ย้อนรอย 10 ดีลใหญ่กับการลงทุนโดย Tencent ก่อนเตรียมรุกหนักในปี 2017! | Techsauce

ย้อนรอย 10 ดีลใหญ่กับการลงทุนโดย Tencent ก่อนเตรียมรุกหนักในปี 2017!

Tencent บริษัทด้าน Social Media และยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเกมส์ของจีน ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิด WeChat  กำลังเป็นบริษัทจีนที่ได้รับการจับตาอย่างมากในตลาดไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นอกเหนือจาก Alibaba โดยปีก่อนหน้ามีการลงทุนในบริษัท startup ไปหลายราย

หลังจากการประกาศทิศทางของ Tencent Thailand ไปเมื่อปลายปีก่อน ในการวางแผนเป็นผู้นำด้าน Content Platform ที่ใหญ่ที่สุดและพร้อมลงทุนใน Startup ไทยด้วยนั้น เรามาย้อนรอยดูกันว่าในช่วงที่ผ่านมามีดีลใหญ่ๆ ดีลไหนที่ Tencent ลงทุนไปบ้าง เผื่อผุดไอเดียให้ Startup อยากไป pitch กับนักลงทุนกลุ่มนี้บ้าง :)

#10: Renrenche

ระดับของการระดมทุน: 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในรอบล่าสุด โดย Tencent ลงทุนเป็น Lead Investor ในรอบ Series C เมื่อปี 2015 ด้วยเงินลงทุนในครั้งนั้นคือ 85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ประเทศ: จีน Renrenche นั้นเป็นแอปพลิเคชั่นซื้อขายรถยนต์มือสองแบบ Peer-to-Peer

ภาพจาก: [email protected]

"ในระบบเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาแล้ว ยอดขายรถยนต์มือสองมีจำนวนมากกว่ารถใหม่ประมาณ 2 ต่อ 1 เท่า แต่กับจีนนั้นกลับตรงกันข้าม ตลาดจีนกลับเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของโลกสำหรับรถใหม่" ตามรายงานจาก Financial Times ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

Renrenche เป็นหนึ่งในจำนวนของธุรกิจ Startup และเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่กำลังผลักดันให้การขายรถยนต์มือสองแบบ Peer-to-Peer นั้นเติบโตในจีน

#9: iCarbonX

ระดับของการระดมทุน: 155 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในรอบล่าสุด

ประเทศ: จีน

นี่คือ Biotech Startup เชื้อสายจีนที่มีมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่มีการก่อตั้งขึ้น!

บริษัทนี้ก่อตั้งโดย Wang Jun ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเป็น CEO ของ Beijing Genomics Institude บริษัทด้าน Gene-Sequencing ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เขาเริ่ม iCarbonX กับความคิดของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และ Big Data ในการสร้างโซลูชั่นการจัดการสุขภาพและหานวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์โดยใช้ทีมงานที่ผสมผสานระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและ AI/Big Data เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการซื้อบริษัทด้าน AI ในอิสราเอลมาเสริมทัพอีกด้วย

#8: Hike

ระดับของการระดมทุน: 175 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ประเทศ: อินเดีย

แม้ว่า Facebook และลูกบุญธรรมอย่าง WhatsApp จะครองตลาดในอินเดีย แต่ยังคงมีความพยายามจาก Startup ในประเทศให้เห็น

hike

Kavin Bharti Mittal จาก Hike ซึ่งเป็นบุตรชายของมหาเศรษฐีเจ้าของ Telco Baron อย่าง Sunil Bharti Mittal เคยกล่าวว่าอินเดียต้องการสิ่งที่มีความคล่องตัวและเหมาะสมกับวิธีการที่ผู้คนในอินเดียใช้โทรศัพท์ ดังนั้นแอปพลิเคชั่นส่งข้อความบางส่วนมีการใช้ SMS อย่างไรก็ตามเมื่อทุกยุคที่สมาร์ทโฟนรุ่งเรือง Hike ก็มีการปรับตัวเพิ่มความสามารถอย่างวีดีโอ และมีฟิลเตอร์ที่สามารถใส่ได้ขณะใช้งานเหมือนใน Snapchat แม้ Kavin จะเป็นลูกมหาเศรษฐีแต่ก็มีการระดมทุนจากนักลงทุนภายนอกทั้ง Tencent และ Foxconn อีกด้วย

นอกจากการลงทุนใน Hike แล้ว ทาง Tencent เองก็มีการลงทุนในแอปพลิเคชันที่ใช้ในการส่งข้อความอื่นๆในอดีตเหมือนกัน อย่างเช่น Kik และ Snap

#7: Douyu TV

ระดับของการระดมทุน: 226 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศ: จีน

screen-shot-2560-01-04-at-12-28-39-am

มีหลายสิบแอปพลิเคชันที่มาในรูปแบบของ Live Gaming Video ของจีนและเป็นที่นิยม ซึ่ง Douyu TV ก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างเช่น Kamcord จาก Silicon Valley (ซึ่ง Tencent ก็ลงทุนไปในปีที่ผ่านมา) ก็มุ่งเน้นไปที่เกมส์บนโทรศัพท์มือถือ และพีซี

