Startup จะรักษา 'บริษัท' ไว้ได้อย่างไร ในสถานการณ์ COVID-19 | Techsauce

Startup จะรักษา 'บริษัท' ไว้ได้อย่างไร ในสถานการณ์ COVID-19

หลาย ๆ ท่านคงอาจจะเห็นข่าวประจำวันเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่หลาย ๆ รายเริ่มใช้มาตรการลดเงินเดือน ลดต้นทุนด้านต่าง ๆ และลดการจ้างงานผ่านตามาบ้างแล้ว และอย่างที่ผู้อ่านอาจจะทราบกันมาบ้างแล้วว่าธุรกิจ Startup และ SME ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกของเรานั้นมีอัตราการเติบโตที่ถือว่าค่อนข้างสูงมากใน 5 ปีที่ผ่านมา ทว่าภายใต้สภาวะเช่นนี้ธุรกิจเหล่านี้ควรจะทำอย่างไรในการประคับประคองให้ธุรกิจนั้นเดินหน้าต่อไปได้

ท่ามกลางการถดถอยทั่วโลกจากการระบาด COVID-19 ทำให้เกิดคำถามว่า Startup จะทำอย่างไรภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ผู้ก่อตั้งบริษัท Startup จาก SEA Founders 21 ท่านได้มาพูดคุยผ่านแอปพลิเคชัน Zoom ว่าด้วยเรื่องสถานการณ์ในปัจจุบันและวิธีการแก้ไข้ปัญหาที่จะช่วยให้ Startup เหล่านี้ผ่านช่วงเวลาที่แสนลำบากนี้ไปได้ ซึ่งการพูดคุยในครั้งนี้นั้นนำโดย Anna Gong จาก Perx Technologies และ Suresh V Shankar จาก Crayon Data 

Source: SeedlyReads

การ ‘รักษา’ บริษัทให้คงอยู่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับ Startup 

เราอาจจะเห็นมาตรการที่รัฐบาลทั่วโลกนั้นเร่งออกมาเพื่อตอบรับต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วัน และในขณะนี้มันก็อาจจะดูเหมือนว่าเรากำลังอยู่ในช่วงขาลง ก่อนที่จะเข้าสู่การถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ

ข้อกังวล 3 อันดับแรกจาก Startup:

  1. รายได้ที่ล่าช้า (เนื่องจากลูกค้าเลื่อนกำหนดการชำระเงินออกไป)
  2. ความต้องการในการลดอัตราการเผาเงินทุนและการเพิ่มกระแสเงินสดอย่างเร่งด่วน
  3. ไม่สามารถที่จะเดินทางและทำธุรกิจนอกประเทศ

โอกาส 3 อันดับแรกสำหรับ Startup:

  1. โอกาสในการปรับต้นทุนให้เหมาะสมและกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็น
  2. โอกาสในการปรับเปลี่ยนความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
  3. โอกาสที่คู่แข่งจะปิดตัวลง

5 ประเด็นสำคัญ ข้อกังวลและแนวทางแก้ไข

5 ประเด็นสำคัญทางด้านล่างนี้เป็นแผนการหลักที่ได้มาจากการพูดคุยของผู้ก่อตั้งบริษัทหลาย ๆ ท่าน ซึ่งแผนการและข้อแนะนำเหล่านี้จะถูกนำไปดำเนินการใช้และปรับให้เหมาะสมกับแต่ละบริษัท

Source: SeedlyReads

ประเด็นที่ 1: รายได้ (Revenue)

ข้อกังวล:

  • ระยะการขายที่ยาวขึ้น
  • ระยะการต่อรองมากขึ้น (จากการขยายระยะการขาย) และการลดราคาที่มากขึ้น
  • ข้อตกลงทางธุรกิจและการซื้อขายอาจล่าช้าลงและถูกยกเลิก
  • บริษัทต้องการช่องทางในการหารายได้ที่มากขึ้น
  • บริษัทไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบต่อรายได้ที่จะเกิดขึ้น
  • บริษัทไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศเพื่อปิดการซื้อขาย

