ไทยพาณิชย์ชี้ 5 สิ่ง SME นำเข้า-ส่งออกควรรู้ รับมือต้นทุนขนส่ง-ราคาวัตถุดิบพุ่ง-อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน | Techsauce

ไทยพาณิชย์ชี้ 5 สิ่ง SME นำเข้า-ส่งออกควรรู้ รับมือต้นทุนขนส่ง-ราคาวัตถุดิบพุ่ง-อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในธุรกิจนำเข้าและส่งออก เป็นภาคธุรกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทย แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันที่เผชิญความไม่แน่นอนสูง กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ต้นเหตุราคาพลังงานที่พุงสูงขึ้น กระทบต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนการผลิต ส่งผลให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นสวนทางกับกำลังซื้อของผู้คนในโลกเริ่มชะลอตัว รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการธุรกิจนำเข้าและส่งออก ที่ต้องเร่งหาแนวทาง “ลดหรือปิดความเสี่ยง” เพื่อรักษาระดับการเติบโตของธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้จัดงานสัมมนา “SME OF THE FUTURE อนาคต SMEs ไทยไปต่ออย่างไรดี รวมผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจชี้ทางออกให้เอสเอ็มอีกลุ่มนี้โดยเฉพาะ

ไทยพาณิชย์ชี้ 5 สิ่ง SME นำเข้า-ส่งออกควรรู้ รับมือต้นทุนขนส่ง-ราคาวัตถุดิบพุ่ง-อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน

ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาภาคธุรกิจเผชิญกับสถานการณ์ราคาพลังงาน ภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น กระทบต่อต้นทุนดำเนินธุรกิจ แต่ในข่าวร้ายก็เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ราคาพลังงานโลก สินค้าโภคภัณฑ์และค่าขนส่งเริ่มปรับตัวลดลงและอาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แต่ยังต้องระวังเนื่องจากถึงแม้ทิศทางราคาพลังงานและเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงแต่จะยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง สร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลางในหลายประเทศยังจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพื่อแตะเบรกเศรษฐกิจและควบคุมเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลคือ ความต้องการซื้อ (Demand) ในหลายประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งจากมหาอำนาจเศรษฐกิจโลกและคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา และจีน ที่เริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับภูมิภาคตะวันออกกลางและอาเซียนยังเติบโต ทำให้การส่งออกในระยะถัดไปมีแนวโน้มชะลอตัว

ทำประกันความเสี่ยงค่าเงินลดผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

นายแพททริก ปูเลีย Head of Financial Markets Function ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยช่วงที่ผ่านมาค่าเงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างมาก สถานการณ์ดังกล่าว ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้าและส่งออก ควรให้ความสำคัญกับการ “ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน” (Hedging) เพื่อล็อกราคา ลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจที่อาจประสบภาวะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน โดยปัจจุบันพบว่าเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าของธนาคารสัดส่วน 30% ทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เป็นลูกค้าของธนาคาร พบว่ามีสัดส่วนกว่า 70% ทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน 

โดยแนะว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่งออกและนำเข้า กลุ่มที่ได้ตกลงซื้อขายสินค้าไปแล้ว และเห็นว่ามีกำไร (Margin) เพียงพอ ควรทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ในสัดส่วน 100% เพราะไม่มีเหตุผลที่ต้องรอราคา  ส่วนกลุ่มที่ขายสินค้าแล้วแต่อัตราแลกเปลี่ยนยังไม่ครอบคลุมกำไรที่ต้องการ แนะว่าควรทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน สัดส่วน 50-70% เพื่อปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน  ขณะที่กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มที่รู้ว่าจะขายสินค้าได้ แต่ไม่รู้ว่าจะขายได้เมื่อไหร่ แนะว่าเมื่อผู้ประกอบการประเมินแล้วว่าจะขายสินค้าได้ ก็ควรจะทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ในสัดส่วนอย่างน้อย 50% เพื่อรอดูสถานการณ์ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้าว่าราคาขายสินค้าควรเป็นเท่าไหร่ 

ไทยพาณิชย์ชี้ 5 สิ่ง SME นำเข้า-ส่งออกควรรู้ รับมือต้นทุนขนส่ง-ราคาวัตถุดิบพุ่ง-อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน

ธนาคารคือพันธมิตรทางการเงินร่วมผลักดันความสำเร็จ

นายแพททริก ยังระบุว่า อยากให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำเข้าส่งออก มองธนาคารเป็น “พันธมิตร” ในการให้คำแนะนำเพื่อปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนให้มากที่สุด นอกจากนี้แต่ละบริษัทควรกำหนดนโยบายด้านการการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินให้ชัดเจน ว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน โดยอาจวางแผนไว้ตั้งแต่ต้นปี และทบทวนเป็นระยะ เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องนี้ทำได้อย่างรวดเร็ว ทันกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจ พร้อมกับการเลือกใช้เครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงที่มีหลากหลายวิธี เช่น การทำ SPOT (การซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ที่มีกำหนดส่งมอบเงินภายใน 2 วันทำการ) การทำ FORWARD (สัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ที่มีกำหนดส่งมอบเงินมากกว่า 2 วันทำการขึ้นไป) การทำประกันค่าเงิน (Options)   นอกจากนี้ธนาคารยังมีบริการให้ลูกค้าสามารถ ซื้อขายเงินตราต่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ได้ด้วยตนเองอีกด้วย         

ธนาคารอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลูกค้าประเมินสถานการณ์อัตราให้ความไว้วางใจในทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยติดตามภาวะตลาด  และบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าไปโฟกัสกับธุรกิจหลักเรื่องการหาตลาดใหม่ โดยไม่ต้องกังวลกับการป้องกันความเสี่ยงฯ 

วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อบริหารสต็อกวัตถุดิบให้สอดคล้องกับคำสั่งซื้อสินค้าในอนาคต

นางสาวศิลินลักษ์ ตุลยานันต์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฟู้ด อีควิปเม้นท์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร  กล่าวว่า บริษัทมีธุรกรรมทั้งการผลิต นำเข้าและส่งออก  ในช่วงที่ผ่านมาจึงได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และผลกระทบจากต้นทุนค่าขนส่ง และต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดยการจัดการต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้น จะใช้วิธี “วิเคราะห์ข้อมูล” (Data) จากสถิติย้อนหลังและแนวโน้มในอนาคตในระดับเอสเคยู ผ่านโปรแกรม ERP (Enterprise Resource Planning ) ซึ่งเป็นระบบจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ตั้งแต่บัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อคาดการณ์คำสั่งซื้อในอนาคต ก่อนจะสั่งซื้อวัตถุดิบและการขนส่งสินค้าเป็นล็อตใหญ่ล่วงหน้าเพื่อลดต้นทุนดำเนินการ หรือแม้แต่นำปริมาณซื้อ (Volume) ไปเจรจากับคู่ค้าเพื่อขอต่อรองซื้อวัตถุดิบเป็นขั้นบันไดในราคาที่ลดลงมา 

“หน้าที่ของบริษัทในปีนี้คือทำอย่างไรก็ได้ให้เอาชนะโควิด ต้องตีลังกาท่าไหนถึงจะอยู่รอด และเติบโตไปได้ คือสิ่งที่ท้าทายเรามากกว่าที่จะมาวนเวียนคิดเรื่องจะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าเราสามารถเพิ่มวอลุ่ม หาตลาด เพิ่มยอดขาย หาตลาดใหม่ๆได้ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า”

สร้างอำนาจต่อรองด้วยการมีซัพพลายเออร์มากกว่า 1 ราย

นางสาวณัฐธนภัสสร์ ไชยรินทร์ ผู้จัดการแผนกธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท ทรอปิคานา ออยล์ จำกัด ผู้ผลิตและแปรรูปมะพร้าวเป็นน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และสกินแคร์ ส่งออกและขายในประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัทได้รับผลกระทบจากต้นทุนค่าขนส่ง ต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน  โดยนอกจากจะใช้วิธีวางแผนการจัดการวัตถุดิบล่วงหน้าจับคู่กับคำสั่งซื้อในอนาคตเพื่อลดต้นทุนแล้ว อีกวิธีการที่ใช้คือการ จัดหาซัพพลายเออร์มากกว่า 1 ราย (Second Sources) เพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการค้า โดยนำราคาวัตถุดิบมาประมูลว่ารายได้ให้ราคาต่ำกว่าในสเปคเดียวกันนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อลดต้นทุนในระยะยาว 

นางสาวณัฐธนภัสสร์ แนะนำเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการควรพิจารณาการปรับระบบการผลิตด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตมากยิ่งขึ้น ที่บริษัท ทรอปิคานา ออยล์นั้น ยังได้ปรับโครงสร้างการผลิตให้เป็นออโตเมชั่นมากขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนแรงงานที่หายากมากขึ้น ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญในสายการผลิตของประเทศไทย ผลที่ได้รับคือ สามารถสร้างผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและมีมาตรฐาน และยังเป็นการลดต้นทุนแรงงานในระยะยาว พร้อมไปกับการกลยุทธ์เพิ่มยอดขาย เจาะตลาดส่งออกที่มีศักยภาพ 

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถติดตามข้อมูลเคล็ดลับธุรกิจ และกิจกรรมงานสัมมนาที่จะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจจากธนาคารไทยพาณิชย์และพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการลูกค้าเอสเอ็มอี ผ่านช่องทาง website : www.scb.co.th/th/sme-banking

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

One Bangkok พัฒนากรุงเทพฯ ชูแนวคิด “The Heart of Bangkok” เมืองที่ใช้ใจสร้าง

วัน แบงค็อก พลิกโฉมวงการอสังหาฯไทย ด้วยการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ ปักหมุด “เมืองกลางใจ” หรือ The Heart of Bangkok เมืองที่ใช้ใจสร้าง พร้อมเผยประสบการณ์ชอปปิ้งและไลฟ์สไตล์ระดับโลก เตรีย...

Responsive image

Indorama Ventures ออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้าน ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน

Indorama Ventures ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศความสำเร็จในการระดมทุน 1 หมื่นล้านบาท ผ่านการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนร...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...