ปัจจัยใดบ้างที่เอื้อให้เกิด Ecosystem สำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล | Techsauce

ปัจจัยใดบ้างที่เอื้อให้เกิด Ecosystem สำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล

ตัวแทนจากแต่ละฝ่ายใน Ecosystem อย่าง President ของ True Digital Park, อดีตนายกฯ ของ Estonia และ CEO ของ Intelligencer ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันว่า "ส่วนผสมหรือปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้การสร้าง Ecosystem สำหรับผู้ประกอบการยุคดิจิทัลประสบความสำเร็จ?"

คุณฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ (President) ของ True Digital Park, Taavi Rõivas อดีตนายกรัฐมนตรีของ Estonia และ Paul Papadimitriou ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Intelligencer ร่วมพูดคุยกันใน Panel Discussion ที่ชื่อว่า "The Digital Entrepreneurial Ecosystems: What are the key ingredients?" โดยทั้งสามคนมีมุมมองในการสร้างระบบนิเวศหรือ Ecosystem สำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลที่แตกต่างกันออกไป

Paul Papadimitriou ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Intelligencer, Taavi Rõivas อดีตนายกรัฐมนตรีของ Estonia และ คุณฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ True Digital Park

ใน Session นี้ ผู้อภิปรายต่างมีบทบาทใน Ecosystem ต่างกันออกไป โดยมีทั้งผู้ประกอบการ ผู้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้เต็มศักยภาพ และรัฐบาลที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย-บริหารประเทศ หลายประเทศพยายามเลียนแบบ Silicon Valley แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จดังที่ต้องการมากนัก

คำถามก็คือเราขาดส่วนผสมหรือปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้การสร้าง Ecosystem สำหรับผู้ประกอบการยุคดิจิทัลประสบความสำเร็จ?

คนเก่ง คนมีความสามารถ คือปัจจัยสำคัญ

Paul Papadimitriou ผู้ก่อตั้งและ CEO of Intelligencer ตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนหนึ่งที่ทำให้การพัฒนา Ecosystem สำหรับผู้ประกอบการไม่ประสบความสำเร็จก็มาจากการที่หลายๆ รัฐบาลต้องการจะสร้าง Ecosystem แค่ให้เหมือนกับ Silicon Valley ในสหรัฐอเมริกา แต่กลับมองข้ามการดึงดูดคนที่มีความสามารถ (Talent) เข้ามาร่วมงานด้วย

สภาพแวดล้อมของ Silicon Valley กลายเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่มีความสามารถ ซึ่งคนนั้นอาจเป็นคนที่นั่งทำงานอยู่ในร้านกาแฟก็อาจกลายเป็นผู้ร่วมลงทุน (Venture) ที่กำลังทำงานอยู่ร่วมกันด้วยก็ได้

ซึ่งบรรยากาศแบบนี้เองที่ทำให้เกิด Spill-over Effect จากการที่มีคนเก่งจำนวนมากเกิดขึ้นมาใน Silicon Valley แต่กลับยังไม่ประสบความสำเร็จเสียที


Spill-over Effect คืออะไร?

แนวคิด Human Capital Management ของแกรี่ เบเคอร์ ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยถึงแนวทางในการที่จะทำให้การลงทุนทางเศรษฐกิจเกิดผลลัพธ์มากที่สุด และพบว่าการลงทุนที่ดีที่สุดคือ การลงทุนในการพัฒนามนุษย์ เนื่องจากการที่มนุษย์พัฒนาขึ้นนั้นจะทำให้เกิด Spill-over Effect กล่าวคือ เมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้นแล้วก็มักจะนำเอาสิ่งที่ได้รับจากการพัฒนานั้นมาพูดคุยต่อในที่ทำงาน ทำให้ความรู้หรือทักษะที่ได้รับแพร่กระจายออกไปสู่ผู้อื่น เกิดการพัฒนาอย่างเป็นลูกโซ่

ที่มา: Gaius Jusk Think


โดยอดีตนายกรัฐมนตรีของ Estonia อย่าง Taavi Rõivas ก็เล่าประสบการณ์จากการบริหารประเทศ โดยมองว่าการเกิด Spill-over Effect ส่งผลดีต่อ Estonia อย่างเห็นได้ชัด โดยดูได้จากความสำเร็จของ Skype เป็นตัวอย่าง

