ทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนผู้ใช้งานให้เป็นผู้สร้างผลงานและมามารถสร้างรายได้ได้ใน Metaverse | Techsauce

ทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนผู้ใช้งานให้เป็นผู้สร้างผลงานและมามารถสร้างรายได้ได้ใน Metaverse

หลายคนเมื่อได้ยินคำว่า Metaverse อาจมีคำถามว่า “ทำไมเราต้องใช้สิ่งนี้” หรือจะได้อะไรจากการเข้าไปในโลกเสมือนนี้ เพราะในหนึ่งวันมี 24 ชม. ถ้าเราเอาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างหนึ่งแล้ว เวลาในการทำสิ่งอื่นย่อมลดลง ดังนั้นด้วยข้อจำกัดทางด้านเวลาจึงทำให้เกิดโจทย์ว่าทำอย่างไรจึงจะสร้างแรงจูงใจให้คนมาใช้เวลาในโลก Metaverse ได้ วันนี้ Techsauce จึงสรุปการบรรยายโดยคุณ Rudy lee ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์จาก Zepeto จากงาน Techsauce Global Summit 2022 มาให้ทุกท่านได้ติดตามกันว่าการเข้าสู่โลกเสมือนหรือ Metaverse นี้จะมอบอะไรให้คุณได้บ้างนอกจากประสบการณ์ที่แปลกใหม่

โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงชีวิตประจำวันแล้วจะสามารถแบ่งกิจกรรมที่ทำได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมเพื่อการพักผ่อน ซึ่งแม้ว่า Metaverse ในตอนนี้จะดูเหมือนกิจกรรมเพื่อพักผ่อนสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป อย่างเช่น การเล่มเกม หรือเสพงานศิลป์ แต่ความจริงแล้วโลกเสมือนนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ใช้งานทั่วไปอย่างเราได้ด้วย กล่าวคือ เมื่อคุณใช้เวลาว่างใน Metaverse นั้นจะไม่ใช่แค่การหมดเวลาไปกับการผ่อนคลาย แต่จะสามารถสร้างรายได้ หรือบางคนอาจสร้างอาชีพและตัวตนใหม่ได้ในโลกเสมือนนี้ ซึ่งเป็นการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือทุกอย่างที่มีแบบกายภาพจะถูกสะท้อนมาบนโลกเสมือน แต่บนโลกเสมือนสามารถสร้างอะไรก็ได้ที่คุณจินตนาการ คุณจะสามารถสะท้อนตัวตนของคุณได้อย่างเต็มที่ในแบบที่คุณไม่สามารถสร้างหรือทำได้บน Physical World อย่างเช่น ด้านแฟชั่น ในโลกแห่งความเป็นจริงคุณอาจต้องมีปริญญาบัตรทางด้านการออกแบบถึงจะเป็นดีไซน์เนอร์ได้ หรือมีต้นทุนและมี connection เพื่อทำการธุรกิจในการตัดเย็บเสื้อผ้าออกมา แต่ในโลกเสมือนนี้ด้วยเทคโนโลยีอย่าง Virtual Reality และ Augmented Reality ทำให้คุณสามารถเป็นดีไซน์เนอร์ออกแบบเสื้อผ้าให้กับตัวละครอวตารได้ และวางขายได้ โดยไม่ต้องมีต้นทุนที่สูงเหมือนโลกแห่งความจริง

Make anything you can imagine

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจจากผู้ใช้งาน Zepeto คือ Lenge หญิงสาววัย 20 ปีที่ต้องการทำงานด้านแฟชั่น แต่ไม่ได้รับโอกาสเนื่องจากเหตุผลด้านการศึกษาและอื่น ๆ และเมื่อ Lenge ได้รู้จักกับ Metaverse พร้อมเครื่องมืออย่าง Zepeto Studio ทำให้เธอใช้เวลาว่างเริ่มทำเสื้อผ้าเสมือนจริง เรียนรู้และพัฒนาการออกแบบในโลกเสมือนนี้จากเวลาว่าง จนในที่สุดเธอทำรายได้ในปีแรกได้ถึงประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และในที่สุดก็มีแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตัวเอง พร้อมกับได้ร่วมมือกับแบรนด์ต่างๆ ในการออกไอเทม Limited 

