Digital Transformation ที่ไต้หวันใช้จัดการ COVID-19 ผ่าน 3F - FAST FAIR FUN โดย Audrey Tang | Techsauce

Digital Transformation ที่ไต้หวันใช้จัดการ COVID-19 ผ่าน 3F - FAST FAIR FUN โดย Audrey Tang

ไต้หวัน หนึ่งในการปกครองแบบประชาธิปไตยเสรีนิยมที่ได้ยอมรับจากทั่วโลกว่าสามารถรับมือกับการระบาดของโคโรนาไวรัสได้อย่างดีเยี่ยม โดยไม่ต้องมีการ lock-down พวกเขาทำอย่างไร หาคำตอบกับ Audrey Tang รัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวันในงาน Techsauce Virtual Summit 2020 ซึ่งเป็น Session ไฮไลท์ที่เราสรุปมาให้ผู้อ่าน Techsauce

เชื่อมั่นและเชื่อมั่น การจัดการ COVID-19 ในไต้หวันเป็นไปโดยง่ายเพราะ

  1. สังคมเชื่อมั่นในรัฐบาลมากพอ และกล้าที่จะพูดคุยถึงเรื่องความเป็นไปได้ในการเกิดโรคระบาดครั้งใหม่ในเวทีสาธารณะ
  2. รัฐบาลเชื่อมั่นในสังคมมากพอในการที่สังคมจะร่วมมือกันเพื่อช่วยจัดการปัญหาอย่างจริงจัง

Digital Transformation ช่วง COVID-19 กับปัจจัยหลัก 3 ประการคือ 3F - FAST FAIR FUN

FAST (รวดเร็ว): 

  • รวดเร็วต่อการเผยแพร่และรับข้อมูลจากประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยเทคโนโลยีง่ายๆ เช่น โทรศัพท์สายด่วน อินเทอร์เน็ต 
  • ส่งทีมแพทย์ไปอู่ฮั่นเพื่อติดตามโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ
  • ประกาศแจ้งเตือนสภาวะการระบาดให้ประชาชนรับรู้ทันทีโดยไม่รอการยืนยันจาก WHO
  • อัพเดทจำนวนหน้ากากอนามัยที่ร้านขายยา ทุกๆ 30 วินาที 
  • ประชาชนสามารถเสนอไอเดียที่ดีต่อรัฐบาลเพื่อให้เกิดการบอกต่อในสังคมเป็นวงกว้าง กล่าวคือ เกิดกลไกของนวัตกรรมทางสังคม

FAIR (เป็นธรรม): 

  • ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ใช้บัตรประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ NHI มารับหน้ากากอนามัยที่ร้านขายยาใกล้บ้าน 
  • ขั้นตอนโปร่งใส สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทั่วถึงโดยที่ประชาชนไร้ภาระค่าใช้จ่าย
  • ประชาชนสามารถโทรแจ้งความผิดปกติของระบบสต็อกและการแจกหน้ากากของร้านขายยาแต่ละสาขาได้ตลอดเวลา 
  • ผู้ใหญ่ได้รับหน้ากากคนละ 9 ชิ้น เด็กคนละ 10 ชิ้น 
  • กรณีที่ไม่สะดวกในเวลาทำการของร้านขายยา ประชาชนสามารถสั่งจองล่วงหน้า เพื่อรับหน้ากากอนามัยจากร้านสะดวกซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

FUN (สนุก): 

  • ใช้เรื่องราวขำขัน ใช้มีม มุกตลกจากข้อความของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสุนัข ในการเสนอข้อมูลที่ถูกต้องบนโซเชียลมีเดียเพื่อเข้าถึงประชาชนหมู่มาก 
  • ความตลกที่เกิดขึ้นสามารถเอาชนะข่าวลือที่บิดเบือนความจริงที่ทำให้ประชาชนหวาดหวั่น

Rough Consensus พลังของความเห็นพ้องต้องกันโดยคนหมู่มาก

  • ไต้หวันได้นำมติเสียงและความเห็นของประชาชนหมู่มาก มาประกอบการตัดสินใจใช้วิธีจัดการโควิดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
  • การจัดตั้ง CECC หรือศูนย์บัญชาการโรคระบาดและมาตรการดิจิทัลอื่นๆ ได้รับการยอมรับกว่า 94% เพราะประชาชนเข้าใจว่าสังคมกำลังต้องการสิ่งใด

การร่วมมือกันระหว่างรัฐมนตรี 

  • รัฐมนตรีที่ชื่อเฉินทั้ง 3 ท่านของไต้หวัน เป็นทั้งผู้สอนเรื่องระบาดวิทยา ผู้แถลงข่าวข้อมูลด้านสาธารณสุข และเป็นหัวหน้าความปลอดภัยข้อมูลทางไซเบอร์
  • Audrey ดูแลภาษา JavaScrip เธอเป็นผู้แปลไอเดียมาเป็นระบบการทำงาน เพื่อให้คนในสังคมมีส่วนร่วมในการเข้าถึงและบอกต่อข้อมูล เธอมีความเข้าใจในโค้ดทั้งหมดเพื่อจะบอกได้ว่าส่วนไหนมีการละเมิดหรือรุกล้ำความเป็นส่วนตัว หรือเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์ 

