Space Economy โอกาสทางธุรกิจและอนาคตที่เป็นไปได้ในอวกาศ สรุปเทรนด์จากเวที Future of Space & Robotics on Earth | Techsauce

Space Economy โอกาสทางธุรกิจและอนาคตที่เป็นไปได้ในอวกาศ สรุปเทรนด์จากเวที Future of Space & Robotics on Earth

ปัจจุบัน Space Economy เป็นโอกาสทางธุรกิจแห่งอนาคตที่หลายประเทศกำลังจับตามอง และหากกล่าวถึงภาพรวมของเทคโนโลยีอวกาศและหุ่นยนต์ในประเทศไทยในปัจจุบัน Space Tech ไม่ได้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและไกลตัวอีกต่อไป เทคโนโลยีอวกาศรวมถึงหุ่นยนต์นั้นถูกนำมาประยุกต์กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศอย่างหลากหลาย มากไปกว่านั้นยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันมากกว่าที่เรารับรู้  

Space Economy โอกาสทางธุรกิจและอนาคตที่เป็นไปได้ในอวกาศ Global Startup Hub BKK ร่วมนำเสนอ Tech & The City ในวงสนทนาหัวข้อ : "Future of Space & Robotics on Earth" ในวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา เปิดตัวเป็นเวทีแรกของ กิจกรรม “บางกอกวิทยา” เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนกรุงเทพให้เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ โดย คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็น 1 ใน 12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ

Space Economy โอกาสทางธุรกิจและอนาคตที่เป็นไปได้ในอวกาศ

Space Technology

ปัจจุบันภาพรวมของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและหุ่นยนต์ในไทยเริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจมากขึ้นในช่วงสามถึงสี่ปีที่ผ่านมา หลังจากการประกาศพระราชบัญญัติอวกาศและเริ่มมีนโยบายจากภาครัฐยิ่งทำให้ภาคเอกชน ภาคการวิจัยที่ดำเนินการมาอยู่แล้วนั้นมีการดำเนินการเพิ่มขึ้น คุณโพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์  Co-Founder, Automa Robotics บริษัทพัฒนาและออกแบบหุ่นยนต์ ผู้นำการค้นคว้าและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของหุ่นยนต์  กล่าวว่า “การหาแนวทางการทำงานร่วมกันทำให้แวดวงอวกาศในไทยมีความหวังมากขึ้น ดังนั้นในอีกไม่กี่ปี จะมีความเป็นไปได้ว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว” 

คุณวเรศ จันทร์เจริญ - ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเครื่องกลและทางการแพทย์ การสำรวจอวกาศห้วงลึก นักวิจัยเฉพาะด้าน Space Food และหัวหน้าทีม KEETA หนึ่งในสิบทีมที่ได้รับการจากองค์การ NASA ในการแข่งขัน Deep Space Food Challange ในระดับนานาชาติ อธิบายว่า “ ในส่วนของหุ่นยนต์นั้นมีความเป็นไปได้ที่เติบโตเร็วกว่าวิทยาการอวกาศ เพราะหุ่นยนต์ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโควิด-19 ที่ยิ่งเข้ามาเร่งการใช้งานหุ่นยนต์ให้เข้าใกล้ชีวิตมากขึ้น คนยอมรับการนำ Service Robot มาใช้ เช่น การนำทาง การเสิร์ฟอาหาร Mobile Robot เช่น โดรน รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ ในระยะหลังภาครัฐก็ให้ความสนับสนุนมากขึ้นเพราะเห็นถึงความสามารถในการเติบโตแบบ  S-Curve”

ประเทศไทยจัดเป็นผู้นำของ Emerging Space Country

Space Economy โอกาสทางธุรกิจและอนาคตที่เป็นไปได้ในอวกาศ

ถึงแม้ว่าวงการอวกาศในบ้านเราจะยังไม่ได้อยู่ในสถานะที่เป็นอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญของประเทศเหมือนดั่งมหาอำนาจที่มีการแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศกันอย่างเข้มข้นมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่ประเทศไทยมีศักยภาพที่ถือว่าอยู่ในอันดับต้นของประเทศเกิดใหม่ที่ทำงานด้านอวกาศ (Emerging Space Country) 