ทำความรู้จักกับ Zepeto

Zepeto เป็นแอพพลิเคชันสร้างอวตารที่มีผู้ใช้งานกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก ตัวละครอวตารเป็นการผสมผสานระหว่าง Roblox กับ Tiktok ซึ่ง Zepeto เป็นแพลตฟอร์ม Metaverse ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยในทุกๆ วันจะมีผู้ใช้งาน Zepeto มากกว่า 2 ล้านคนทำการซื้อสินค้าแฟชั่นเสมือนจริงมากกว่า 3 ล้านรายใน 

นอกจากนี้ Zepeto ยังมีแบรนด์ Stickerly ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเผยแพร่สติกเกอร์ UGC ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนมากกว่า 33 ล้าน MAU (Monthly active users) และสติกเกอร์ที่ผู้ใช้สร้างขึ้นกว่า 7 พันล้านรายการดาวน์โหลดเพื่อใช้บน Whatsapp และ iMessage

ซึ่งจุดที่น่าสนใจคือ Zepeto ไม่ได้ใช้งบประมาณในการทำการตลาดเลยแม้แต่เหรียญเดียว แต่ในช่วง 3-4 เดือนแรกกลับได้รับการดาวน์โหลดแบบ Organic ประมาณ 8 ล้านครั้งต่อเดือน โดยเริ่มได้รับความสนใจเมื่อวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ใน WeChat, Line และ Kakao เป็นอวาตาร์จาก Zepeto ที่สามารถ Customize ให้ตัวละครสะท้อนถึงเอกลักษณ์และบุคลิกภาพของพวกเขาได้เป็นอย่างดี เพื่อนๆ ของพวกเขาก็จะสนใจและดาว์นโหลดมาใช้งานตาม ดังนั้นทีมงานจึงเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Social Feed แชท และ 3d Roblox เป็นต้น จนพัฒนากลายเป็น Zepeto ในปัจจุบัน ซึ่งมีจุดเด่นคือการปรับแต่งใบหน้าและเครื่องแต่งกายที่ละเอียดมาก สามารถเติมเงินเพื่อซื้อทรงผมหรือเครื่องแต่งกายใหม่ตามแฟชั่น ถ่ายวิดีโอแบบ AR ออกมาในลักษณะที่คล้ายคลึงกับ Animoji ไปใช้ต่อในแอปอื่นได้ และฟีเจอร์ Photobooth ที่สามารถถ่าย AR พร้อมกับเพื่อน ๆ ได้มากถึง 6 คน

จากผู้ใช้งานสู่ผู้สร้างผลงาน

 เมื่อ 2 ปีที่แล้ว Zepeto ได้ปล่อยผลิตภัณฑ์ใหม่ หรืออาจเรียกว่าเครื่องมือ ที่ชื่อว่า Zepeto Studio ออกมา เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถออกแบบเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า หรือหมวก ในแบบ 3D ได้ ซึ่งปกติผู้ที่ทำได้นั้นจะต้องมีความเชี่ยวชาญในซอฟต์แวร์ 3 มิติ เช่น Maya แต่เมื่อมาที่ Studio นี้ทุกคนจสร้างเสื้อยืด แจ็กเก็ต หรือกางเกง เป็นของตัวเองได้ด้วยเทมเพลตในโปรแกรม โดยการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ นี้สามารถดึงดูดผู้ใช้งานได้เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ภายในเวลา 1 ปี ซึ่งตอนนี้มีครีเอเตอร์มากกว่า 2 ล้านคนที่ใช้สตูดิโอของ Zepeto เพื่อสร้างคอลเล็กชันเสมือนของตนเอง โดย 9 อันดับแรกของผู้ใช้งานได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส บราซิล และฟิลิปปินส์ กล่าวคือมีความหลากหลายมาก และที่นี่สตูดิโอแห่งนี้จะทำให้คนสามารถใช้เวลากับสิ่งที่ชอบและได้เงินจากมันได้ในเวลาเดียว หรือยิงนัดเดียวได้นนกสองตัว โดยปัจจุบัน Zepeto Studio มีฟีเจอร์ในการออกแบบพื้นที่และอาคารแบบ 3D เพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากหมวดหมู่แฟชั่น สร้างงานให้กับคนที่ฝันอยากจะเป็นนักออกแบบภายในได้จำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นเด็กวัย 14 ปีเท่านั้น และเขาสามารถสร้างรายได้หลักแสนเหรียญสหรัฐต่อปี 

