เปิดจดหมาย เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เครือซีพี ตอบจดหมายนายกควัก 700 ล้านสู้โควิด เล็งผุดโครงการเกษตรผสมผสานต้นแบบอย่างยั่งยืน
หลังจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ทำหนังสือลงวันที่ 20 เม.ย.2563 ส่งถึงบรรดามหาเศรษฐีไทยทั้งที่ติดอันดับ 1 ใน 20 พร้อมระบส่งจดหมายหาเจ้าสัวในฐานะที่ท่านเป็นผู้อาวุโสของสังคมผมซาบซึ้งใจที่หลายท่านได้ลงมือช่วยเหลือประชาชนไปแล้วหลายเรื่อง แต่ผมต้องการขอให้ทุกท่านทำเพิ่มเติมโดยใช้ศักยภาพของท่านมาทำให้เกิดการช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องประชาชนคนไทยที่กำลังเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ล่าสุดธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ส่งหนังสือขอความร่วมมือตอบรับนายก โดยมีเนื้อหาดังนี้
ผมถือเป็นหน้าที่ ที่จะต้องทำเพื่อประเทศโดยเฉพาะในยามวิกฤต เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) พร้อมสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่ และขอเป็นกำลังใจให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในการนำประเทศชาติ ก้าวผ่านสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ถือเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงของประเทศและของโลกในครั้งนี้ และขอยกย่องในความเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ถือเป็นนักรบแนวหน้าในการรักษาชีวิตพี่น้องประชาชนไทย ทำให้วันนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลถึงวันที่ 30 เมษายน 2563) นอกจากนี้ ทุกครั้งที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤตในอดีตจนถึงปัจจุบัน จะเห็นความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจของคนไทยจากทุกภาคส่วน ออกมาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเสมอมา เช่นเดียวกับวิกฤตในครั้งนี้ ที่จะเห็นได้ว่า ทุกภาคส่วนได้ออกมาร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่ของตนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของคนไทยอย่างดีมาโดยตลอด พร้อมทั้งเสนอสิ่งที่ผมและเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ดำเนินการแล้ว รวมยอดกว่า 700 ล้านบาท พร้อมเสนอโครงการที่จะดำเนินการในระยะต่อไป
นอกจากนี้ เจ้าสัวธนินท์ ยังระบุว่า ในระยะต่อไป สิ่งที่ประเทศไทยควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การเตรียมการเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องรักษาความเชื่อมั่น และประคองระบบสังคม วิถีชีวิต ให้สามารถดำรงอยู่ได้ ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต้องไม่ล้มหายตายจากไป และ ยังรักษาการจ้างงาน พี่น้องประชาชน จะยังคงมีรายได้เลี้ยงชีพอาชีพอิสระ อาชีพรับจ้าง เกษตรกร หรือแม้กระทั่งคนว่างงาน จะยังคงมีรายได้เพียงพอในการยังชีพ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ ในยามที่ฟ้ามืด ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อยามฟ้าสว่าง นั่นคือ การเตรียมแผนฟื้นฟูประเทศไทยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และหากมองวิกฤตนี้เป็นโอกาส และ ประเทศไทย กล้าตั้งเป้าหมายให้ “ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก” ทั้งด้านการค้า การลงทุน การเงิน และเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว
นอกจากนี้ยังชี้ความสำคัญของ สินค้าเกษตรถือเป็นทรัพย์สมบัติอันมีค่าของประเทศ เกษตรกรถือเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตของประเทศมาช้านาน ภาคการเกษตรมีความสำคัญครอบคลุมประชากรถึง 9 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 40% ของประชากรประเทศไทย มีการจ้างงานกว่า 30% ของกำลังแรงงาน และมีพื้นที่ดินทำกินกว่า 40% ของพื้นที่ทั่วประเทศ โดยแม้ว่าภาคการเกษตรจะสำคัญ แต่ปัจจุบันภาคเกษตรกลับมีสัดส่วนในจีดีพีของประเทศไทยเพียง 10% และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน มีหนี้สินล้นพ้นตัว และยังคงทำการเกษตรในรูปแบบดั้งเดิม ผลผลิตต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง ขาดความรู้ ขาดการบริหารจัดการ ขาดการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ขาดการเข้าถึงแหล่งทุน และขาดตลาด รวมไปถึงการแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรด้วย
อีกทั้ง ภาคการเกษตรยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงและความท้าทาย อาทิเช่น (1) ภัยแล้ง (2) ภัยโรคระบาด (3) ราคาที่ผันผวน (4) เกษตรกรเข้าสู่ภาวะสูงวัย (5) คนรุ่นใหม่ไม่มาทำการเกษตร (6) ที่ดินแปลงเล็ก (7) การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ภาคการเกษตรของประเทศไทย เกิดการปรับตัว ให้เข้มแข็ง แข่งขันได้ และทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีหลายมาตรการที่น่าจะต้องทำได้แก่
