เคยเป็นไหม เวลานั่งประชุมของบริษัท แล้วเพื่อนร่วมงานกว่าครึ่งไม่มีสมาธิจดจ่อ ต่างก้มหน้าก้มตาอยู่กับมือถือ หรือเอางานอื่นขึ้นมาทำแทนที่จะจดจ่อกับการประชุม
เคยเป็นไหม เวลาที่จะตั้งใจลงมือทำโปรเจคใหญ่ นั่งทำได้ไม่นาน สักพักก็ค้นพบว่าตัวเองเปิดโซเชียลมีเดีย นั่งอัพไอจีสตอรี่ หรือทำอย่างอื่นมากกว่าสิ่งที่เราวางแผนจะทำในตอนแรกอยู่ดี
จริงๆ แล้ว เราต้องกล่าวโทษเทคโนโลยีที่เป็นต้นเหตุสร้างสิ่งล่อตาล่อใจ ทำให้ไขว้เขว ไม่ให้เราจดจ่อกับสิ่งที่ทำตรงหน้าหรือเปล่า หรือมันมีอะไรที่ลึกซึ้งกว่านั้น?
ทำไมเราไม่ทำในสิ่งที่เราต้องทำให้ ทั้งๆ ที่รู้ว่าควรจะทำอะไรตั้งแต่แรก?
งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีความสามารถในการจดจ่อนั้นจะได้เปรียบในการแข่งขันทั้งในการทำงานและในชีวิต อย่างไรก็ตามในยุคที่มีสิ่งล่อตาล่อใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะทำงานอย่างมีสติและประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร?
Nir Eyal ผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง Hooked: How to Build Habit-Forming Products จะทำอย่างไรให้ลูกค้าติดและกลับมาใช้ Product ซ้ำๆ โดย Indistractable: How to Control Your Attention and Choose Your Life คือผลงานหนังสือเล่มใหม่ เป็นทั้งคู่มือและชุดเครื่องมือสำหรับการเอาชนะความฟุ้งซ่านและนำไปสู่ชีวิตที่เติมเต็มมากขึ้น หนังสือว่าด้วยเรื่องของเทคนิคการจัดการกับสิ่งล่อตาล่อใจ การบริหารจัดการเวลาในยุคดิจิทัล ไปจนถึงจะทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่า Distraction คืออะไร
Distraction แปลเป็นภาษาไทยแบบตรงตัวได้ว่า ความวอกแวก, ความว้าวุ่นใจ, สิ่งที่ทำให้ไขว้เขว หรืออะไรก็ตามที่จะดึงเราออกจากสิ่งที่เราวางแผนจะทำตั้งแต่แรก
Nir บอกว่า คำตรงข้ามของ Distraction นั้นไม่ใช่คำว่า Focus แต่คือคำว่า Traction หรือ การไม่วอกแวก, การอยู่ในร่องในรอย นั่นเอง
Traction คือ แรงฉุดคือการกระทำใดๆ ที่จะดึงเราไปสู่สิ่งที่เราต้องทำ สิ่งที่เราต้องการทำด้วยความตั้งใจ
การที่แต่ละคนใช้เวลาหมดไปกับแต่ละสิ่งนั้นก็มีความสำคัญไม่เท่ากัน
เรื่องไร้สาระของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน เช่น การที่นาย A ใช้เวลา 3 ชั่วโมงหมดไปกับการเล่นเกม อาจจะดูเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับ B ที่ใช้เวลาเท่ากันหมดไปกับการดูกีฬาก็ได้
“ถ้ากิจกรรมอะไรที่ผู้ทำมีความตั้งใจที่จะใช้เวลานั้น และมันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเขา นั่นก็เป็นการฆ่าเวลาที่สมเหตุสมผล”
อะไรๆ ก็กลายเป็นสิ่งที่ทำให้ไขว้เขวได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่ได้วางแผนว่าจะใช้เวลาหมดไปกับมัน นั่นคือสิ่งที่ทำให้ไขว้เขวทั้งหมด
คำถามก็คือ ทำไมเราถึงทำกิจกรรมที่จะเป็นการดึงเราเข้าหาสิ่งที่ต้องทำ (traction) หรือ ดึงเราออกออกจากสิ่งที่ต้องทำ (distraction) ด้วย?