Coronavirus Hackathon หรือ Cohack ต้นแบบของ Taiwan Model

  • Cohack คือความร่วมมือทาง Digital Platform ระหว่างไต้หวันและสหรัฐอเมริกา
  • Cohack ขับเคลื่อนแบบ data-driven เน้นเรื่องความโปร่งใส และพัฒนาในเรื่องของเทคโนโลยีที่เสริมการป้องกันข้อมูล
  • Cohack ประกอบด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น การเข้าถึงทรัพยากรบุคคลในระดับชุมชน การป้องกันกลุ่มเสี่ยง การคาดการณ์การระบาดในอนาคต 
  • Cohack ใช้เทคโนโลยีในเรื่องหลักๆ เช่น การควบคุมการเดินทาง การใช้ชุดเครื่องมือทดสอบในการตรวจโรค 

อิสระจากประชาธิปไตยเสรี ทำให้ไม่มีการ lockdown

  • การสอนประชาชนเรื่องระบาดวิทยา  การที่ประชาชนเคร่งครัดในการดูแลสุขอนามัย และป้องกันตนเอง ทำให้มาตรการ lockdown ไม่จำเป็นในไต้หวัน
  • ประชาธิปไตยเสรีนิยมมีข้อดีตรงที่ทุกคนได้เรียนรู้ และทุกคนมีส่วนร่วมทำให้สังคมดีขึ้น

การบรรเทาโรคระบาด ไม่ใช่แค่หน้าที่ของรัฐมนตรี แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน

  • รองประธานาธิบดีสอนเรื่องของระบาดวิทยา บนเว็บไซต์ taiwancanhelp.us ดัวยตัวเอง
  • นักแสดงตลกได้รับมอบหมายตำแหน่งโฆษกในช่วงโควิด
  • Youtuber มีอิทธิพลต่อการนำเสนอเรื่องราวของ Taiwan Model
  • ประชาชนสามารถใช้แอปพลิเคชันในการสละสิทธิ์โควตาหรือบริจาคหน้ากากอนามัยให้นานาประเทศ

การแก้ปัญหาร่วมกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

แต่ละประเทศ แต่ละเศรษฐกิจต้องแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงหาทางออก

  • ระดับภูมิภาค เช่น มาตรการ Travel Bubble หรือการทำข้อตกลงด้านการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างประเทศที่มีความพร้อมในการเปิดประเทศพื่อรับนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศนั้นๆโดยเฉพาะ
  • ระดับโลก คือยึดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

คำแนะนำต่อการเข้าถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน

  1. วอนให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เมื่อได้รับความเห็นที่ขัดแย้งกัน
  2. ขับเคลื่อนสังคม โดยกลุ่มประชาชนช่วยกันดูแลซึ่งกันและกัน เช่น การรักษาสุขอนามัย การรักษาระยะห่าง 
  3. บอกต่อไอเดียที่ดีเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง ถ้าหากไอเดียดี ๆ ของคนใดคนหนึ่งกลายเป็นกระแสในสังคม ไวรัสโคโรนาก็จะไม่กลายเป็นกระแสหลักในสังคม

Privacy and Health Security - ความเป็นส่วนตัวและเรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพ

  1.  เก็บข้อมูลให้น้อยที่สุด 

  • รัฐบาลได้เก็บข้อมูลดิจิทัลที่อยู่ในขอบเขตเฉพาะของการใช้โทรศัพท์และคลื่นจากหอรับส่งสัญญาณ ซึ่งประชาชนรับรู้ถึงขอบเขตนี้ดี
  • CECC หรือศูนย์บัญชาการโรคระบาดของไต้หวันจะไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้ และจะเผยแพร่ประวัติการเดินทางของบุคคล เฉพาะในกรณีที่การติดตามแบบธรรมดาใช้ไม่ได้เท่านั้น
  1. บุคลากรทางการแพทย์ในฐานะผู้ให้ความเชื่อมั่น

  • เมื่อประชาชนรู้ตัวเองว่าได้ติดต่อสัมผัสกับใคร หรือมีความเสี่ยงในการกักตัวเองหรือไม่ พวกเขาไม่จำเป็นต้องเผยแพร่ข้อมูลการเดินทาง เพื่อป้องกันการรุกล้ำความเป็นส่วนตัว 
  • ผู้ที่มีอาการหรือมีไข้อาจกลัวที่จะไปคลินิก กลัวที่จะต้องบอกอาการกับแพทย์ ดังนั้นข้อมูลสำคัญจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้ ซึ่งความสามารถทางการแพทย์มีประสิทธิภาพพอในการตอบรับความเชื่อมั่นของประชาชน 

Privacy and Safety ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล

รัฐบาลไม่มีการบังคับ หรือใช้อุปกรณ์ติดตามประชาชนตลอดเวลา เพราะประชาชนให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังและตักเตือนกันเอง สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่การใช้อำนาจรัฐเพื่อควบคุมข้อมูล แต่เป็นการสร้างความโปร่งใส ให้อำนาจกับสังคมท่ามกลางความเชื่อมั่นจากประชาชน

Collective Intelligence หากเกิดการระบาดครั้งใหม่ในอนาคต

วิธีที่จะป้องกันการระบาดครั้งต่อไปคือความฉลาดที่เกิดจากการรวมกลุ่มกัน นั่นคือการสังเกตและการมีเสรีภาพ เมื่อมีคนเริ่มสังเกตเห็นถึงความผิดปกติ และคนคนนั้นมีเสรีภาพในการพูด รวมทั้งไม่มีการปิดบังหรือขัดขวางการกระจายข่าว การระบาดของโรคก็จะไม่ขยายลุกลามออกไป เหมือนดังกรณีที่ไต้หวันเป็นอยู่

สำหรับงาน Techsauce Virtual summit 2020 ดูรายละเอียดได้ที่ https://virtualsummit.techsauce.co/ 

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...