มุมมองการใช้ Data Solutions และ Automation เพื่อยกระดับธุรกิจให้แข่งขันได้ในยุคดิจิทัลกับ STelligence ผู้ช่วยขับเคลื่อนองค์กร | Techsauce

มุมมองการใช้ Data Solutions และ Automation เพื่อยกระดับธุรกิจให้แข่งขันได้ในยุคดิจิทัลกับ STelligence ผู้ช่วยขับเคลื่อนองค์กร


การใช้ข้อมูลมีความสำคัญกับธุรกิจแทบทุกประเภท ประโยชน์หลักคือช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เช่น ธุรกิจ Financial, Retail หรือ Telecom ที่มีฐานลูกค้ามากมาย หรือธุรกิจประเภท B2B ด้าน Oil&Gas หรือ Manufactoring และธุรกิจบริการ ที่ต้องบริหารจัดการด้านการเงิน ด้านทรัพยากร ด้านคุณภาพ และงบประมาณ ให้สามารถแข่งขันได้ด้วยการใช้ข้อมูล โดยข้อมูลจะเก็บรวบรวมจากระบบ ERP , CRM หรือแม้แต่ Excel ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลต่างๆ ก็สามารถนำมาทำเป็นรายงาน หรือ Dashboard เพื่อประกอบการตัดสินใจได้หลากหลายมิติแบบเรียลไทม์ และต่อยอดไปยังการวิเคราะห์ต่างๆ ได้ทันท่วงที องค์กรจึงควรศึกษาปัญหาทางธุรกิจที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกลงทุนกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม และทีมงานที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีที่มีประสบการณ์และความชำนาญ

ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ Data Analytic และ Digital Transformation อย่าง ดร.สันติสุข ลิ้มปิติเจริญโชติ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด ให้มุมมองว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนตลอดเวลา ปัจจุบันข้อมูลขององค์กรและลูกค้าอยู่ในโลกดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งโควิด-19 เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ อีกทั้งลูกค้ายังสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ 

ในขณะที่องค์กรต้องลงทุนกับระบบไอทีเพื่อเข้าถึงลูกค้า และระบบต่างๆ ในองค์กร เพื่อติดตามการทำงานของทรัพยากร เช่นระบบแอปพลิเคชันหรือระบบสายการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ในการเก็บข้อมูล เพื่อให้บุคคลากรที่ไม่ได้อยู่ ณ สถานที่ทำงาน สามารถทำงานร่วมกับคนที่อยู่ที่สาขาได้ เพื่อให้ระบบ Machine Learning หรือ AI ตัดสินใจแทนมนุษย์มากขึ้น การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลที่ดีจะต้องนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เชื่อมโยง ออกแบบ Data Model และมีการจัดการข้อมูล (Data Management) เพื่อลดความซ้ำซ้อน เพิ่มความน่าเชื่อถือ และเข้าถึงได้ พร้อมให้ผู้บริหารหรือทีมวิเคราะห์สามารถนำไปใช้บริหารจัดการและตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และขยายผลได้

“การมี Big Data จะช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจได้แม่นยำ เป็นการลงทุนการบริหารจัดการต้นทุนได้ตรงจุด”

ดร.สันติสุข กล่าวต่อว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลายองค์กรลงทุนด้าน Big Data เพื่อสร้างระบบข้อมูลให้สนับสนุนพนักงานทุกระบบให้วิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตนเอง เป็นการเปลี่ยนจุดการตัดสินใจแบบรวมศูนย์จากผู้บริหาร ผู้จัดการ มาสู่พนักงานสายปฏิบัติงาน เป็นการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Data-Driven Organization โดยให้พนักงานวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลแผนกอื่นๆ ในองค์กร เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและเห็นภาพรวม เพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้พนักงานเข้าใจและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเติบโตของธุรกิจ

STelligence ช่วยองค์กรขับเคลื่อนด้วยพลังของข้อมูล

ดร.สันติสุข กล่าวต่อว่า ความท้าทายของการเริ่มใช้เทคโนโลยี คือต้องเข้าใจ Pain Point ของตัวเองก่อน ตรงไหนเป็นปัญหาที่ต้องแก้อย่างเร่งด่วน ที่ผ่านมาหลายองค์กรลงทุนกับ Data เป็นจำนวนมาก แต่กลับได้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควร หน้าที่ของ STelligence คือ การเข้าไปทำความเข้าใจปัญหาและดูว่าเทคโนโลยีที่ลูกค้าลงทุนไปแล้วมีอะไรบ้าง คนในองค์กรมีวัฒนธรรมอย่างไร ขั้นตอนการตัดสินใจของแต่ละ BU (Business Unit) เป็นอย่างไร จะต้องเป็นที่ปรึกษาใน 3 เรื่องนี้ เพื่อทำให้ลูกค้าได้เห็นความคุ้มค่าจากการลงทุน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ในเวลาอันสั้น (Quick Win) เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการพัฒนาต่อเนื่อง และสามารถที่จะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นได้เองในระยะยาว เพื่อลดต้นทุนโดยรวมของเทคโนโลยีในระยะยาว 

