หลายๆ องค์กรที่มีวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม และไม่หยุดอยู่กับความสำเร็จในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับจัดการแข่งขัน Hackathon เพื่อปลุกไอเดียใหม่ๆ ภายในระยะเวลาอันสั้น โดยกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มให้พลังงานกระทิงแดง (Red Bull) เรดดี้ สปอนเซอร์ แมนซั่ม และเพียวริคุ รวมทั้งแบรนด์ขนมขบเคี้ยวซันสแนค ก็ได้โยนโจทย์ “Kill the Bull” เพื่อให้คนรุ่นใหม่คิดค้นไอเดียในการ Disrupt กระทิงแดง
TCP Incubator เป็นโครงการบ่มเพาะธุรกิจที่ตั้งขึ้นมาในกลุ่มธุรกิจ TCP โดยมีรูปแบบการทำงานแบบ Startup และมุ่งคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนองค์กร อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้ามาร่วมสร้างนวัตกรรมกับกลุ่มธุรกิจ TCP ด้วย โดยมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรม 7 กลุ่ม ต่อไปนี้
- ผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ
- การตลาดและ AdTech
- E-commerce และค้าปลีก
- โมเดลธุรกิจแบบ Disruptive
- การผลิตและบรรจุภัณฑ์
- ข้อมูลผู้บริโภคและการตลาด
- ไอเดียอื่นๆ
การแข่งขัน Hackathon ก็เป็นที่เห็นกันมากในช่วงหลังมานี้ เพราะเป็นโครงการที่สร้างประสบการณ์ กระตุ้นให้เกิดการคิดไอเดียใหม่ๆ โดย TCP Incubator Hack Days – Winter 2019 “Kill the Bull” เป็นโครงการที่กลุ่มธุรกิจ TCP จัดขึ้นร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย HUBBA Thailand และ Techsauce โดยเปิดเวทีให้คนรุ่นใหม่ นิสิตจุฬา รวมทั้งคนในองค์กรของ TCP เข้ามาร่วมกันประชันไอเดีย คิดและสร้างนวัตกรรมอย่างท้าทายในการทำธุรกิจภายใต้กระแส disruption ในวงการอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีโจทย์หลักคือ “Kill the Bull” หรือการ disrupt “กระทิงแดง” แบรนด์เครื่องดื่มให้พลังงานระดับโลกของกลุ่มธุรกิจ TCP นั่นเอง
เมื่อผู้ร่วมงานประกอบไปด้วยนิสิต รวมทั้งคนในองค์กรของ TCP ซึ่งเป็นการผนวกคนวัยเรียนและวัยทำงานมาสร้างนวัตกรรม ร่วมกัน จึงเกิดการแลกเปลี่ยนไอเดียที่ไม่ธรรมดาจริงๆ
TCP Incubator Hack Days Winter 2019 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ในระยะเวลา 2 วัน 3 คืน เริ่มตั้งแต่การจับกลุ่ม คิดไอเดีย นำเสนอ และการ Pitching โดยมีคณะกรรมการอย่างคุณธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย, คุณปารดา ทรัพย์ประเสริฐ จาก 500 tuktuk, คุณดนุพล วังษา ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร แผนกกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ TCP รวมทั้งยังมี คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP มานั่งตัดสินเอง สำหรับผู้ชนะในครั้งนี้ก็คือทีม A Drink A Day กับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทดแทนอาหารเช้าที่ให้สารอาหารตามที่ร่างกายต้องการ
ทีม A Drink A Day ประกอบด้วย 4 สมาชิก เป็นพนักงานกลุ่มธุรกิจ TCP และนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คือ ฐปพรรษ อินโต (เอิ๊ก), เมธาพร วงศ์อุ่น (เม), ศตวรรษ หาดอ้าน (เพชร) และพรพรรณ วิชาชัย (เน็ท)
