Schneider Electric จับมือ IRPCT เดินหน้าต่อยอดด้านการศึกษาสำหรับอุตสาหกรรมในอนาคต | Techsauce

Schneider Electric จับมือ IRPCT เดินหน้าต่อยอดด้านการศึกษาสำหรับอุตสาหกรรมในอนาคต

Schneider Electric ลงนามความร่วมมือกับวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี (IRPC Technological College) หรือ IRPCT โดยเป็นความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ Schneider Electric มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันสำหรับการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชัน ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า พลังงาน และเมคคาทรอนิกส์ เพื่อช่วยเสริมความเข้มข้นด้านวิชาการให้วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซีสามารถพัฒนาทักษะด้านอุตสาหกรรม 4.0 ให้กับนักศึกษา 

ด้วยความเชี่ยวชาญระดับโลกด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชัน ที่ Schneider Electric ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก นอกจากนี้ Schneider Electric ยังมอบเทคโนโลยีแห่งอนาคต นวัตกรรมต่างๆ ที่ Schneider Electric ได้คิดค้นให้กับอาจารย์และนักศึกษาได้เรียนรู้ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดเป็นผลลัพธ์ด้านนวัตกรรมอันหลากหลายที่เป็นประโยชน์ในแวดวงอุตสาหกรรมและพลังงานในอนาคต

คุณสเตฟาน นูสส์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา Schneider Electric เผยว่า “ความต้องการทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้นในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา โดยเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม 4.0 กำลังเร่งการเปลี่ยนแปลงนี้ให้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การเขียนโปรแกรม นับเป็นที่ต้องการในตลาดอย่างมาก รวมไปถึงทักษะต่างๆ เช่น การคิดเชิงวิเคราะห์ การประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนซึ่งจะได้รับความต้องการเพิ่มขึ้นในยุค 4.0 นี้เช่นกัน”

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรม มีความจำเป็นต้องมีบทบาทเชิงรุกในการยกระดับบุคลากรในอนาคต Schneider Electric จึงมองเห็นว่าการสนับสนุนด้านการศึกษาจะช่วยพัฒนาทักษะของนักศึกษาในวันนี้ จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศในวันหน้าให้ตอบโจทย์ความต้องการในตลาดได้

แม้ทุกวันนี้จะมีความกังวลว่าระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม 4.0 จะเข้ามาแทนที่งานแบบเดิม แต่จากที่ผ่านมาแสดงให้เห็นได้ว่า เทคโนโลยีเหล่านี้กลับช่วยเสริมความสามารถให้กับมนุษย์ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงาน ซึ่งโรงงานอัจฉริยะจะใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ช่วยในการทำงานอัตโนมัติที่ซ้ำซากจำเจ ในขณะที่ช่วยให้พนักงานสามารถมุ่งเน้นงานที่ต้องใช้เหตุผลและทักษะมากขึ้น  

“นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ยังช่วยให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย อย่างวิกฤติโควิด 19 ที่ทุกประเทศได้เผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้สามารถรีโมทเข้าไปมอนิเตอร์ ควบคุมกระบวนการผลิต ช่วยให้ผู้ดูแลสามารถวิเคราะห์แนวโน้มการผลิต หรือสั่งให้กระบวนการเป็นไปโดยอัตโนมัติ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ช่วยเว้นช่องว่าง ระยะห่างในการพบปะกันระหว่างพนักงานได้อย่างดี และปลอดภัยได้ในทุกๆ กระบวนการในโรงงาน ถ้ามีการวางแผน และออกแบบการใช้งานเทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสม”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

One Bangkok พัฒนากรุงเทพฯ ชูแนวคิด “The Heart of Bangkok” เมืองที่ใช้ใจสร้าง

วัน แบงค็อก พลิกโฉมวงการอสังหาฯไทย ด้วยการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ ปักหมุด “เมืองกลางใจ” หรือ The Heart of Bangkok เมืองที่ใช้ใจสร้าง พร้อมเผยประสบการณ์ชอปปิ้งและไลฟ์สไตล์ระดับโลก เตรีย...

Responsive image

Indorama Ventures ออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้าน ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน

Indorama Ventures ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศความสำเร็จในการระดมทุน 1 หมื่นล้านบาท ผ่านการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนร...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...