ซึ่งงานที่ปรึกษาด้านข้อมูลนั้นเหมือนงานที่ปรึกษาทั่วไป คือจะต้องเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ต้องเข้าใจว่าลูกค้ามีปัญหาอะไร ลงทุนเทคโนโลยีอะไรอยู่ทีมงานของลูกค้ามีทักษะอย่างไร เจอความท้าทายอะไร ก็จะทำให้รู้ว่าลูกค้าติดขัดอยู่ในขั้นตอนใด ก่อนจะเสนอโซลูชันเพื่อแก้ไขในระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว เป็นการสนับสนุนลูกค้าแบบครบวงจร (End-to-end) “แต่ละองค์กรมีปัญหาแตกต่างกันไป บางองค์กรลงทุนเทคโนโลยีไปมากมาย แต่ขาดบางส่วนเราก็เข้าไปเติมเต็มให้ แต่บางองค์กรยังไม่เคยเริ่มลงทุนกับเทคโนโลยีก็ต้องพาเขามาเรียนรู้ตั้งแต่สเต็ปแรก”


 “เราเชื่อว่า Big Data จะอยู่กับเราไปอีกนานเพราะมันเป็นแกนหลักที่สำคัญขององค์กร เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันกับองค์กร และสร้างคุณค่าต่างๆ ให้กับประเทศไทยได้”

Data เชื่อมโยงธุรกิจด้วย Automation

เมื่อ Data เป็นแกนกลางของการตัดสินใจ การเชื่อมโยงข้อมูลจากการทำงานในระบบงานที่หลากหลายก็เป็นความท้าทายของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานที่จำเป็นจะต้องบันทึก ค้นหา ตรวจสอบ ขณะเดียวกันการเก็บข้อมูลที่เชื่อมโยงจากแอปพลิเคชันหลายๆ ตัวยังต้องใช้คนจำนวนมากในแผนกต่างๆ เข้ามาจัดการ ซึ่ง STelligence มองเห็นปัญหาของการใช้คนทำงานซ้ำๆ และเป็นงานที่ไม่เกิดคุณค่ากับองค์กรเท่าที่ควร จึงได้มีการคัดเลือกเทคโนโลยี และพัฒนาทีมในการให้บริการระบบ RPA หรือ (Robotic Process Automation) เพื่อแก้ปัญหาการทำงานซ้ำๆ ของคนในองค์กร ช่วยประหยัดเวลา ลดความผิดพลาด ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตรวจสอบได้ เพื่อให้คนในองค์กรสามารถมีเวลาไปพัฒนาตัวเอง ได้เรียนรู้ และได้โอกาสในการทำงานที่มีประโยชน์กับตนเองและบริษัทมากกว่าเดิม 

ดร.สันติสุข กล่าวว่า ความต้องการระบบ RPA มีมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่คนต้องทำงานจากบ้าน ไม่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลตลอด จึงทำให้เกิดความต้องการมากขึ้น ซึ่ง RPA เข้ามาช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดเวลาการทำงานได้ 80-90% และวัดความคุ้มค่าได้อย่างชัดเจน 

“ธุรกิจ RPA เราเติบโตมากกว่า 50% ในทุกๆ ปี ขณะเดียวกันทีมงานก็เติบโตอย่างมาก เราชื่อว่าตลาดนี้ยังมีความต้องการด้านนี้อีกมาก”

Transform องค์กร สร้างจุดเด่น ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า

ถึงแม้ว่า STelligence จะเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่หลากหลาย แต่เทคโนโลยีหนึ่ง จะมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่งอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ ดร.สันติสุข ให้ความสำคัญไม่แพ้การคัดเลือกเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่จะให้บริการลูกค้า คือการพัฒนาและ Transform องค์กร ซึ่งก็คือทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมในองค์กร ที่จะต้องควบคู่ไปกับการสร้างคุณภาพในการให้บริการ เพื่อเป็นผู้ให้บริการครบวงจรมากยิ่งขึ้น ชำนาญหลายด้านมากขึ้น มีความเข้าใจและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ดร.สันติสุข กล่าวว่า การที่บริษัทจะไปถึงจุดนั้นได้จะต้องเริ่มต้นจากการสรรหาบุคลากรที่มี Multi-skill มากขึ้น เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เรียนรู้ได้กว้างขึ้น เพราะไม่ใช่เฉพาะคนที่มีความรู้ด้านไอทีที่จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดี หรือสร้างระบบ RPA ได้ดี เราพบว่ามีพนักงานหลายๆ คนที่จบมาจากสาขาต่างๆ ก็สามารถพัฒนาตนเองให้ทำงานในส่วนงาน Data Solution, RPA หรือ Security ได้เป็นอย่างดี 