แนวทางแก้ไข:

  • ลดขนาดของโปรเจคลงเพื่อลดระยะการขาย
  • เพิ่มความสำเร็จของลูกค้า (Customer Success) เพื่อที่จะขายสินค้าแบบ cross-sell และ upsell ให้กับลูกค้าที่มีอยู่
  • เข้าร่วมการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์กับคู่ค้า เพื่อเปิดช่องทางการหารายได้ใหม่ ๆ 
  • เสนอส่วนลดสำหรับลูกค้าที่จ่ายเงินก่อนกำหนด
  • ควรหารายได้จากช่องทางใหม่ ๆ 
  • ควรมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่มีส่วนต่างทางกำไรที่มากกว่า
  • ปรับเปลี่ยนสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด
  • ขยายและกระจายขอบข่ายของการขายสินค้าและบริการ
  • ปรับเปลี่ยนสินค้าจากสินค้าที่ ‘ควรจะมี’ มาเป็นสิ่งที่ ‘จำเป็นต้องมี’ 

ประเด็นที่ 2: กระแสเงินสด (Cashflow)

ข้อกังวล:

  • การชำระเงินที่ช้าลงจากลูกค้า
  • การลดลงของกระแสเงินสด
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) สูง
  • อัตราการเผาเงินทุนที่สูงขึ้นภายใต้วิกฤติ
  • ทำอย่างไรที่จะปรับเปลี่ยนและลดรายจ่ายลง?

แนวทางแก้ไข:

  • เจรจาการระดมทุนระหว่างรอบ (Bridge Round) กับ VC (Venture Capital)
  • กู้เงินสนับสนุนจากรัฐผ่านทางธนาคาร
  • กระตือรือร้นในการเรียกเก็บเงินที่ยังค้างอยู่
  • เจรจาต่อรองการชำระเงินกู้ที่มีอยู่กับธนาคาร
  • หยุดการว่าจ้างเพิ่มชั่วคราว
  • ลดต้นทุนด้านการโฆษณา การใช้จ่าย และเงินเดือน

ประเด็นที่ 3: ต้นทุน (Costs)

ข้องกังวล:

  • จะลดต้นทุนอย่างไรไม่ให้กระทบต่อการผลิต?
  • ค่าใช้จ่ายในด้านของพนักงานและเทคโนโลยีที่สูง
  • จะลดการใช้จ่ายเงินอย่างไรในเมื่อยังมีงานที่ต้องดำเนินต่อให้สำเร็จ?
  • จะประหยัดเงินอย่างไรเมื่อค่าใช้จ่ายส่วนมากนั้นคือค่าจ้างของพนักงาน?

แนวทางแก้ไข:

  • เจรจาต่อรองค่าเช่า
  • เจรจากับผู้ขายเพื่อที่ขอลดราคา
  • ลดงบประมาณในการทำ digital marketing
  • ตัดการใช้จ่ายที่ไม่สำคัญออก
  • หยุดการว่าจ้างเพิ่มชั่วคราว
  • การแบ่งจ่ายเงินเดือน
  • การเลื่อนการจ่ายเงินเดือน
  • การลดเงินเดือนและผลประโยชน์อื่น ๆ ของพนักงานชั่วคราว

ประเด็นที่ 4: พนักงาน (Employees)

ข้อกังวล:

  • จะรักษาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอย่างไรภายใต้มาตรการ work from home?
  • พนักงานอาจมองหาตัวเลือกอื่นเนื่องจากความไม่แน่นอนของบริษัทในอนาคต
  • กำลังใจของพนักงานลดลงจากการยกเลิกการว่าจ้างและการลดเงินเดือน
  • จะสื่อสารกับพนักงานเรื่องการลดค่าใช้จ่ายอย่างไรให้ถูกต้อง?