Nir บอกว่าตัวกระตุ้นที่จะทำให้เราวอกแวกนั้น มีทั้งแรงกระตุ้นภายนอก (External Triggers) และแรงกระตุ้นภายใน (Internal Triggers)
External Triggers คือสิ่งกระตุ้นต่างๆ ในสภาพแวดล้อมภายนอก ที่จะทำให้เราไขว้เขว เช่น การแจ้งเตือน notification, เสียงรถในถนน, เสียงเพื่อนร่วมงานคุยโทรศัพท์ และอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม แม้เราจะตำหนิสิ่งกระตุ้นภายนอกมากแค่ไหน แต่ปรากฎว่าสิ่งที่จะเป็นตัวทำให้วอกแวก ที่ค้นพบบ่อยที่สุดนั้นไม่ใช่สิ่งที่มาจากภายนอก แต่มาจาก 'ภายในตัวเรา' ต่างหาก
Internal Triggers คือ สภาวะภายในที่อึดอัดที่เราพยายามหลีกหนี
ทำไมเราทำสิ่งที่ขัดกับผลประโยชน์ของเรา? แทนที่จะทำ presentation หรือเตรียม speech สำคัญ แต่กลับใช้เวลาหมดไปกับการดูวิดีโอใน YouTube
เราอาจจะต้องกลับไปยังคำถามที่ว่า ทำไมเราถึงเลือกทำแต่ละสิ่งตั้งแต่ต้น
ทุกๆ สิ่งที่เราเลือกทำตอนวอกแวก เราทำด้วยเหตุผลเดียว นั่นก็คือ “เพื่อหลีกหนีจากความอึดอัด"
เวลาที่เราเบื่อจากงาน เราก็ไปเล่น Facebook, Instagram, Twitter, YouTube ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดนี้ ออกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยให้คนหลีกหนีจากสิ่งที่ทำให้อึดอัดหรือไม่สบายใจ ถ้าเป็นแบบนั้น เราสามารถสรุปได้เลยไหมว่า พฤติกรรมทั้งหมดที่เกิดจากความต้องการที่จะหลีกหนีจากความรู้สึกไม่สบาย นั่นหมายความว่า “การบริหารจัดการเวลาคือการบริหารจัดการความเจ็บปวด”
ถ้าเป็นแบบนั้นก็แปลว่า เทคนิคการบริหารจัดการเวลา พวก life hacks ต่างๆ นั้นใช้ไม่ได้ผล เว้นแต่เราจะทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานก่อนว่า “การบริหารเวลาคือการจัดการกับความเจ็บปวด” ถ้าเราไม่จัดการกับเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องการหลบหนี ทำไมเราถึงคิดฟุ้งซ่านตั้งแต่แรก ทำไมเราถึงอยากถอดใจจากความรู้สึกอึดอัด เราก็จะไม่สามารถหลีกหนีจากความฟุ้งซ่านได้อย่างแท้จริง
ใครที่เป็นแฟนหนังสือ ‘Hooked’ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าติดและกลับมาใช้ Product ซ้ำๆ หรือ 'Indistractable'ซึ่งเป็นหนังสือขายดีอีกเล่มของ Nir Eyal พลาดไม่ได้! มาฟังเขาพูดแบบเต็มๆ ว่าด้วยเรื่องเทคนิคการจัดการกับสิ่งล่อตาล่อใจ การบริหารจัดการเวลาในยุคดิจิทัล และจะทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้ที่ Techsauce Global Summit งานนี้เท่านั้น!
จำหน่ายบัตรแล้ววันนี้ ซื้อบัตรได้ที่ https://bit.ly/3aLRA9x
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน เข้าไปได้ที่ https://bit.ly/2DHeZNr
Sign in to read unlimited free articles