การขยายธุรกิจฟินเทคไปยังภูมิภาคอาเซียน - ถกประเด็นความท้าทายและโอกาสในงาน Techsauce Global Summit | Techsauce

การขยายธุรกิจฟินเทคไปยังภูมิภาคอาเซียน - ถกประเด็นความท้าทายและโอกาสในงาน Techsauce Global Summit

หากจะขยายตลาดของธุรกิจฟินเทคเพื่อครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน คำถามที่ตามมาก็คือ คุณจะเริ่มต้นอย่างไร? มีความท้าทายและโอกาสอะไรที่รอคุณอยู่บ้าง? ทุกคนต่างก็รู้ดีว่าการขยายขนาดของธุรกิจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งหากสตาร์ทอัพด้านฟินเทคสักรายต้องการที่จะก้าวไปถึงมูลค่าธุรกิจที่เกินกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์หรือกลายเป็นยูนิคอร์นตัวต่อไปของภูมิภาคแล้ว แนวโน้มที่จะสามารถขยายขอบเขตของกิจการ หรือการขยายขนาดธุรกิจนั้นย่อมต้องเป็นเป้าหมายสูงสุดของผู้ก่อตั้งและเหล่านักลงทุน และแม้ว่าฟินเทคจะเป็นหนึ่งในกลุ่มของเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด รวมไปถึงความสามารถอย่างมหาศาลของฟินเทคที่จะเติบโตในภูมิภาคอาเซียนนี้ แต่การที่จะทำให้ธุรกิจภายในประเทศประเทศหนึ่งเติบโตขึ้นย่อมต้องอาศัยความสามารถในการขยายขอบเขต (Scale) ซึ่งเริ่มจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านแล้วจึงไปสู่ระดับโลก

โดยในงาน Techsauce Global Summit 2017 มีการอภิปรายถึงการขยายกิจการฟินเทคให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน ดำเนินรายการโดย Andy Disyadej กรรมการผู้จัดการของสมาคมฟินเทคประเทศไทย ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญและรู้รอบถึงความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนของ Fintech Startup Ecosytem โดยมีผู้ร่วมวงเสวนาดังนี้

  • Roy Teo ผู้อำนวยการและหัวหน้ากลุ่มฟินเทคและนวัตกรรมของธนาคารกลางสิงคโปร์ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลนวัตกรรมและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับฟินเทคในประเทศสิงคโปร์ ด้วยประสบการณ์ 20 ปีในการจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี การตรวจสอบเทคโนโลยี และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับ IT ในหลายภูมิภาคหลากประเทศ ก่อนจะมาเป็นผู้คุมบังเหียนในองค์กรปัจจุบัน
  • Felix Tan กรรมการผู้จัดการของ FinLab ซึ่งเป็น Fintech accelerator ในรูปแบบบริษัทเป็นแห่งแรกของสิงคโปร์ จากการร่วมทุนระหว่างธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) (UOB) และ SGinnovate  Felix จึงได้ทำงานร่วมกับหลายสตาร์ทอัพในการผลักดันเร่งการขยายธุรกิจเพื่อให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียนและตลาดโลก
  • Elena Ionenko ผู้ร่วมก่อตั้ง Turnkey Lender ซึ่งเป็นคลาวด์แพลตฟอร์มสำหรับการกู้ยืมเงิน โดยทำหน้าที่เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการบริหารสินเชื่อของผู้ให้กู้ออนไลน์ตั้งแต่ขนาดเล็กไปถึงขนาดกลาง โดย Elena นั้นเป็นผู้มีประสบการณ์และมีส่วนผลักดันการขยายขนาดของสตาร์ทอัพในแวดวงฟินเทคในระดับโลก 
  • เจมส์ รามา ปัทมินทรวิภาส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Channels & Digitalisation จากธนาคารยูโอบี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

คำถามแรกสำหรับคุณเอเลน่า ในฐานะที่ต้องการขยายธุรกิจของ Turnkey Lender ไปสู่ระดับโลก อะไรทำให้คุณตัดสินใจที่จะขยายและย้ายที่ตั้งมายังภูมิภาคเอเชีย?