คุณโพธิวัฒน์ ระบุว่า “ไทยเรามีโครงสร้าง หน่วยงานที่ร่างนโยบายอวกาศ หน่วยงานด้านสารสนเทศ หน่วยงานวิจัย รวมทั้งงบประมาณในส่วนที่รองรับการทำงานด้านอวกาศ เพียงแต่ว่าเรายังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน หากมีทิศทางที่ชัดเจนจากมหภาคที่สนับสนุนการทำงานของจุลภาค ประเทศไทยจะสามารถก้าวไปอีกขั้นได้ และเป็นหนึ่งใน Top-Tier ด้านการพัฒนาอวกาศได้อย่างแท้จริงได้ในภูมิภาค”  

“ในด้าน Utilize Space Application แบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียมจีพีเอส การสื่อสารโทรคมนาคม  การถ่ายทอดสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศถูกนำมาประยุกต์หลากหลายในสินค้าและบริการของเรามากขึ้น ชิ้นส่วนประกอบในบางอุตสาหกรรมพัฒนาจากผลลัพธ์จากการทดลองหรือทดสอบเทคโนโลยีอวกาศ”

Space Tourism เทคโนโลยีอวกาศในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวอวกาศเปรียบเหมือนการท่องเที่ยวทั่วไป คุณโพธิวัฒน์ ระบุว่า หากเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมการบินทั่วไป การใช้เครื่องบินในทุกวันนี้ สามารถเข้าถึงการใช้งานมากขึ้น เนื่องจากมีผู้คนมีอุปสงค์ที่ให้ความสำคัญกับการใช้งานได้จริงมากกว่าปัจจัยด้านอื่นมากขึ้น ซึ่งในตอนนี้การท่องเที่ยวอวกาศยังเป็นช่วงเริ่มต้น เป็นธุรกิจที่มีราคาแพง ทุกคนอาจจะไม่สามารถเข้าถึงการท่องเที่ยวในอวกาศได้ในตอนนี้ แต่หากผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมรองรับการใช้งานมากขึ้น ราคาจะปรับลงเพื่อให้เกิดการเข้าถึงและทำให้อุปสงค์กับอุปทานเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน โดยหลังจากนี้ธุรกิจที่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้คนจะกลายเป็นจุดเชื่อมโยงต่อไปของการธุรกิจท่องเที่ยวบนอวกาศ 

Space Tourism จะมาพร้อมกับ Service Provider Technology หรือผู้สร้างบริการในจรวด ซึ่งจะก่อให้เกิด Supply Chain เกิดธุรกิจ และ Business Model ใหม่

3D Printing เทคโนโลยีการผลิตและพัฒนาอาหารบนอวกาศ 

ในระดับเริ่มต้นการท่องเที่ยวในอวกาศจะเป็นการเดินทางรอบวงโคจร ไม่ใช่การอยู่อาศัย การออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อให้รองรับสภาวะบนอวกาศเป็นเรื่องที่สำคัญในปัจจุบันนี้ สิ่งสำคัญของการพัฒนาอาหารการกินบนอวกาศ คือ Sustainable กล่าวคือต้องให้ความสำคัญตลอดทั้งวงจรของอาหาร ตั้งแต่การผลิต การใช้พลังงานในการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม การรับประทาน การกำจัดขยะ ความปลอดภัย รวมถึงการรับรสชาติ ประสบการณ์ ความรู้สึกจากการรับประทานอาหาร 

สำหรับการนำเทคโนโลยี 3D Food Printing ถูกนำมาใช้ออกแบบและผลิตอาหารที่หลากหลายมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ แต่ในปัจจุบันยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างสมบูรณ์ทั่วโลก เพราะยังไม่มีเทคโนโลยีรองรับเพียงพอ อาหารในส่วน Input ยังจำกัด ทำให้ยังมีอุปสรรคในการทำระบบอาหารที่ครบวงจร 

