ประกาศแล้ว ราชกิจจาฯ หนุนลงทุนรัฐ-เอกชน นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ | Techsauce

ประกาศแล้ว ราชกิจจาฯ หนุนลงทุนรัฐ-เอกชน นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีการประกาศราชกิจจานุเบกษา ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

ซึ่งสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์หรือหน้าที่และอำนาจ ร่วมลงทุนกับเอกชน เกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สรุปได้ดังนี้

1. ระเบียบนี้ใช้บังคับแก่ (1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (2) หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย และนวัตกรรมตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติกำหนด (3) หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กำหนด

2. วัตถุประสงค์การร่วมลงทุนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (1) สร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เชิงสังคมหรือเชิงสาธารณประโยชน์ (2) สร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน หรือสร้างให้เกิดธุรกิจฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่

3. รูปแบบการร่วมลงทุน (1) ร่วมลงทุนกับเอกชนจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (2) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (3) รูปแบบอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานเจ้าของโครงการ (4) หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ให้ดำเนินการร่วมลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์ ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้

4. วิธีการคัดเลือกเอกชน มาร่วมลงทุน (1) คัดเลือกจากเอกชนอย่างน้อย 3 ราย ที่เข้ายื่นข้อเสนอ ร่วมลงทุน โดยยึดหลักเกณฑ์การคัดเลือก ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมกับเอกชนทุกรายที่เข้ายื่นข้อเสนอ เอกชนที่ได้รับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติ ประสบการณ์ ความพร้อม และความสามารถในการเข้าร่วมลงทุนเหมาะสม ตามเกณฑ์ที่กาหนด (2) ใช้วิธีการเฉพาะเจาะจง โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการเชิญชวนเฉพาะเอกชนซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดรายใด รายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ

ทั้งนี้ การอนุมัติโครงการร่วมลงทุนพิจารณาความสอดคล้อง ของนโยบายการร่วมลงทุน ข้อเสนอและเงื่อนไขการร่วมลงทุน และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ แผนธุรกิจ และแผนการจัดการ ความเสี่ยง รวมถึงความพร้อมของผู้ร่วมทุนและประสบการณ์ โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดให้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนที่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นร่างสัญญา ที่เคยผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดด้วย

อ่านราชกิจจานุเบกษาเพิ่มเติมได้ที่ Ratchakitcha

ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริม เพิ่มพลังผลักดันงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์รองรับธุรกิจการนวัตกรรมที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว จึงชวนมาทำความรู้จักกับกลไกลของภาครับที่ใช้ส่งเสริมการร่วมลงทุนอย่าง Holding Company

กลไกส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน Holding Company

Holding Company เป็นกลไกส่งเสริมการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกจากหน่วยงานวิจัยของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัย ซึ่งจะต้องมีการบริหารงานแบบมืออาชีพ โดยจะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน มีความคล่องตัวสูงเหมาะกับธุรกิจนวัตกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งความจำเป็นของ Holding Company คือ

  1. เนื่องด้วยระบบราชการมีความไม่คล่องตัว ไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมที่มีความรวดเร็วได้จึงทำให้ต้องมีการบริหารงานแบบภาคเอกชน
  2. จะสามารถช่วยบริหารการลงทุนเพื่อนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัยออกไปจัดตั้งธุรกิจ
  3. สามารถลงทุนในงานวิจัยของผู้ประกอบการรายใหม่ให้ขยายผลและนำไปสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง
  4. เข้าถึงทรัพยากรของมหาวิทยาลัยและเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม และมีการสนับสนุนทางการเงินอย่างคล่องตัว

ภาพจาก สอวช

นับเป็นอีกหนึ่งนโยบายของภาครัฐที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการลงทุนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากมหาลัยไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง สอดรับกับรูปแบบเศรษฐกิจในยุคใหม่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SpaceVIP จัดทริปกินมื้อหรูระดับมิชลินบนอวกาศ สนนราคาต่อหัว 17.8 ล้านบาท

โอกาสสำหรับการทานอาหารสุดหรูบนอวกาศมาถึงแล้ว SpaceVIP เตรียมเปิดประสบการณ์การทานอาหารจากเชฟระดับ Michelin Star ที่ความสูงกว่า 100,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลในการผจญภัยบนขอบอวกาศ โอกา...

Responsive image

Rare Beauty จะเปลี่ยนเจ้าของ? แหล่งข่าวชี้ Selena Gomez เตรียมขายแบรนด์

Rare Beauty จะเปลี่ยนเจ้าของ? ข่าวจาก Bloomberg ออกมาว่าตอนนี้ Selena Gomez ได้เริ่มดำเนินการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนเพื่อประเมินมูลค่าแบรนด์แล้ว...

Responsive image

ลุยตลาด EV ปตท.ตั้งบริษัทลูก ‘X Mobility Plus’ เป็นดีลเลอร์ขายรถไฟฟ้าจีน XPENG

PTT ตั้งบริษัทลูก ‘X Mobility Plus’ เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า XPENG...