Metaverse is a tool that allows you to realize those desires

ถึงตอนนี้ด้วยจำนวน Creators และผู้ใช้งานจำนวนมากที่ Zepeto มีอาจทำให้คนคิดว่าประสบความสำเร็จแล้ว แต่ความจริงการที่มี Creators จำนวนมากกลับเป็นจุดเริ่มต้นของตวามสำเร็จ เพราะสิ่งนี้สามารถดึงดูดแบรนด์กว่า 200 แบรนด์ในทุกอุตสาหกรรมมาร่วมมือกับ Zepeto ได้ เพราะแต่ละแบรนด์ก็อยากจะสร้างแบรนด์และโอกาสทางการตลาดในโลก Mateaverse ซึ่งทำเงินได้มาก ตัวอย่างแบรนด์ที่มีความร่วมมือทางธุรกิจกับ Zepeto

Content รูปแบบใหม่ที่ชับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

อีกหนึ่งตัวอย่างที่ Rudy ได้ยกขึ้นมาเป็นภาพยนต์เรื่องแรกๆ ที่เขาเคยทำในปี 1895 ชื่อว่า "The Arrival of a Train" ซึ่งมีรถไฟวิ่งเข้าหากล้องโดยตรงและผู้คนต่างกระโดดออกจากรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ ทำให้ผู้ชมภาพยนตร์หลายคนรู้สึกเหมือนกำลังถูกรถไฟวิ่งเข้าชนจริงๆ และหลังจากนั้นอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ก็เติบโตขึ้น และเป็นอุตสาหกรรมที่ “มีเนื้อหาที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง” แต่ก็ยังมีบางอย่างที่ขาดหายไปเพราะภาพยนตร์ในทีวีสามารถบอกเล่าเรื่องราวของคนอื่นได้ แต่ก็ยังไม่ได้เชื่อมโยงกับประสบการณ์เฉพาะตัวของผู้ใช้ แต่ metaverse สามารถพัฒนาเนื้อหาที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และมันเชื่อมโยงกับชีวิตจริงมากขึ้น มันสามารถเป็นการแสดงออกถึงตัวตนของคุณอย่างแท้จริงและความสามารถในสร้างรายได้ทำให้มันเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น Rudy ได้กล่าวว่า “เรากำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ Content ที่เรากำลังบริโภคถูกผสมกับ Content ที่เราสร้างขึ้น”

ทำความรู้จักกับ Rudy Lee

เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาจาก Princeton University หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับ Ivy League สาขาการเปรียบเทียบวรรณคดีและทัศนศิลป์ ซึ่ง Rudy คิดว่าสาขานี้เปรียบเสมือนห้องทดลองด้านมนุษยศาสตร์ด้วยการพยายามเรียนรู้สิ่งที่เหมือนกัน แตกต่าง และสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปจากการเปรียบเทียบภาพยนตร์ นวนิยาย ศาสนาประวัติศาสตร์ ภาพวาด เพลง และอื่นๆ รวมถึงโลกของเทคโนโลยี และเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ดังนั้นการสอนให้นักเรียนได้คิดและวิเคราะห์จึงเป็นความน่าสนใจของสาขานี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เป็นตัวเขาในปัจจุบัน

เขาเข้าสู่การทำงานในตำแหน่งนักเขียนบทและผู้กำกับสื่อ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ โฆษณา หรือรายการโทรทัศน์ หลังจากนั้นเขาก็เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง 37th Degree บริษัทโปรดักชั่นระดับนานาชาติที่เคยได้รับรางวัล อันทรงคุณค่าอย่าง Silver Lion จากเทศกาลภาพยนตร์เวนิส หนึ่งใน Big Three ของเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก หลังจากนั้นเขาก็ร่วมกันสร้างสตาร์ทอัพกับ Heesuk Ricky Kang ชื่อ VRex Lab แอพลิเคชันสร้างแพลตฟอร์ม AR บนมือที่เชื่อมต่อผู้คนทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยเขารับบทเป็น CEO และต่อมาบริษัทก็ได้ถูกซื้อโดย Naver หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่สุดในเกาหลีใต้ บริษัทแม่ของ Line และเป็นผู้ให้บริการ Web Portal กับ Search Engine ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้เขายังทำหน้าที่เป็นล่ามและ Speechwriter ให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของเกาหลี 


Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...