จะทำให้เกษตรกรมีรายได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพิ่มแรงจูงใจในการทำเกษตรเชิงคุณภาพมากกว่าการทำเกษตรในเชิงปริมาณแบบปัจจุบัน
ส่งเสริมการผลิตสินค้าคุณภาพด้วยเทคโนโลยีและงานวิจัย : ปรับเปลี่ยนจากการเกษตรแบบใช้แรงงานมาเป็นการใช้เครื่องจักร เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ใช้เครื่องทุ่นแรง ลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว รวมถึงการใช้การวิจัยและพัฒนาในภาคการเกษตร
น้ำถือเป็นหัวใจหลักของการเกษตร การเพิ่มพื้นที่ระบบชลประทานรวมถึงการจัดระบบการบริหารจัดการ จะทำให้เกิดผลิตภาพและผลิตผล รวมถึงทางเลือกที่หลากหลายในการผลิตภาคการเกษตรมากยิ่งขึ้น
การวางแผนจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ การคัดเลือกพื้นที่ให้มีความเหมาะสม ขนาดของพื้นที่ จำนวนเกษตรกรที่จะเข้าร่วม ชนิดพืชที่จะเพาะปลูก ความรู้การบริหารจัดการ การเก็บเกี่ยว
การขนส่ง การแปรสภาพเพิ่มมูลค่า รวมถึงการจัดจำหน่าย อาจจะแบ่งเป็นกลุ่มคลัสเตอร์ในแต่ละพื่นที่ไป
วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ ศึกษาพืชจากเดิมที่มูลค่าต่ำมาเป็นพืชมูลค่าสูงที่เป็นที่ต้องการ
ของตลาด เช่น ผลไม้ ผัก เป็นต้น
จะเป็นเรื่องสำคัญของการผลิตอาหาร จะต้องรู้ว่าการเพาะปลูกปลูกที่ไหน ปลูกอย่างไร มีการปนเปื้อนหรือไม่ รวมถึงการผลิตนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
การปรับเปลี่ยนจากการขายสินค้าเกษตรแบบเดิม ให้มีรูปแบบการแปรรูปเพิ่มมูลค่า โดยส่งเสริมให้เกษตรหรือรวมกลุ่มดำเนินในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชน หรือองค์กร ที่สามารถแข่งขันในตลาดได้
อย่างไรก็ดี โจทย์ใหญ่ในการแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร เครือซีพีได้เตรียมนำองค์ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้ทำให้เกิดขึ้นจริงในหลายประเทศ เตรียมวางแผนที่จะเปิดตัว โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนต้นแบบเพื่อยกระดับรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรให้มีรายได้อย่างพอเพียง โดยใช้ภาคการเกษตรเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ในรูปแบบ "4 ประสาน" หรือ "Four in One" ซึ่งเป็นรูปแบบความร่วมมือ 4 ฝ่าย ได้แก่ รัฐบาล บริษัทเอกชน สถาบันการเงิน และเกษตรกร เพื่อรองรับการพัฒนาเกษตรกรรมทันสมัย ยกระดับรายได้และพลิกชีวิตความเป็นอยู่เกษตรกรในพื้นที่ต้นแบบ โดยจะคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบใน 3-4 จังหวัด โดยอาศัยหลักการ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อสร้างความแข็งแกร่งแก่เศรษฐกิจฐานราก สร้างความมั่นคงทางอาหาร และความปลอดภัยในอาหารในระยะยาวให้กับประเทศไทย
ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ดำเนินโครงการเกษตรกรรมทันสมัย เพื่อเป็นต้นแบบการเรียนรู้เพื่อยกระดับเกษตรกรอย่างยั่งยืน หลายโครงการ อาทิ โครงการเกษตรกรรมหนองหว้า อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เติบโตกลายเป็นตัวอย่างชุมชนที่ประสบความสำเร็จ เกษตรกรมีความเข้มแข็งสามารถเลี้ยงชีพได้ด้วยตัวเองในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีโครงการ ไก่ไข่ครบวงจร 3 ล้านตัวที่ผิงกู่ นครปักกิ่งโครงการไก่เนื้อ 100 ล้านตัวต่อปี หมู 1 ล้านตัวต่อปี รวมถึงโครงการเกษตรกรรมทันสมัยฉือซี พัฒนาพื้นที่ 8,000 ไร่ มณฑลเจ้อเจียง ให้เป็นเกษตรผสมผสานแบบทันสมัยครบวงจรที่อยู่ใกล้เมือง โดยให้ทุกอย่างอยู่ในจุดเดียวกัน ครบทั้งด้านพืชผักและปศุสัตว์ เป็นต้น ทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนต้นแบบเพื่อยกระดับรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรไทย
ทั้งนี้คุณธนินท์ทิ้งท้ายทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลได้ออกหลายมาตรการที่ดี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในภาวะวิกฤตโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่องและเห็นผล จึงถือได้ว่า โครงการที่เสนอมานี้เป็นเพียงส่วนเสริม ในการบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชน นอกจากนี้ ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในเอกสารฉบับนี้ เป็นมุมมองของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งอยู่ที่ภาครัฐจะเลือกนำไปใช้ตามความเหมาะสม หากมีคำแนะนำสิ่งใดที่ควรทำเพิ่มเติม เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนต่อไป
Sign in to read unlimited free articles