2024 Premiere: Shaping Our Future with AI อัปเดทเทรนด์ด้าน AI ในหัวข้อ “What’s Next for AI in 2024” | Techsauce

2024 Premiere: Shaping Our Future with AI อัปเดทเทรนด์ด้าน AI ในหัวข้อ “What’s Next for AI in 2024”

ปัจจุบัน AI กลายเป็นเทรนด์สำคัญที่ทุกธุรกิจให้ความสนใจ หลายๆองค์กรเริ่มนำ AI เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เสริมสร้างศักยภาพของพนักงาน และสร้างความแตกต่างจนกลายเป็นจุดเด่นให้กับสินค้าหรือบริการของตัวเอง 

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2024 ที่ผ่านมา Data Wow บริษัทผู้นำด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ AI และ Data Science Consultant ของไทยได้เริ่มไตรมาสแรกของปี 2024 ด้วยการจัดงาน 2024 Premiere: Shaping Our Future with AI – นำโดย คุณต้น เจษฎากร สมิทธิอรรถกร CEO บริษัท Data Wow ที่มาอัปเดทเทรนด์ด้าน AI ในหัวข้อ “What’s Next for AI in 2024” ให้ธุรกิจได้เห็นภาพของการนำเทคโนโลยี AI และ Generative AI มาปรับใช้ในองค์กรผ่าน Use Cases ต่างๆ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Everyday AI และ Game Changing AI รวมทั้งสนับสนุนให้องค์กรจัดเตรียม Data ให้พร้อมใช้งานก่อนจะทำ AI โปรเจกต์ พร้อมทั้งต้องเฝ้าระวังเรื่อง Data Security เพื่อไม่ให้เกิดการทำข้อมูลรั่วไหลอีกด้วย 

สรุปประเด็นสำคัญจากคุณต้น เจษฎากร สมิทธิอรรถกร CEO บริษัท Data Wow

ChatGPT จุดเริ่มต้นทำให้เทคโนโลยีอย่าง AI เป็นที่นิยมมากๆ ซึ่งประเทศไทยถูกจัดเป็นอันดับ 4 ของโลกที่ค้นหาคำว่า ChatGPT และ AI มากที่สุดบน Google Search – หากลองมองกลับมาที่การใช้ชีวิตของพวกเราในปัจจุบัน คงจะไม่แปลกถ้าเราจะบอกว่า AI is Everywhere and in Everything เช่น DeRUCCI Group บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีการนอนหลับประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านสุขภาพการนอนหลับ ในงาน CES 2024 ประกอบด้วย 

  1.  ที่นอนอัจฉริยะที่ได้รับรางวัล สร้างการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ 
  2. หมอนลดเสียงกรนที่ช่วยลดเสียงกรน และ อีกผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าแปลเสียงร้องของทารกได้ด้วย AI – QBear+ ถูกนำเสนอในงาน CES เมื่อปีที่แล้ว และยังได้รับรางวัลนวัตกรรมอีกด้วย จุดเด่นที่แตกต่างคือ คุณไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่ เพียงแค่ใช้งานแอพ "Cappella’s" บนโทรศัพท์ของคุณ 

จากตัวอย่างข้างต้นทำให้เห็นว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยี AI นั้นเร็วมาก จากการเปิดตัวครั้งแรกของ ChatGPT-3 ในปี 2022 สู่ ChatGPT-4 ที่เติบโตมากถึง 10 เท่าภายใน 2 ปีเท่านั้น รวมถึงการเปิดตัวที่ร้อนแรงอย่าง Sora โดย OpenAI เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2024 ดาวดวงใหม่ของวงการ Generative AI ที่ AI สามารถสร้างวีดีโอได้ผ่านการสร้าง Prompt บน Sora ก็จะ Generate วีดีโอออกมาให้แล้ว 

นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชั่นอีกมากมายที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ChatGPT, Gemini, Copilot, Bing AI และ Midjourney ที่ถือได้ว่าเป็น Everyday AI ที่คนใช้มาต่อยอดการทำงาน ทำให้สินค้าและบริการสามารถสร้างจุดเด่น เพิ่มความแตกต่างได้ ตัวอย่างเช่น Khan Academy พัฒนา Khanmigo ติวเตอร์ AI ส่วนตัว เพื่อช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ใครๆ ก็อาจจะทำได้เพราะว่าใช้ Everday AI เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม คำถามที่สำคัญกว่านั้นคือ คุณหรือธุรกิจของคุณจะเป็นคนที่แค่ใช้ Everyday AI" หรือจะสร้าง Game Changing AI ที่จะทำเราอยู่เหนือคู่แข่ง? 

