้น โดยส่วนใหญ่แล้ว CHRO จะเชี่ยวชาญในเรื่องการจ่ายสวัสดิการ การจ่ายค่าตอบแทน และแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งจะเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร อาทิ เช่น การสร้างความร่วมมือและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในองค์กร แต่สิ่งที่ HR ยังทำได้ไม่ดีนัก นั่นคือ การสร้างความเชื่อมโยงของ HR ให้ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจในโลกของความเป็นจริง โดยบางครั้ง HR ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเหตุใดพนักงานหรือองค์กรไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

มีตัวอย่างของ CHRO ที่ทำงานในสายงานต่าง ๆ เช่น การขาย การบริการ การผลิต หรือในด้านการเงิน จะมีคุณสมบัติบางอย่างที่แตกต่างออกไปจาก CHRO ทั่วไปอย่างชัดเจน ตัวอย่าง เช่น Bill Conaty อดีต CHRO ที่มีชื่อเสียงของ GE ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการเลื่อนตำแหน่งและการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (succession planning) หรือ Mary Anne Elliott   CHRO ของ Marsh มีบทบาทในการบริหารจัดการหลายประการ ไม่ใช่เพียงแค่ HR และยังมีการปรับปรุงระบบ HR pipeline เพื่อดึงดูดและค้นหาผู้คนที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจให้เข้ามาในองค์กรเพิ่มขึ้น หรือแม้กระทั่ง Santrupt Misra หุ้นส่วนและหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ Aditya Birla Group กลุ่มบริษัทที่มีมูลค่า 45 พันล้านดอลลาร์ ทำงานเกี่ยวกับองค์กร และศึกษาการปรับโครงสร้าง และพัฒนาผู้บริหารงบดุลบริษัท (P&L Managers)

โครงสร้างแบบแผนนี้อาจจะดูสุดโต่ง แต่มีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติจริง โดยการเปลี่ยนตำแหน่ง CHRO ออกและแบ่งแยก HR ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเรียกว่า HR-A ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการบริหาร และการจัดการ การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์เป็นหลัก โดยจะรายงานผลไปยัง CFO ผู้บริหารการเงินของบริษัท  ส่วนอีกกลุ่มนึงเรียกว่า HR-LO มีหน้าที่ดูแลองค์กรและสร้างความเป็นผู้นำ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงและพัฒนาความสามารถของบุคลากรในองค์กร โดยจะรายงานผลต่อ CEO ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท

บุคลากรจากฝ่ายปฏิบัติการหรือฝ่ายการเงิน จะเป็นคนที่ขับเคลื่อนกลุ่ม HR-LO ได้อย่างมีศักยภาพมากที่สุด เนื่องจากบุคลากรเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญทางธุรกิจและทักษะด้านบุคลากร ทำให้มีโอกาสสูงที่จะบรรลุถึงสองชั้นบนสุดขององค์กร (Top two layers of the organization) โดย HR-LO ที่ดีจะเรียนรู้การสร้างประสบการณ์ในการตัดสินและพัฒนาคน ประเมินการทำงานภายในของบริษัทเชื่อมโยงระบบสังคมให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานทางการเงิน และดึงดูดบุคลากรจากด้านธุรกิจเข้าสู่ระบบ HR-LO pipline  โดยหลังจากนั้นไม่กี่ปี บุคลากรที่มีศักยภาพสูงเหล่านี้จะสามารถย้ายไปทำงานด้านการจัดการสายงานในแนวนอน (horizontal) หรือในระดับสูง (higher-level) ได้ ดังนั้นการทำงานของ HR-LO จะถูกมองว่าเป็นขั้นตอนในการพัฒนาบุคลากรในบริษัทให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั่นเอง

โครงสร้างนี้เป็นเพียงแบบแผนเบื้องต้น โดยอาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากมาย แต่อย่างไรก็ตามปัญหาของ HR นั้นมีอยู่จริง ซึ่งต้องได้รับแก้ไขอย่างชาญฉลาดที่สามารถช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

อ้างอิงจาก HBR

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...

Responsive image

ทำไมนวัตกรรมถึงสำคัญกับองค์กร และสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุค AI

ถ้าเราใช้วิธีเก่า ในการแก้ปัญหาใหม่ หรือถ้าเราใช้โมเดลธุรกิจเดิม กับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผลลัพธ์จะออกมาไม่ดีนัก และทางออกของปัญหาที่เราอยากชวนทุกคนมารู้...