เอเลน่า: เราก่อตั้งบริษัทของเราในยุโรปตะวันออก ซึ่งในขณะที่เรากำลังสร้างยอดขายมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ตระหนักได้ว่าเราสามารถที่จะขายโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในยุโรปตะวันตกและอเมริกาได้ แต่ไม่ใช่ที่เอเชีย ซึ่งตลาดอาเซียนนั้นเป็นตลาดที่มีโอกาสทางการตลาดสูงมากสำหรับเรา และการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวที่มากพอในตลาดนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ดังนั้น เราจึงตัดสินใจที่จะย้ายทีมบางส่วนมาที่นี่และเข้าร่วม FinLab accelerator ซึ่งฉันคงต้องขอให้ Felix อธิบายต่อว่าพวกเขาทำอะไรกันที่ FinLab

Felix คุณช่วยเล่าให้เราฟังได้ไหมว่า FinLab accelerator ทำอะไรบ้างในการช่วยเหลือสตาร์ทอัพอย่าง Turnkey Lender?

Felix: FinLab นั้นสนับสนุนสตาร์ทอัพต่างๆ ทั้งผ่านการช่วยเหลือโดยตรงและผ่านเครือข่ายขนาดใหญ่ของธนาคาร UOB และ SGinnovate โดยอันดับแรกเราเริ่มที่การพูดคุยกับเหล่าผู้ก่อตั้งบริษัทและช่วยพวกเขาสร้างเป้าหมายของแผนธุรกิจที่ชัดเจน จากนั้นเราจึงช่วยเปิดประตูให้กับสตาร์ทอัพต่างๆ ในการเข้าถึงบริษัทที่ใหญ่ที่สุดที่มีอยู่และทำให้แน่ใจว่าพวกเขาประสานกันอย่างรวดเร็วเพื่อจะได้ทำงานในโปรเจกต์ต่างๆ ร่วมกัน

ฟินเทคในภูมิภาคอาเซียนนั้นกำลังเติบโตและมีโอกาสมหาศาล ทั้งนโยบายและภาครัฐนั้นต่างก็พยายามเป็นอย่างมากในการสนับสนุนสตาร์ทอัพ ซึ่งผลประโยชน์ที่จูงใจเหล่านั้นไม่เพียงแต่เป็นที่น่าสนใจของโปรเจกต์ภายในประเทศ แต่ยังดึงดูดโปรเจกต์และทีมต่างๆ จากต่างประเทศอีกด้วย และสิ่งที่สำคัญมากสำหรับภาคการเงินในองค์รวมก็คือ นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สถาบันการเงินการธนาคารต่างๆ จะต้องตระหนักว่าระบบเก่านั้นควรจะต้องเปลี่ยนแปลงไป และพวกเขาก็ควรที่จะเต็มใจเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือกับเหล่าสตาร์ทอัพต่างๆ

นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สถาบันการเงินการธนาคารต่างๆ จะต้องตระหนักว่า ระบบเก่านั้นควรจะต้องเปลี่ยนแปลงไป และพวกเขาก็ควรที่จะเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง ในการร่วมมือกับเหล่าสตาร์ทอัพต่างๆ

[video width="960" height="540" mp4="https://techsauce.co/wp-content/uploads/2017/08/UOB-1.mp4"][/video]

3 ความท้าทายเบื้องต้นที่ต้องเผชิญในการการขยายตลาดของฟินเทคไปยังภูมิภาคอาเซียน

  1. กฎระเบียบที่ 'เป็นมิตรกับฟินเทค' อาจจะเปิดโอกาส แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเป็นอุปสรรคได้เช่นกัน

Felix ให้ความเห็นว่า กฎระเบียบต่างๆ นั้น จริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้เพียงแค่เปิดโอกาสให้สำหรับสตาร์ทอัพในภูมิภาคเท่านั้น แต่อาจจะกลายเป็นอุปสรรคบางอย่างที่สตาร์ทอัพจะต้องก้าวข้ามไปให้ได้เช่นกัน ซึ่งในภาคของฟินเทคนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่สูงมากสำหรับผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ จึงยากที่จะผ่อนคลายนโยบายต่างๆ ในทันทีทันใด แต่ในทางกลับกัน นี่เป็นกระบวนการที่ต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปและเป็นไปอย่างระมัดระวัง ดังนั้น บริษัทสตาร์ทอัพทั้งหลายจึงจำเป็นต้องเชี่ยวชาญเรื่องการสร้างเครือข่ายต่างๆ และด้านกฎหมายก็เช่นกัน เพื่อหาช่องทางที่ถูกจังหวะเวลาและสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท

  1. การศึกษาและความร่วมมือที่มากขึ้นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อก้าวข้ามกำแพงทางภาษาและวัฒนธรรม

Roy กล่าวว่าเป็นที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับปัญหาที่หลายๆ บริษัทมีเหมือนๆ กันคือ เรื่องของภาษา ผู้ก่อตั้งบริษัทในหลายประเทศยังคงเผชิญกับความยากลำบากในการทำงานและดำเนินธุรกิจของพวกเขาด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งนั่นก็ทำให้เป็นปัญหาสำหรับผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่กลัวการทำงานและดำเนินกิจการในอาเซียน เพราะความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมนี้เอง ทำให้ปัญหาเหล่านี้ยังคงต้องการได้รับการแก้ไขโดยการให้การศึกษาและความร่วมมือที่มากขึ้นใน ecosystem ทั่วโลก

  1. การใช้ข้อมูลในแวดวงฟินเทคนั้นเป็นเหมือนดาบสองคม ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจต่างๆ แต่ก็ต้องนำมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างมีดุลยพินิจเช่นกัน

หัวข้อที่ดีหัวข้อหนึ่งในการพูดคุยครั้งนี้คือ เรื่องของการใช้ข้อมูลในภาคธุรกิจฟินเทค โดยบริษัทฟินเทคต่างๆ นั้นสร้างข้อมูลมากมายที่ต้องการการจัดการอย่างเหมาะสม แต่ก็ต้องแบ่งปันกันภายใน ecosystem เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย

[video width="960" height="540" mp4="https://techsauce.co/wp-content/uploads/2017/08/UOB.mp4"][/video]

ผู้ร่วมอภิปรายทั้งหมดได้ให้ข้อสรุปตรงกันว่า ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่บริษัทฟินเทคจะมุ่งไปตามตลาดเฉพาะของพวกเขา ผู้ก่อตั้งบริษัทในอาเซียนนั้นอยู่ในจุดที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถจะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของทั้งภูมิภาคนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาต้องระมัดระวังหลุมพรางของกฎระเบียบต่างๆ และปรับตัวเข้ากับการพัฒนาใหม่ๆ ของตลาดให้ได้

เจมส์เล่าว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Alibaba และ Tencent นั้นแบ่งปันข้อมูลจำนวนมากกับสตาร์ทอัพซึ่งช่วยเร่งการพัฒนาของภาคธุรกิจโดยรวมเป็นอย่างมาก และเสนอมุมมองที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาของฟินเทคในประเทศไทยซึ่งมีความท้าทายในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้

  1. เพิ่มกลุ่มของคนที่มีความสามารถในด้านฟินเทคให้มากขึ้น
  2. ลดอุปสรรคทางภาษา โดยเฉพาะการใช้ภาษาอังกฤษ
  3. สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับการระดมทุนของฟินเทคในประเทศไทย
  4. มี mindset ที่พร้อมจะ scale up ตั้งแต่เริ่มต้น

นอกจากนี้ ธนาคาร UOB ยังมีเครือข่าย VC platform ที่ช่วยในการระดมทุนให้แก่สตาร์ทอัพต่างๆ ตั้งแต่ Seed stage ไปจนถึง Series ต่างๆ กระทั่ง Pre IPO อีกด้วย

[video width="960" height="540" mp4="https://techsauce.co/wp-content/uploads/2017/08/UOB-2.mp4"][/video]

และท้ายสุด Felix ฝากถึงสิ่งที่ Finlab มองหาในการเลือกสตาร์ทอัพมาเข้าร่วมใน accelerator โดยต้องมี

  1. Team ที่ดีมีประสบการณ์และรู้จักธุรกิจของตัวเองดีพอ
  2. Idea ที่น่าสนใจมากพอพร้อมกับความสามารถที่จะสามารถเติบโตได้
  3. Scalability ความสามารถในการสเกลได้ ไม่ใช่เพียงในประเทศ แต่อย่างน้อยต้องมีแนวโน้มในการขยายตัวอยู่ในระดับภูมิภาค

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...