ในปี 2024 นี้ ‘Multimodal AI’ จะเปลี่ยนวิธีการการมองข้อมูลของเราไปอย่างสิ้นเชิง – ‘Multimodal AI’ เป็นเทคนิคที่มีความโดดเด่น คือโมเดลที่สามารถประมวลผลข้อมูลหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ วิดีโอหรือเสียงได้ในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าหลายๆแบรนด์ในปัจจุบันจะมีฟีเจอร์ Self-Driving Car ด้วยกล้องและเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางรอบตัวรถ พร้อมส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับมาที่ระบบสั่งการเพื่อประมวลผลต่อได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะขับเคลื่อน Multimodal AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็หนีไม่พ้นเรื่องการเตรียม ‘ข้อมูล’ ที่เป็นหัวใจสำคัญของการเริ่มนำ AI เข้ามาใช้กับธุรกิจ หากธุรกิจมีเป้าหมาย มีการออกแบบจัดเก็บข้อมูลอย่างดี ก็จะสามารถต่อยอดสร้างมูลค่าหรือสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ได้ 

แต่ถ้าหากข้อมูลนั้นๆ ไม่ได้รับการจัดเก็บที่ดีมากพอ ข้อมูลเหล่านั้นก็อาจกลายเป็นข้อมูลที่เปล่าประโยชน์ ไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ ทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจและเกิดความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกองค์กร – เชื่อว่าธุรกิจที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคิดที่อยากจะเริ่มทำ เริ่มลงทุนใน AI แต่จะรู้ได้ยังไงว่าธุรกิจจะต้องลงทุนเท่าไหร่ถึงจะพอ?

คำถามสำคัญที่หลายธุรกิจกังวลคือ การลงทุนใน AI ว่าควรมีสัดส่วนเท่าไหร่ถึงจะคุ้มค่า จากข้อมูลของ ScienceDirect ระบุว่า องค์กรควรมี AI Intensity มากกว่า 25% ถึงจะเริ่มเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การลงทุนใน AI อาจมีลักษณะแบบ J-Curve ที่มักมีความเสี่ยงขาดทุนในช่วงแรก และเสี่ยงขาดทุนระหว่างทางเพราะใช้เงินลงทุนสูงและได้ผลลัพธ์ที่ช้า ธุรกิจจึงควรเริ่มต้นจากโปรเจกต์ที่ง่ายหรือมีความเสี่ยงน้อยก่อน เพื่อสะสมประสบการณ์และเรียนรู้วิธีการใช้ AI ที่เหมาะสมกับองค์กร 

Panel Discussion: AI Implementation in Real Life Unfiltered 

สรุปการทำ AI Implementation ในองค์กร/ธุรกิจ ดำเนินโดยคุณทอย กษิดิศ สตางค์มงคล ผู้ก่อตั้ง Data Rockie ที่ได้ให้เกียรติมาเป็น Mederator