ส่วนที่สอง มีระบบการเรียนรู้ การพัฒนาทีมงานที่มีทักษะที่ไม่เหมือนกัน สร้างระบบภายในให้สามารถบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management) เพื่อสร้างกระบวนการให้บริการกับลูกค้ารายหนึ่งถูกนำมาใช้ซ้ำได้มากที่สุด 

ส่วนสุดท้าย คือ เทคโนโลยีที่เลือกจะต้องเจาะจง มีความง่ายในการใช้งานและในการเรียนรู้ของกลุ่ม Business Users และมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการในอนาคต และทุกๆ เทคโนโลยีต้องสามารถเชื่อมโยงกันได้ เราจะต้องโฟกัสคุณภาพการให้บริการในเทคโนโลยีที่ชำนาญจริงๆ ส่วนที่เหลือจะให้พาร์ทเนอร์เข้ามาช่วยดำเนินการให้คำแนะนำปรึกษา ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถให้บริการลูกค้าได้แบบครบวงจร และลดความเสี่ยงแต่ยังคงคุณภาพในการให้บริการได้ในระยะยาว 

“เรามีโซลูชันที่ Fit กับองค์กรในทุกขนาด เราพัฒนาทีมงาน Consulting อย่างเป็นระบบ บุคลากรมีความรู้หลากหลายด้าน และมีระบบบริหารจัดการที่สามารถให้บริการได้ดีอย่างต่อเนื่อง และตามเทคโนโลยีต่างๆ ได้ทัน นอกจากนี้เรายังมีความยืดหยุ่น ขณะที่ราคาของเรามีความคุ้มค่า สมเหตุสมผล ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะใช้บริการด้านใดบ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นจุดแข็งของ STelligence”


เทรนด์การใช้ Data และ Automation จะเปลี่ยนไป

ดร.สันติสุข มองว่า ในอีก 3-5 ปี ความต้องการและการเติบโตของลูกค้าที่ต้องการใช้ Digital Solution ยังมีอีกมาก หนึ่งในกลยุทธ์ด้านข้อมูลที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน คือ Data Driven Organization ซึ่งหลายๆ องค์กรได้เริ่มแล้ว และหลายๆ องค์กรยังมีความท้าทายในการผลักดันให้สำเร็จ ซึ่งหากทุกคนในองค์กรสามารถวิเคราะห์ข้อมูล การตัดสินใจต่างๆ ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการทำงานได้ดียิ่งขึ้น สามารถแบ่งปันข้อมูลได้เพื่อตัดสินใจร่วมกัน จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง ซึ่งแนวทางหนึ่งที่จะทำให้กลยุทธ์นี้สำเร็จอาจจะต้องมีการวัดระดับความพร้อมด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Maturity level) เพื่อการวางแผนในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

อีกส่วนหนึ่งคือการนำ Data มาใช้คาดการณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ตัดสินใจ แต่ใช้ AI มาช่วยตัดสินใจแทน ซึ่งเทรนด์เหล่านี้เริ่มเห็นมากขึ้นในอุตสาหกรรมการหาลูกค้า การประเมินความเสี่ยง หรือการผลิต เพราะต้องการการตัดสินใจที่ทันท่วงที

นอกจากนี้ยังมีเทรนด์การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อ Transform ธุรกิจ (Data Monetization) หรือ การแลกเปลี่ยนข้อมูล (Exchange Data) เพราะธุรกิจจะเกิดขึ้นใหม่ได้นั้นมาจากการใช้ Data เป็นตัวขับเคลื่อน เช่น บริษัทที่เปลี่ยนตัวเองจากสายการบินมาทำ SuperApp เพราะต้องการ Data จากธุรกิจอื่นเข้ามาบนแพลตฟอร์ม หรือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทโทรคมนาคม กับ บริษัทด้านการเงิน ก็จะทำให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่จากการที่มีข้อมูลเพิ่มขึ้น

Big Data ในด้าน IT Operation, Cyber Security และ Automation

STelligence เป็นบริษัทคนไทยผู้บุกเบิกโซลูชันการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพาณิชย์กว่า 9 ปี เห็นประโยชน์ของการใช้ Big data ในอุตสาหกรรมอย่าง Telecom หรือ Financial มีการเก็บข้อมูลมากขึ้นกว่าที่ระบบจะประมวลผลได้ จึงได้เริ่มทำธุรกิจแรกเป็นที่ปรึกษาด้าน Big Data เทคโนโลยีด้าน IT Operation ใช้ข้อมูลจากระบบ IT Infrastructure และระบบ Cyber Security เพื่อแจ้งเตือนและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งบริษัทเป็นผู้ให้บริการในการวางระบบเฝ้าระวังในศูนย์ Cyber Security Operation Center (CSOC) และระบบรวมศูนย์ IT Operation Center กับลูกค้าขนาดใหญ่จำนวนหลายแหล่งทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ 