#6: WePiao

ระดับของการระดมทุน: 464ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศ: จีน

wepiao

Tencent มีลงทุนใน WePiao ซึ่งเป็น Startup ด้าน Ticketing และเป็นพาร์ทเนอร์สำคัญของทาง WeChat เอง และปัจจุบันบริการ Ticketing ของ WePiao ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในการให้บริการส่วน Wallet Section ของ WeChat ไป ถือเป็นการลงทุนที่เห็นได้ชัดว่านำมาเสริมธุรกิจเดิมที่มีอยู่โดยตรง

 

#5: Bitauto

ระดับของการระดมทุน: 550 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ประเทศ: จีน

อีกหนึ่งเดิมพันของ Tencent ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์คือ Bitauto ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับข่าวในวงการรถยนต์, listing และ Finance การระดมทุนครั้งล่าสุดก้อนใหญ่ Bitauto นั้นไม่ได้มีแค่เพียง Tencent แต่รวมถึง Baidu ด้วย ซึ่งเงินดังกล่าวเน้นไปลงที่ Yixin Capital ซึ่งให้บริการด้าน Finance รถยนต์ของทาง Bitauto 

มุ่งที่จะเพิ่มผลกำไรให้ Bitauto ในด้านบริการทางการเงินทุน Yixin

#4: Lianjia

ระดับของการระดมทุน: 926 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศ: จีน

Lianjia ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2001 เป็น Agency Service Provider ด้านอสังหาริมทรัพย์ท่ีเชื่อมโยงห่วงโซ่ด้านนี้ไว้ได้ใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ไว้ด้วยกัน (O2O)

lianjia

 

มันเป็นธุรกิจดาวรุ่ง Unicorn ตัวใหม่ของเอเชียที่มีมูลค่า 6.2 พันล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว 

#3: China Internet Plus

ระดับของการระดมทุน: 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศ: จีน

ชื่อธุรกิจนี้เป็นผลมาจากการควบรวมกิจการในปี 2015 ที่นำ 2 เว็บไซด์ของจีนที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง Dianping และ Meituan มารวมกัน โดยที่ทั้งสองแบรนด์ยังคงทำงานกันอย่างอิสระ และเป็นหนึ่งในดีลใหญ่ที่ถูกกล่าวถึงว่าสูงถึง 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ นำโดย Tencent และนักลงทุนรายอื่นๆ รวมทั้ง Temasek Holdings ด้วย

#2: Didi ChuXing

ระดับของการระดมทุน (ทั้งหมด): 7.44 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศ: จีน

didi

เมื่อเดือนสิงหาคม Didi ChuXing ทำให้โลกตะลึง เมื่อเข้าซื้อธุรกิจ Uber ของจีนไปได้  แถมตัวเองยังไปลงทุนใน Lyft คู่แข่งของ Uber ที่สหรัฐฯ อีก ถือเป็นสงครามอันดุเดือดที่ถูกกล่าวถึงในหลายสื่อมากมาย ในขณะที่ Tencent ก็มีการลงทุนในบริษัทนี้ด้วยในช่วงที่เป็น Private Equity และ Series D ไม่ใช่แค่นั้นใครๆ ก็สนใจ Didi ทั้ง Apple, Ant Financial, Alibaba, Foxconn ก็มากันหมด

 

#1: Supercell

ระดับของการระดมทุน: 8.6พันล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศ: ฟินแลนด์

ข้อตกลงแบบ Supersize ของ Supercell ล้มราชาในวงการเกมส์ของจีนโดยซื้อ Finnish studio ผู้อยู่เบื้องหลังเกม Clash of Clans และ Clash Royale จาก Softbank นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของ League of Legends  และมีสัดส่วนการถือหุ้นใน Epic Games ซึ่งเป็นทีมที่อยู่เบื้องหลังเกม Gears of War

============================================================================

จากข้อมูลของ TechinAsia กล่าวยืนยันว่า Tencent มีการลงทุนใน Startup มากกว่า Alibaba อยู่ที่ 46 ราย มากกว่า Alibaba ซึ่งมี 16 ราย ส่วนใหญ่ที่เห็นกันใน 10 อันดับนี้หลักๆ หนีไม่พ้นธุรกิจด้านคอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ อย่างเกม และเจาะภาคธุรกิจแนว Vertical อย่างรถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจที่เสริมธุรกิจตัวเองเดิมอย่างระบบ Ticketing หรือธุรกิจที่เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้จำนวนมากอย่าง Messaging App ในอินเดียที่ก็ไม่แน่ว่าต่อไปจะมีอะไรเชื่อมโยงกับ Wechat และธุรกิจอนาคตอย่าง BioTech

 

อ้างอิงข้อมูลจาก techinasia, Crunchbase, CBInsights และ Technode

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...