  1. ข้อมูล (Data) เป็นสิ่งสำคัญมากในการสร้าง Innovation – ในปัจจุบันข้อมูลเป็นรากฐานที่สำคัญมากในการต่อยอดเพื่อทำ Corporate Innovation และจะต้องค้นหาและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้อ้างอิงในการสื่อสารกับทีมผู้บริหารในองค์กรให้เข้าใจ ให้เกิดการตัดสินใจจากข้อมูลเพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กรให้เกิดขึ้น กล่าวโดย – คุณกานดา สุภาวศิน Vice President, Digital Culture and Talent Experience จาก King Power 
  2. หา Champion ในองค์กรเพื่อผลักดัน AI โปรเจกต์ – ก่อนที่จะนำ AI เข้ามาปรับใช้ในองค์กรแบบ 100% ควรหาหน่วยงานแรกที่มีความพร้อมในการปรับตัวเพื่อทำ Pilot Project และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าแต่ละฝ่ายจะได้ประโยชน์อะไรจากการปรับใช้ AI เพื่อสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อาจจะศึกษาค้นหา Use Cases จากต่างประเทศเพื่อมาเป็นตัวอย่าง และปรับใช้ให้เข้ากับบริบทขององค์กร เช่น ในกรณีของ PTTGC “ผมเลือกหน่วยงานฝั่ง HR เนื่องจากว่ามี Use Cases ด้าน Generative AI ค่อนข้างเยอะให้ศึกษา” กล่าวโดย – คุณนัทพล จงจรูญเกียรติ - Head of Digital Transformation จาก PTTGC 
  3.  อะไรที่คนทำได้ AI ก็ทำได้ AI อาจเปรียบเหมือนอีกหนึ่งอวัยวะที่ได้แทรกซึมเข้ามาอยู่ในชีวิตของมนุษย์ เพียงแค่หยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาก็เจอ AI แล้ว หากเทียบ AI ในธุรกิจภาคการตลาด กับภาคอุตสาหกรรมการผลิต จะเห็นได้ว่าภาคการตลาดโดยผลกระทบอย่างมาก เช่น การเปิดตัวมาของ Sora ที่อาจทำให้ Website พวก Stock คอนเทนต์อาจะโดนแทนที่ด้วย AI ได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า AI กับอุตสาหกรรมการผลิดอาจยังเข้าไม่ถึงมากหนัก แต่ AI มันมาแน่ๆ อะไรที่มนุษย์เราสามารถบอกกระบวนการ วิธีการทำงานต่างๆ ที่คนทำได้ AI ก็ทำได้เช่นกัน และจะทำได้ดีกว่ามนุษย์ด้วย ดังนั้นเราจึงต้องคอยศึกษาข้อดีและข้อเสียไว้เสมอ กล่าวโดย – คุณวีรพงษ์ สว่างศรี – General Manager จาก JFE Steel Galvanizing 

ทิ้งท้ายกันด้วยประเด็นที่ต้องระวัง – เป็นที่รู้กันดีว่าในปัจจุบัน AI จะมีศักยภาพสูง แต่ก็ยังมีประเด็นที่ต้องระวัง เช่น จรรยาบรรณในการใช้ AI ไม่ว่าจะเป็นการใช้ AI ในการสร้าง Deepfake ที่น่ากังวลอย่างการมาของ Sora ที่ต้องดูว่าจะมีปรับมาตรการออกมาอย่างไรหรือการใช้ AI เพื่อเลือกปฏิบัติต่อบุคคล และแม้ AI จะฉลาดแค่ไหนก็ยังสู้มนุษย์ไม่ได้ ความเป็นมนุษย์ที่มี Empathy ยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน ธุรกิจควรพัฒนาทักษะด้านนี้ควบคู่ไปกับการใช้ AI

สรุปแล้ว AI เป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพสูง แต่ธุรกิจควรใช้ AI อย่างระมัดระวัง ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ AI อย่างละเอียด เริ่มต้นจากโปรเจกต์ที่ง่ายหรือมีความเสี่ยงน้อย เน้นการใช้ AI เพื่อต่อยอดและสร้างความแตกต่าง พัฒนา "ความเป็นมนุษย์" ควบคู่ไปกับการใช้ AI 

และ AI จะเป็น Game Changer ให้กับธุรกิจที่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง!

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

One Bangkok พัฒนากรุงเทพฯ ชูแนวคิด “The Heart of Bangkok” เมืองที่ใช้ใจสร้าง

วัน แบงค็อก พลิกโฉมวงการอสังหาฯไทย ด้วยการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ ปักหมุด “เมืองกลางใจ” หรือ The Heart of Bangkok เมืองที่ใช้ใจสร้าง พร้อมเผยประสบการณ์ชอปปิ้งและไลฟ์สไตล์ระดับโลก เตรีย...

Responsive image

Indorama Ventures ออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้าน ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน

Indorama Ventures ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศความสำเร็จในการระดมทุน 1 หมื่นล้านบาท ผ่านการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนร...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...