ดร.สันติสุข กล่าวต่อว่าระบบ Automation จะช่วยขยายขีดความสามารถของระบบ CSOC ได้ เพราะข้อมูลอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยมีหลากหลายชนิด และจะมีการส่งข้อมูลออกมาเก็บในแหล่งเดียว ซึ่งการโจมตีจากภายนอกหรือภายใน โดยปกติผู้โจมตีจะทิ้งร่องรอยเอาไว้ โดยระบบสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาเชื่อมโยงกับระบบ Automation เพื่อสร้างเงื่อนไขที่ช่วยป้องกัน หรือโต้ตอบได้อย่างทันท่วงที ทำงานร่วมกับการใช้เจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวัง “เทคโนโลยี Data Solution + Cyber Security + Automation กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด เพราะมนุษย์ไม่สามารถรู้เท่าทัน และตอบสนองต่อการโจมตีที่หลากหลายได้อย่างทันท่วงที”

เดินหน้าขยายตลาด ขยายบุคลากร ขยายเทคโนโลยีวางแผนเข้า IPO 

STelligence ตั้งเป้าที่จะเป็นพันธมิตรทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลระยะยาวกับองค์กรขนาดกลางและใหญ่ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเติบโตและสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับสากล ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการเกิดขึ้นใหม่ของเทคโนโลยีต่างๆ และการเติบโตของจำนวนลูกค้า บริษัทจึงต้องวางแผนในการขยายทีม เพิ่มจำนวนพนักงานเพื่อให้สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างเป็นมืออาชีพ มีคุณภาพและมีความยั่งยืน รวมถึงการเปิดให้บริการโซลูชันใหม่ๆ ในอนาคต เช่น Intelligent Document Processing, No-Code Platform, บริการ Managed Service, บริการด้านการจัดหาบุคลากรด้านดิจิทัล หรือ บริการเกี่ยวกับ Cyber Security อื่นๆ ในอนาคต 

“เราต้องการสร้างองค์กรให้มีความยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนนั้นไม่ใช่แค่พนักงาน หรือลูกค้า แต่จะต้องประกอบไปด้วยระบบนิเวศอื่นๆ เช่น Community มหาวิทยาลัย องค์กรไม่แสวงหาประโยชน์ เพื่อทำให้ Business Model Canvas มันเปลี่ยนรูปแบบไป สามารถที่จะร้อยเรียงและเชื่อมโยงกันได้อย่างยั่งยืน”

เพราะฉะนั้น การที่บริษัทจะขยายระบบนิเวศ จึงต้องการการลงทุน ซึ่งปัจจุบันเราเริ่มทำ Research & Development ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยให้การสนับสนุนและส่งเสริมพนักงานที่มีความต้องการไปเรียนต่อทั้งในและต่างประเทศและสามารถที่จะทำงานควบคู่ร่วมกับเราได้ขณะที่เรียนอยู่ และนำความรู้มาช่วยสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้า ซึ่งกระบวนการต่างๆ เหล่านี้บริษัทต้องการพันธมิตรเข้ามาร่วมทำให้ ecosystem นี้แข็งแรง 

ดร.สันติสุข กล่าวว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในแผนจะนำพาบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต ซึ่งการที่เป็นบริษัทมหาชนจะสามารถจะตอบโจทย์ให้ พนักงาน คู่ค้า ตลาดแรงงาน มหาวิทยาลัย และนักลงทุน ได้เติบโตร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน และสามารถสนับสนุนลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้นในระยะยาว 

“ปัจจุบันโลกอยู่ในยุค 4.0 เราจะต้องก้าวไปข้างหน้าแบบแพลตฟอร์มและ ecosystem บริษัทจึงไม่ได้มองที่ผลประกอบการ หรือเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่บริษัทต้องการสร้าง business model ที่เกิดจากการพัฒนา ecosystem ใหม่ ๆ การให้ลูกค้ามีส่วนร่วม การให้พนักงานีส่วนร่วม และการร่วมพัฒนากับภาคส่วนต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ บริการใหม่ๆ ที่จะสร้างคุณค่าใหม่ๆ ที่แตกต่างและยั่งยืนให้กับทุกส่วนใน ecosystem” ดร.สันติสุข กล่าวในตอนท้าย 

หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อ STelligence ได้ที่


บทความนี้เป็น Advertorial

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...