Mindset ด้านนวัตกรรมสำคัญกับองค์กรอย่างไร พูดคุยกับ Dr. Frederik G. Pferdt | Techsauce

Mindset ด้านนวัตกรรมสำคัญกับองค์กรอย่างไร พูดคุยกับ Dr. Frederik G. Pferdt

เมื่อองค์กรต้องขับเคลื่อนด้วยคนและเทคโนโลยีไปพร้อม ๆ กัน Mindset ของคนก็จะต้องพร้อมที่จะรับกับนวัตกรรมที่จะมาพัฒนาวัฒนาธรรมขององค์กร พูดคุยกับ Dr. Frederik G. Pferdt, Chief Innovation Evangelist จาก Google ในเรื่องความสำคัญของนวัตกรรมกับการทำงานในองค์กร และคำแนะนำในการพัฒนา Innovation Mindset เพื่อขับเคลื่อนองค์กรในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 

Dr. Frederik G. Pferdt

หน้าที่และความสำคัญของ Chief Innovation Evangelist

การทำงานกับตำแหน่ง Chief Innovation Evangelist ใน Google หน้าที่หลัก ๆ คือการช่วยองค์กรสร้าง Innovation mindset ซึ่ง Mindset นี้จะต้องอาศัยการเอาใจใส่ระหว่างกันของพนักงาน การรับฟังความเห็นของผู้อื่น ต้องอาศัยความคิดและไอเดียที่แผ่ขยายออกไปได้อย่างไม่สิ้นสุด รวมทั้งสร้าง Mindset ที่อยากเรียนรู้และทดลอง และช่วยให้พนักงานทุกคนทั่วโลกของ Google มีความมั่นใจในการเสนอไอเดีย เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะกับนวัตกรรม และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ 

หน้าที่ของ Chief Innovation Evangelist มักจะทำงานกับทีม People Development มากกว่าที่จะไปสร้างนวัตกรรม ซึ่งการจะสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพได้นั้นจะต้องเริ่มจากการที่คนมีความคิดและต้องไม่กลัวที่จะสร้างนวัตกรรม โดยใน Google จะมี CSI Lab หรือ Creative Skills for Innovation Lab ที่จะเอาไว้ช่วยพนักงานในการพัฒนา Skills และ Mindset เพื่อใช้สร้างวัฒนธรรมที่เหมาะกับการรองรับนวัตกรรม โดยจะมีการพูดคุย และการโค้ชชิ่งแบบ One-on-one ให้กับพนักงานทุกระดับ

ผลกระทบของ COVID-19 กับการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรของ Google

Dr. Pferdt มองว่าสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานมาก ๆ แต่เมื่อไวรัสระบาดเราก็ต้องเปลี่ยนไปทำงานทางไกลแทน ถ้าให้มองด้านดีของมันคือ เราได้ใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น และได้สร้างบรรยากาศของการทำงานที่บ้านขึ้นมาใหม่นั่นเอง ซึ่งทาง Google ก็ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ โดยทางบริษัทได้ช่วยสนับสนุนให้กับพนักงานทุกคนในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่บ้านขึ้นมาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนเรื่องเทคโนโลยีที่เราใช้ในการติดต่อก็มีการใช้ Google Meet เป็นประจำอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีความยากลำบากอะไรในการทำงานทางไกล และเรายังมองเรื่องสุขภาพของพนักงานด้วย เราก็จะมีการติดต่อกันอยู่เป็นประจำ และทุกครั้งที่มีการประชุมก็จะมีการจัด Mindfulness exercise เพื่อช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน

สำหรับการทำงานของ Google เราจะมี Value อยู่ 3 ข้อ ที่ทำให้พนักงานทุกคนอยากจะทำงานร่วมกัน คือ

Respect user, Respect Opportunity และ Respect each other ทั้งนี้มองว่าทั้ง Mission และ Value มันสำคัญมาก ๆ กับองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจตรงกันว่าทำไมเราต้องทำงานด้วยกัน และการมีสองอย่างนี้จะช่วยสร้างให้องค์กรเหมาะสมกับการพัฒนานวัตกรรมด้วยเช่นกัน

พฤติกรรมและเทรนด์ที่เปลี่ยนไปเพราะ COVID-19

Dr. Pferdt กลับมองว่าในช่วงการระบาดที่เป็นวิกฤตไปทั่วโลก ยังมีข้อดีของมันอยู่เช่นกัน อย่างที่เห็นได้ชัดคือ มีการเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างของเทรนด์ต่าง ๆ ทั้งการทำงาน การใช้ชีวิต และการเรียน ทำให้คนได้พัฒนา Mindset ที่มีความเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ซึ่งมองว่ามันส่งผลดีต่อการพัฒนา อีกทั้งคนยังมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นกว่าเดิม