ซึ่ง Taavi ก็ระบุว่า Entrepreneurial Ecosystem ของผู้ประกอบการใน Estonia ซึ่งมีอยู่จำนวนมากก็มีการติดต่อและเชื่องโยงเข้ากับผู้ก่อตั้ง Skype ทั้งแบบส่วนตัวและร่วมงานกันอย่างจริงจัง ซึ่งสิ่งนี้เองทำให้ผู้ประกอบการของ Estonia มีความได้เปรียบในเชิงมูลค่า (Valuable Advantage) ในการนำ Startup ของพวกเขาไปสู่ความสำเร็จต่อไป

นอกจากนี้ ผลลัพธ์เชิงบวกของ Spill-over Effect ดังกล่าว จะทำให้ผู้ประกอบการหรือคนที่มีเก่งๆ มีความสามารถที่ประสบความสำเร็จ เกิดความกระตือรือร้น อยากที่จะนำความรู้หรือคำแนะนำต่างๆ  มาช่วยให้เกิดคนเก่งๆ ที่มีความสามารถขึ้นมาใหม่ต่อไป

พื้นฐานด้านการศึกษาที่ดีจะช่วยให้เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้

คุณฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ True Digital Park เห็นว่าหากเราสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตเดิมๆ ของนักเรียนได้สำเร็จ อาจช่วยให้แก้ปัญหาของการศึกษาในประเทศไทยที่มีความท้าทายอยู่ได้ ซึ่งวิถีชีวิตของนักเรียนมักจำกัดแค่การไปเรียนที่โรงเรียน และเมื่อเลิกเรียนก็จะเข้าไปใช้เวลาที่ห้างสรรพสินค้า

ซึ่งคุณฐนสรณ์มองว่าภาคเอกชนน่าจะมีส่วนช่วยให้การสร้างพื้นที่ เช่น ที่ร้านกาแฟ กลายเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักเรียนได้

ขณะที่อดีตนายกฯ เอสโตเนีย ได้อธิบายถึงของความสำคัญของการศึกษา โดยระบุว่าเอสโตเนียได้ลงทุนขนาดใหญ่ หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 26 ปีที่แล้วที่เอสโตเนียได้รับอิสรภาพ ก็ตัดสินใจลงทุนด้านการศึกษา เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนจะมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี ทั้งๆ ที่การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนต้องใช้ DOS เพื่อสร้างแฟ้มด้วยซ้ำไป

ซึ่ง Paul ก็มองว่าการเรียนรู้เปรียบเสมือนการสร้างโครงสร้างเลโก้ ชิ้นส่วนของตัวต่อและการเรียนการสอนสามารถส่งเสริมให้ได้ แต่ในที่สุดก็จะขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเองที่จะใส่อิฐตัวไหนและจะสร้างขึ้นมามันเป็นรูปแบบไหน

รัฐบาลสามารถทำอะไรได้บ้าง?

Taavi เน้นว่าความต้องการให้รัฐบาลจะต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและตรากฎหมายแบบไร้กระดาษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของประเทศ โดยยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่ระบบดิจิทัล โดยเฉพาะสำหรับประเทศที่ขาดแคลนการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลของประเทศนั้นๆ ต่างให้ความสนใจอยู่ ซึ่งประเทศเหล่านั้นจำเป็นต้องเข้าใจถึงปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น Gig Economy และ ICO

ในขณะเดียวกัน Paul ย้ำว่าบทบาทของรัฐบาลไม่ควรถูกจำกัดว่าเป็นแค่ "แหล่งเงินทุน" เพียงอย่างเดียว โดยควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับกฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานและกฎหมายล้มละลาย เนื่องจากกฎหมายในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถสร้างรายได้ด้วยตนเองได้มากนัก การออกกฎหมายควรเปิดทางให้ผู้ประกอบการสามารถล้มเหลวและไม่ต้องรับภาระจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ การร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลกับเอกชนก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยคุณฐนสรณ์แสดงความเห็นว่ารัฐบาลควรเปิดช่องให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลได้

จึงเป็นการตอกย้ำว่ารัฐบาลจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและตระหนักถึงความต้องการของภาคเอกชนด้วยเช่นกัน

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...