แนวทางแก้ไข:

  • ใช้วิธี work from home สำหรับพนักงานที่ใช้ขนส่งสาธารณะ
  • ใช้วิธีการรายงานรายวันเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานที่ work from home นั้นปฏิบัติงานตามหน้าที่
  • สื่อสารให้มากที่สุดและพร้อมในการตอบคำถามจากพนักงานอยู่ตลอด
  • ใช้มาตรการที่ให้พนักงานที่ไม่ได้แสดงผลงานมากนักนั้นทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์

ประเด็นที่ 5: การระดมและผู้ลงทุน (Funding & Investors)

ข้อกังวล:

  • ผู้ลงทุนนั้นกำลังเสาะหาสิ่งใหม่ ๆ ในช่วงเวลาวิกฤตินี้หรือไม่?
  • VC ไหนที่ยังมีความแข็งแกร่งและเหมาะต่อการลงทุน?
  • ควรที่จะระดมทุนจากนักลงทุนที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ถึงแม้ว่าจะยังไม่จำเป็นในขณะนี้
  • ไม่สามารถคาดการณ์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนได้
  • นักลุงทุนขอแผนการระยะยาว ซึ่งเราไม่สามารถทำได้ในตอนนี้เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน เช่น การวางแผนสถานการณ์ใน 30, 60 และ 90 วัน หรือใน 6, 12 และ 24 เดือน
  • ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลดลง
  • ความล่าช้าในการรับเงินสนับสนุน

แนวทางแก้ไข:

  • การพูดคุยแบบ 1 ต่อ 1 กับนักลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่นใจและทำความเข้าใจให้ตรงกัน
  • แสดงถึงการเตรียมพร้อมและมาตรการในการรับมือต่อวิกฤติ
  • เจรจากับนักลงทุนให้มีการระดมทุนในช่วงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4
  • ทางรัฐบาลควรมีมาตรการให้เงินกู้กับธุรกิจที่ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ

แน่นอนว่าจากวิกฤติการระบาดของ COVID-19 ในครั้งนี้จะนำพวกเราทุกคนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ดังนั้นข้อกังวลและข้อแนะนำทางด้านบนนั้นเป็นเพียงตัวเลือกให้บริษัทนั้นนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ของแต่ละบริษัท อย่างไรก็ตามแต่ ยังคงมีบางคำถามที่ซึ่งใน ณ ขณะนี้ยังคงไม่มีใครให้คำตอบได้ เช่น วิกฤตครั้งนี้จะยาวนานถึงเมื่อไหร่? จะใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะจัดการทุกอย่างให้กลับสู่สภาพเดิม? และจะจัดการยังไงหากวิกฤติในครั้งนี้นั้นยืดเยื้อมากกว่า 12 เดือน? ดังนั้นการที่บริษัทต่าง ๆ จะทำการตั้งรับเตรียมพร้อมสำหรับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุด รวมถึงการวางแผนในระยะยาวไว้ก่อนอาจจะเป็นการดีที่สุดในวิกฤติการณ์เช่นนี้ 




Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Jensen Huang ตอบประเด็นอนาคต AI ยังไงต่อ ? ในงาน GTC 2024

บทความนี้ Techsauce ชวนมาฟังความเห็นของ CEO บริษัทชิปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เกี่ยวกับอนาคตของปัญญาประดิษฐ์ในงาน GTC 2024...

Responsive image

SpaceVIP จัดทริปกินมื้อหรูระดับมิชลินบนอวกาศ สนนราคาต่อหัว 17.8 ล้านบาท

โอกาสสำหรับการทานอาหารสุดหรูบนอวกาศมาถึงแล้ว SpaceVIP เตรียมเปิดประสบการณ์การทานอาหารจากเชฟระดับ Michelin Star ที่ความสูงกว่า 100,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลในการผจญภัยบนขอบอวกาศ โอกา...

Responsive image

Rare Beauty จะเปลี่ยนเจ้าของ? แหล่งข่าวชี้ Selena Gomez เตรียมขายแบรนด์

Rare Beauty จะเปลี่ยนเจ้าของ? ข่าวจาก Bloomberg ออกมาว่าตอนนี้ Selena Gomez ได้เริ่มดำเนินการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนเพื่อประเมินมูลค่าแบรนด์แล้ว...