การระบาดของ COVID-19 ทำให้เราเห็นว่าเทรนด์ต่าง ๆ มันเปลี่ยนไปเร็วแค่ไหน ทุกอย่างตอนนี้เริ่มจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของดิจิทัล ในส่วนของการศึกษา อย่างที่เห็นว่าเปลี่ยนไปใช้การเรียนแบบออนไลน์ ข้อดีของมันคือ เราจะเรียนตอนไหน ที่ไหนก็ได้ แต่ข้อเสียของมันคือเด็ก ๆ จะขาดเพื่อน ขาดการเรียนรู้จากโลกภายนอกที่ไม่ใช่จากโลกอินเทอร์เน็ต เพราะฉะนั้นคุณครูและพ่อแม่จะต้องหาวิธีการเรียนรู้ใหม่ ๆ เพื่อมาช่วยตอบสนองเด็ก ๆ ในส่วนที่เขาขาดไป ในด้านของ Google เราก็มีการลงทุนไปเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการศึกษาเช่นกัน ทั้ง พัฒนา Google Classroom, Google Meet หรือจะเป็น Chrome Book เพื่อให้พร้อมกับเด็ก ๆ ได้ใช้งาน

ในอีกด้านที่เป็นมุมของคนทำงาน จะเห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศเราก็สามารถทำงานได้จากทุกที่ ในทุกเวลาเช่นกัน และอย่างที่กล่าวไปข้างต้น คนเริ่มมีการพัฒนา Mindset ให้ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนไปตลอดเวลา โดยคนจะเริ่มทำงานได้เร็วขึ้น และปรับตัวเพื่อหาทางตอบสนองลูกค้า และคนรอบข้างได้ถูกทาง ตัวอย่างแบบ Google ที่เรามีการจัดโปรเจกต์ Product for Good ในช่วงเริ่มการระบาด เพื่อให้พนักงานทุกคนช่วยวางแผนและคิดค้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในระยะเวลาเพียง 48 ชั่วโมง มีการส่งไอเดียมากว่า 2,500 ไอเดียจากพนักงานของ Google ทั่วโลก โดยโปรเจกต์เด่น ๆ ที่เราได้ทำช่วง COVID-19 เช่น สร้างแพลตฟอร์ฒสำหรับการศึกษา ทำงานร่วมกับ UNESCO สร้างฟีเจอร์ใหม่ใน Google Map เป็นต้น

คำแนะนำสำหรับผู้บริหารองค์กรเพื่อสร้าง Innovation Mindset

COVID-19 เข้ามาสร้างปัญหามากมายให้กับองค์กร สิ่งแรกที่ต้องทำคือพยายามจับให้ได้ว่าปัญหานั้นคืออะไร แล้วกลับมามองที่องค์กรว่าปัญหานั้นจะส่งผลโดยตรงอย่างไร เมื่อพบปัญหาให้ลองมองว่ามันก็มีโอกาสอยู่ในนั้นเช่นกัน ให้พยายาม Reframe แนวทางใหม่ ๆ ด้วยการเรียนรู้และทดลองไปเรื่อย ๆ เพราะไม่มีอะไรจะสำเร็จได้ตั้งแต่ครั้งแรก ให้พยายามเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับทำการทดลอง ซึ่งอาจจะช่วยสร้าง Skill sets ใหม่ ๆ อีกด้วย

อีกสิ่งที่สำคัญคือ ผู้บริหารต้องยอมรับฟังพนักงานด้วย เพื่อให้เข้าใจความต้องการของพวกเขาที่อาจจะเปลี่ยนไป รวมทั้งติดตามเรื่องสุขภาพ เพราะมันจะส่งผลต่อการทำงานขององค์กร และจะได้เอามาพัฒนาโมเดลขององค์กร อย่างที่ Google เราจะดูแลพนักงานเช่น ให้พวกเขาลาหยุดเมื่อต้องการจะใช้เวลาในส่วนนี้ หรือให้ลาหยุดเพื่อไปดูแลคนในครอบครัว ซึ่งการทำแบบนี้มองว่ามันจะทำให้วัฒนธรรมองค์กรดีขึ้นเช่นกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...