NTT DATA เผย Global Banking Research ชี้ว่า ใต้วิกฤต Covid องค์กรเน้นบูรณาการระบบดิจิทัล-ความยั่งยืนมากขึ้น | Techsauce

NTT DATA เผย Global Banking Research ชี้ว่า ใต้วิกฤต Covid องค์กรเน้นบูรณาการระบบดิจิทัล-ความยั่งยืนมากขึ้น

NTT DATA ผู้นำด้านธุรกิจดิจิทัลและบริการด้านไอทีชั้นนำระดับโลก เปิดผลการวิจัย Global Research into Corporate Banking's Future โดยเปรียบเทียบความต้องการของธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ กับการให้ความสำคัญในการลงทุนของธนาคารทั่วโลก ในปัจจุบันพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในวงการการเงินและธนาคารภายใต้วิกฤตโควิด-19 ที่เน้นบูรณาการระบบดิจิทัลและความยั่งยืนมากขึ้น ให้สอดคล้องกับคนกลุ่ม Millennium รุ่นใหม่ที่ดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กรเพิ่มขึ้นNTT DATA เปิดผลการวิจัย Global Research into Corporate Banking's Future เทียบความต้องการของธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ กับการให้ความสำคัญในการลงทุนของธนาคารทั่วโลก พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในวงการการเงินและธนาคารเน้นบูรณาการระบบดิจิทัลและความยั่งยืนมากขึ้น

คุณมิเกล มาส ผู้อำนวยการธุรกิจธนาคารทั่วโลก บริษัท เอ็นทีที เดต้า ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (NTT Data EMEA Ltd.) เปิดเผยถึงผลการงานวิจัย Global Research into Corporate Banking's Future เปรียบเทียบความต้องการขององค์กรขนาดใหญ่ กับสิ่งสำคัญในการลงทุนของธนาคารระดับโลก

ในปัจจุบัน พบว่าภายหลังวิกฤตโควิด-19  กลุ่มการเงินและธนาคารที่ให้บริการแก่ธุรกิจองค์กร ได้เปลี่ยนการทำงานเป็นแบบบูรณาการในรูปแบบดิจิทัลและเพิ่มความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้ากลุ่ม Millennium รุ่นใหม่ที่เริ่มมีตำแหน่งสูงขึ้นในองค์กร จากผลการวิจัยผู้มีอำนาจตัดสินใจระดับสูงจากธุรกิจธนาคารและองค์กรต่าง ๆ กว่า 880 คน จาก 12 ประเทศทั่วโลก เพื่อค้นหาแนวทางการปรับตัวในอนาคตของกลุ่มการเงินและธนาคารที่ให้บริการแก่ธุรกิจองค์กร พบว่าปัจจัยที่ทำให้พื้นฐานธุรกิจธนาคารเปลี่ยนไป เกิดจากการปรับใช้เทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และ Generation ที่เปลี่ยนไปของลูกค้า บวกกับการฟื้นตัวจากวิกฤตโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ หันมาสื่อสารกับธนาคารผ่านแอปพลิเคชันบนระบบ APIs หรือ Application Programming Interfaces ซึ่งเป็นการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันผ่านการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องมือและอุปกรณ์อินเทอร์เน็ต (M2M) มากขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับการสื่อสารแบบตัวบุคคลถึงตัวบุคคล (Person-to-person) ทั้งยังให้ความสำคัญกับขั้นตอนการนำกระบวนการแบบ Analog และสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลไปจนเสร็จสิ้น (End-to-end digitization) และสามารถส่งมอบบริการที่ลื่นไหล (Frictionless Banking)  มากกว่าการสร้างความสัมพันธ์ผ่านตัวบุคคลซึ่งเป็นภาพลักษณ์แบบเดิม 

ทั้งนี้ 85% ของธุรกิจธนาคารรายงานว่ากำลังเพิ่มประสิทธิภาพพอทัล (Portal) ต่าง ๆ ของธนาคารให้ดียิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภค

“จากงานวิจัยพบว่าอนาคตของกลุ่มการเงินและธนาคารที่ให้บริการแก่ธุรกิจองค์กร จะเป็นการทำงานแบบบูรณาการ ดิจิทัล และยั่งยืนมากขึ้น ถึงแม้กฎเกณฑ์ใหม่ๆมีส่วนขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง แต่แท้จริงแล้วการเปลี่ยนเจเนอเรชันต่างหากที่กำหนดว่าธนาคารควรปฏิบัติงานอย่างไร ปัจจุบันกลุ่มการเงินและธนาคารที่ให้บริการแก่ธุรกิจองค์กรมีความรวดเร็วมากขึ้น เช่นเดียวกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น เห็นได้ว่าธนาคารต่าง ๆ เริ่มหันมาลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Ai และ Automation ซึ่งล้วนมาจากความต้องการของผู้บริโภค” คุณมิเกล กล่าว

NTT DATA เปิดผลการวิจัย Global Research into Corporate Banking's Future เทียบความต้องการของธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ กับการให้ความสำคัญในการลงทุนของธนาคารทั่วโลก พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในวงการการเงินและธนาคารเน้นบูรณาการระบบดิจิทัลและความยั่งยืนมากขึ้น

ทั้งนี้ งานวิจัยได้แนะให้ธนาคารผสานบริการเข้ากับความต้องการของผู้บริโภค ที่ปัจจุบันความต้องการขององค์กรได้เปลี่ยนจากธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมจาก Products เงินทุนหมุนเวียน (Working capital products) ไปสู่หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured products) รวมทั้งเทคโนโลยีก็เปลี่ยนไปแล้วเช่นกัน เราจึงเห็นธนาคารเริ่มนำระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในการทำงานมากขึ้น รวมทั้งการใช้โมเดล Advanced Machine learning ในงานต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเครดิต 

ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าธนาคารควรฟังเสียงจากกลุ่มลูกค้าองค์กร และความต้องการเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อส่งมอบบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างตรงจุด อาทิ 70% ของกลุ่มบริษัทรับเหมาก่อสร้างยังคงต้องการ Solution ด้านการกู้เงิน และการบริหารเงินสดขององค์กรแบบ Omni-channel แต่บริการดังกล่าวกลับไม่ถูกผสมผสานเข้ากับแพลตฟอร์มของธนาคารพาณิชย์

อีกทั้งแนวคิด ESG (Environmental, social and corporate governance) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อกลุ่มการเงินและธนาคารที่ให้บริการแก่ธุรกิจองค์กร ผู้กำหนดกฎเกณฑ์และนโยบายต่างเรียกร้องให้มีการนำ ESG มาปรับใช้มากขึ้นเพื่อมุ่งสู่โลกแห่งอนาคต แม้จะทราบดีว่าการเดินหน้าสู่แนวคิดเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low-carbon economy) จะเพิ่มความยุ่งยากให้กับธุรกิจบริการด้านการเงิน ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงจากบริการที่เปลี่ยนไป

ทั้งนี้ องค์กรต่าง ๆ ต้องการทำธุรกรรมกับธนาคารที่สะท้อนมุมมองและความเชื่อของตน ด้วยลูกค้าในกลุ่มธุรกิจองค์กรรุ่นใหม่ เริ่มให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน จากผลการวิจัยพบว่า 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มองค์กรต้องการให้ธนาคารของตนลงทุนในผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความยั่งยืนมากขึ้น โดย 44% ของธุรกิจธนาคารเริ่มลงทุนในด้านดังกล่าวแล้ว

 “ความยั่งยืนคือกุญแจสำคัญในการแข่งขัน องค์กรเกือบครึ่งต่างต้องการให้ธนาคารของตนลงทุนในด้านนี้เพิ่มขึ้น และธนาคารที่มีวิสัยทัศน์ได้เริ่มสร้างทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน ESG เพื่อตอบโจทย์นี้แล้ว ทั้งความยั่งยืนยังเป็นโอกาสสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจเหนือคู่แข่งอีกด้วย” คุณมิเกลกล่าวทิ้งท้าย

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

One Bangkok พัฒนากรุงเทพฯ ชูแนวคิด “The Heart of Bangkok” เมืองที่ใช้ใจสร้าง

วัน แบงค็อก พลิกโฉมวงการอสังหาฯไทย ด้วยการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ ปักหมุด “เมืองกลางใจ” หรือ The Heart of Bangkok เมืองที่ใช้ใจสร้าง พร้อมเผยประสบการณ์ชอปปิ้งและไลฟ์สไตล์ระดับโลก เตรีย...

Responsive image

Indorama Ventures ออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้าน ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน

Indorama Ventures ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศความสำเร็จในการระดมทุน 1 หมื่นล้านบาท ผ่านการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนร...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...