KEETA กับโอกาสในการแก้โจทย์ใหญ่จาก NASA 

ปัจจุบันอาหารบนอวกาศอยู่ในรูปอาหารที่เอาน้ำออก (Dehydration) รวมถึงอาหารสำเร็จรูปในรูปหลอดบีบ โดย 'อาหารสด' ยังเป็นโจทย์ที่ท้าทายเพราะเสียง่าย ทำให้นักบินอวกาศต้องเผชิญกับปัญหาการรับประทานจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการปฎิบัติการบนอวกาศในระยะยาวที่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบถ้วนรวมถึงคุณภาพชีวิต ความรู้สึกและประสบการณ์ที่ดีจากการรับประทานอาหาร การแก้ปัญหาเรื่องอาหารสดที่สามารถอยู่บนอวกาศได้จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของ NASA โดยความท้าทายที่ KEETA ให้ความสำคัญ คือ ระบบการผลิตอาหารที่ครบวงจร โดยการพัฒนาอาหารบนอวกาศนี้ ยังมีจุดมุ่งหมายที่สามารถนำกลับมาใช้กับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารบนโลกได้อีกด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://keeta.space/

คุณโพธิวัฒน์ กล่าวว่า "NASA มีหลักการที่น่ายกย่องเป็นกรณีตัวอย่างคือ การเปิดรับแนวทางและไอเดียจาก Outsource ที่มีศักยภาพให้ดำเนินการแทน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับภาคส่วนอื่น ๆ และกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมล้ำค่าจำนวนมาก สิ่งที่เข้าตั้งโจทย์จะเป็นสิ่งที่ Commercialize ได้"

Space Medical การแพทย์บนอวกาศ 

เทคโนโลยีการแพทย์บนอวกาศมีพื้นฐานจาก Aerospace Medical พัฒนามาจากการช่วยเหลือนักบินรบ คุณวเรศ กล่าวว่า นอกจากนี้พื้นฐานของการรักษาบนเครื่องบินโดยสาร Commercial Airline ในปัจจุบันก็มีส่วนพัฒนาและทดสอบจาก Space Flight Medicine โดยนักบินอวกาศในยุคแรกจำเป็นต้องช่วยชีวิตหรือรักษาการเจ็บป่วยด้วยตัวเอง (Emergency Medical) เพราะไม่สามารถกลับมารักษาบนโลกได้ทันที กดดันให้วงการอวกาศต้องพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และการรับมือเพื่อช่วยเหลือนักบินอวกาศในสภาวะจำเพาะที่ต่างออกไป สภาพแวดล้อมที่ทำร้ายและไม่เอื้อในการใช้ชีวิตของมนุษย์   

“อนาคตของการแพทย์บนอวกาศจะกลายเป็นกฎเกณฑ์มาตรฐานของการรักษาบนโลก ยกตัวอย่างเช่น Tele-Medicine เทคโนโลยีเซนเซอร์การตรวจหรือติดตามสุขภาพขนาดเล็ก (Medical Checkup) ก็มีที่มาจากการแพทย์บนอวกาศ” 

Robotics Solution (Automation) บนอวกาศ

ในด้าน คุณวเรศ กล่าวว่า “การทดสอบนำหุ่นยนต์ไปใช้ในอวกาศจะเข้ามาช่วยแบ่งเบาการส่งมนุษย์ขึ้นไปบนอวกาศรวมถึงช่วยมนุษย์บนโลกได้อย่างชัดเจน โดยหุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศจะช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนางานบนอวกาศมากขึ้น มีพื้นที่ในการพัฒนาอีกมาก ทั้งด้านหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศในการทำภารกิจบนอวกาศ การสำรวจอวกาศ การติดตั้งดาวเทียม ถ้ามองในมุมอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ถูกนำมาช่วยในภาคการผลิตและบริการ และถูกนำมาใช้ทำงานพร้อมกับมนุษย์ (Co-Bot) ช่วยลดอุบัติเหตุ ประหยัดต้นทุนด้วยและลดเวลาในการปฏิบัติงาน ซึ่งปัจจุบันหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ในภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น 