โดยคุณเอิ๊กได้เล่าให้ฟังว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้คิดค้นขึ้นมานี้ ได้ไอเดียจากปัญหาการนั่งฟังสัมมนา แล้วไม่ได้ทานอาหารเช้า ซึ่งคิดว่าเรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นกับแค่ตัวเอง แต่ยังรวมถึงทุกๆคน ไม่ว่าจะวัยเรียนหรือทำงาน ก็มักมีปัญหากับอาหารในตอนเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญ จึงได้คิดผลิตภัณฑ์ที่จะตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้
คุณเอิ๊กเล่าต่อว่า ที่ผ่านไม่เคยเข้าร่วมโครงการลักษณะนี้มาก่อน ซึ่งสิ่งสำคัญที่ได้รับนอกจากความรู้ คือคำแนะนำจากผู้ใหญ่ทุกๆท่านที่มา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผลักดันให้อยากคิดค้นและพัฒนาไอเดียต่อไป ด้านคุณเพชรเผยว่า เพียงแค่ระยะเวลา 3 วันที่ได้เข้าร่วมโครงการ ได้ความรู้เรื่องธุรกิจ Startup จากเพื่อนๆ ในอาชีพและวิชาที่ต่างกัน ทำให้มองภาพรวมของธุรกิจได้กว้างขึ้น สามารถประยุกต์ใช้ในการมองภาพรวมจองธุรกิจที่เราสนใจ และการวางแผนในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการตั้งทีมขึ้นมาให้ธุรกิจนั้นบรรลุเป้าหมายที่เราตั้งใจ “ผมอยากให้ทุกคนที่สนใจในการประกอบธุรกิจมาเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้เพราะผมเชื่อว่าจะสิ่งทำให้คุณได้รับประโยชน์และดึงศักยภาพในตัวเองออกมาได้อย่างมาก” คุณเพชรกล่าว
ด้านคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP ได้ให้ความเห็นว่า ประทับใจที่ได้เห็นไอเดียซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อคนสองกลุ่มที่ไม่เคยพบกันมาก่อนมาร่วมมือกัน พร้อมทั้งยังให้คำแนะนำกับทุกคน 2 ข้อ
• มองปัญหาให้ชัด: โดยต้องรู้ว่าปัญหาคืออะไร สิ่งที่คิดนั้นใช่ปัญหาจริงๆหรือไม่ อาจไม่ใช่แค่ปัญหาของตัวเรา แต่คือปัญหาของทุกคน ซึ่งเมื่อเห็นปัญหาก็จะเกิด Product ในลำดับถัดไป
• Product ต้องชัด: เมื่อเรามองเห็นปัญหาที่เป็นปัญหาจริงๆได้อย่างชัดเจน ตัว Product ที่มาแก้ปัญหาก็จะชัดตามไปด้วย โดยเราต้องรู้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราคืออะไร ทำไมจึงต้องมีผลิตภัณฑ์นี้ แล้วตอบโจทย์ที่เกิดขึ้นจริงๆ หรือไม่
• การนำเสนอต้องครบและกระชับ: โดยคุณสราวุฒิได้เปรียบเทียบการ Present งานว่า การจะนำเสนอไอเดียกับหัวหน้าหรือผู้บริหารระดับสูงไม่เรื่องง่าย แต่เราอาจเจอคนเหล่านี้ตอนขึ้นลิฟต์หรือจังหวะสั้นๆ ดังนั้นให้ลองคิดว่าหากเรามีเวลาเพียงแค่ 1 นาที จะสามารถพูดอะไรเพื่อให้ไอเดียของเรานั้นสื่อสารออกไปได้อย่างครบถ้วน
ทั้งนี้คุณสราวุฒิยังให้คำแนะนำเพิ่มเติมถึงคนรุ่นใหม่ที่ต้องการคิดนวัตกรรมว่า การทำการบ้านให้ดีเป็นเรื่องสำคัญ จากนั้นก็ลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาทดลองกับคนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งในยุคนี้สะดวกมาก ด้วยช่องทางขายแบบออนไลน์ เมื่อเห็น demand แล้วจึงค่อย scale ต่อ
แม้จะเป็นกิจกรรมในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็ได้เห็นไอเดียมากมายจากคนรุ่นใหม่ ซึ่งสิ่งสำคัญของ Hackathon คงไม่ใช่เพียงแค่การหาไอเดีย แต่คือการได้ระดมความคิด แก้ปัญหา ตีโจทย์ในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่ง กลุ่มธุรกิจ TCP มีมุมมองว่าโครงการแบบนี้ไม่ใช่เกิดครั้งเดียวแล้วจบ แต่ต้องสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีส่วนช่วยปลุกไอเดียของคนในองค์กร กระตุ้นการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป
บทความนี้เป็น Advertorial
Sign in to read unlimited free articles