โดยภาพรวมในไทย “ถึงแม้ไทยยังไม่สามารถผลิตมอเตอร์ซึ่งเป็นพื้นฐานของหุ่นยนต์ได้ ยังต้องนำเข้าจากประเทศอยู่ แต่ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านการผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ เฟิร์มแวร์ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ ซึ่งหากผลักดันจุดแข็งนี้ก็จะทำให้ไทยมีโอกาสในการแข่งขันได้”

เรามีความเก่งเรื่องพัฒนาซอฟ์ตแวร์ เราร่วมกับรายอื่นที่มีความถนันในฮาร์ดแวร์ จะช่วยทำให้การเข้าถึงการสร้างและพัฒนาธุรกิจหุ่นยนต์ในประเทศไทยไปได้ไกลขึ้น

คุณโพธิวัฒน์ กล่าวว่า สำหรับตลาด Red Ocean การสร้างดาวเทียมจะเข้าสู่ Mass Scale และมีความ Automation มากขึ้น โดย 'เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ดาวเทียม' ยังเป็น Blue Ocean และมีโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาร่วมได้ เช่น การพัฒนาเซนเซอร์ประเภทต่างๆ  กล้องที่ใช้ในการจับภาพ เป็นต้น 

นอกจากนี้ในอนาคตธุรกิจอวกาศจะมองไปที่ 'เทคโนโลยีรายล้อม' นอกเหนือจากการพัฒนาดาวเทียมมากขึ้น กล่าวคือ เทคโนโลยีที่จะอำนวยความสะดวกการดำรงชีวิตด้านต่าง ๆ ที่จะรองรับการใช้ชีวิตของมนุษย์บนอวกาศ เช่น ปัจจัยสี่ อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย การแพทย์ หรือเครื่องปรับอากาศ ที่สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจได้ ผู้ที่สนใจต้องเริ่มดำเนินตั้งแต่ตอนนี้ เพราะกระบวนการที่เกี่ยวกับมนุษย์เป็นกระบวนการที่ใช้เวลาในการออกแบบพัฒนาและทดสอบนานมาก 

ในส่วนความกังวลเรื่องการถูกแย่งงานโดยหุ่นยนต์  คุณวเรศ กล่าวว่า "คนเรามีความคิดสร้างสรรค์ มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้มากกว่าหุ่นยนต์หรือ AI เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับยุคที่มีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมนุษย์มากขึ้น สิ่งสำคัญ คือ 'ความคิดสร้างสรรค์' ความเข้าใจในเรื่องสกิลพื้นฐานที่ใช้ในการทำงาน ความเข้าใจในความเป็นไปในการใช้ชีวิต จุดนี้มนุษย์แข็งแกร่งกว่า งานบางงานไม่สามารถนำหุ่นยนต์มาใช้แทนได้เลย เช่น งานศิลปะ Abstract Art งาน Craft เป็นต้น หุ่นยนต์จะเข้ามาช่วยงานร่วมกับมนุษย์มากกว่าแย่งงาน"

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจหรืออยากเริ่มต้นทำธุรกิจหุ่นยนต์ สิ่งสำคัญ คือ 'การเริ่มลงมือทำ' ควรทำความเข้าใจข้อจำกัดและข้อดีที่หุ่นยนต์มาพิจารณาร่วมกับผลตอบแทนทางธุรกิจ ปัญหาที่มีเหมาะสมจะนำหุ่นยนต์มาใช้อย่างไรสามารถพิจารณาจากเทคโนโลยีนวัตกรรมที่มีพื้นฐานอยู่และต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าจากเดิม


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...