‘นวัตกรรม’ ทางออกสำคัญของสิ่งแวดล้อม เมื่อธุรกิจช่วยแก้ปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพใน APAC ได้ | Techsauce

‘นวัตกรรม’ ทางออกสำคัญของสิ่งแวดล้อม เมื่อธุรกิจช่วยแก้ปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพใน APAC ได้

เอเชียแปซิฟิก ภูมิภาคที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพประจำท้องถิ่นที่หาที่ไหนไม่ได้ในโลก กลายเป็นศูนย์กลางของวิกฤตการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและธรรมชาติ เนื่องจากภูมิภาคนี้มีจุดร้อนที่กระจุกตัวในวงกว้างที่สุดในโลกโดยมีทุนทางธรรมชาติลดลง และหากสถานการณ์นี้ยังไม่เปลี่ยน อาจส่งผลให้สัตว์ทุกสายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูญพันธุ์ถึง 42% โดยครึ่งหนึ่งจากตัวเลขนี้จะสูญพันธุ์จากโลกเลยทีเดียว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับเอเชียแปซิฟิก และโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมจะสามารถปลดล็อกการลงทุนที่จำเป็นต่อการรีเซ็ตความสัมพันธ์ระหว่างเรากับโลกใบนี้

ภาพจาก: Ecosperity Week 2021

ข้อมูลเหล่านี้เป็นผลการค้นพบในรายงานฉบับใหม่ของ AlphaBeta, Temasek และ World Economic Forum หัวข้อ "New Nature Economy: Asia's Next Wave" ซึ่งเปิดตัวในงาน Ecosperity Week ประจำปีพ.ศ. 2564 รายงานดังกล่าวจัดทำกรณีศึกษาทางธุรกิจเพื่อการแก้ปัญหาที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติในภูมิภาค โดยการสำรวจความเสี่ยง โอกาส และการจัดหาเงินที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ

ภัยต่อธรรมชาติคือภัยต่อธุรกิจ

ระบบเศรษฐกิจและสังคมหลัก 3 ระบบในเอเชียแปซิฟิกเป็นภัยคุกคามต่อธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็เป็นโอกาสที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติเช่นกัน ซึ่งโอกาสเหล่านี้มีมูลค่ารวมกันอยู่ที่ 4.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 14% ของ GDP เอเชียแปซิฟิกในปีพ.ศ. 2562

  • แนวปฏิบัติตามปกติในระบบการใช้อาหาร ที่ดิน และมหาสมุทรของเรานั้นไม่ยั่งยืน เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีเพาะปลูกและจับปลา รวมถึงปริมาณอาหารและเสื้อผ้าที่เราใช้ เมื่อประเมินจากความท้าทายในการรักษาความเป็นอยู่ประชากรในภูมิภาค ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นแตะหลัก 5.5 พันล้านคนภายในปี 2593

    ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้อง "สงวน" ธรรมชาติ โดยอนุรักษ์ดินและน้ำให้ไว้ตามสภาพธรรมชาติมากขึ้น เพื่อให้ระบบนิเวศทางธรรมชาติเจริญเติบโต และ "แบ่งปัน" พื้นที่กับธรรมชาติ โดยทำให้พื้นที่ทำกินและการใช้น้ำเอื้ออำนวยต่อความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น การบรรลุวัตถุประสงค์ 2 ประการนี้จะต้องมีการดำเนินการและขยายโอกาสทางธุรกิจ 28 รายการ โดยจะสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้มากกว่า 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการจ้างงานราว 118 ล้านตำแหน่ง

  • ขณะเดียวกันการเติบโตของเมืองกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างอย่างรวดเร็วและมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายอย่างมากต่อธรรมชาติและมนุษยชาติ ปัจจุบัน เมืองที่เผชิญกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด 100 แห่งนั้นอยู่ในเอเชียถึง 99 แห่ง[4] และในขณะที่การขยายตัวของเมืองยังคงทวีความรุนแรงขึ้น การสูญเสียทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอันเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง จะเพิ่มขึ้นต่อไปหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการดูแล

    สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างจะต้องเป็นมิตรกับธรรมชาติและสัตว์ป่ามากขึ้น และเปลี่ยนแปลงผลกระทบด้านลบต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบในคราวเดียวกันด้วย ซึ่งการบรรลุเป้าหมายนี้จำเป็นต้องมีการดำเนินการและขยายโอกาสทางธุรกิจ 16 รายการ โดยจะสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้กว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และสร้างงานใหม่ราว 65 ล้านตำแหน่ง

  • ในขณะที่ระบบพลังงานและการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ (Extractives) คือตัวขับเคลื่อนการเติบโตของภูมิภาคนั้น ภาคพลังงาน ไฟฟ้า และอุตสาหกรรม คิดรวมเป็น 79% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเอเชียแปซิฟิก ดังนั้น การเสนอการเข้าถึงพลังงานที่เชื่อถือได้พร้อมกับบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนในภูมิภาคจึงเป็นความท้าทายที่สำคัญ และการตอบสนองความต้องการของภูมิภาคตามภาวะของโลก จะต้องทบทวนระบบพลังงานและการนำทรัพยากรไปใช้ทั้งหมดอย่างสิ้นเชิง

    เราจำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการบริโภคเพื่อลดการใช้ทรัพยากร พัฒนาวิธีการนำทรัพยากรเหล่านั้นไปใช้เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศให้เหลือน้อยที่สุด และเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้นโดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศอีก ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายเหล่านี้จะต้องมีการดำเนินการและขยายโอกาสทางธุรกิจ 15 รายการ โดยจะสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้มากกว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และสร้างงานใหม่ราว 49 ล้านตำแหน่ง

โดยรวมแล้ว การปลดล็อกโอกาสทางธุรกิจที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ 59 รายการในทั้ง 3 ระบบนี้จะต้องใช้เงินลงทุน 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แม้จะเป็นจำนวนเงินที่มากแล้ว แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในเงินลงทุนทั้งหมด 31.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐที่ประกาศโดยประเทศสมาชิก 45 ประเทศของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19

"เราต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงครึ่งหนึ่ง เริ่มรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิมภายในปีพ.ศ. 2573 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบร้ายแรง และเราสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ด้วยรูปแบบธุรกิจใหม่ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้" ดร. Steve Howard ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของ Temasek กล่าว "กลุ่มธุรกิจและการลงทุนต้องทำงานร่วมกับรัฐบาลและภาคประชาสังคม เราจึงจะสามารถปลดล็อกเงินทุนเพื่อช่วยขับเคลื่อนการเติบโตที่จะส่งมอบให้กับผู้คน โลก และเศรษฐกิจร่วมกัน"

นวัตกรรมและความร่วมมือที่จำเป็นต่อการเร่งการลงทุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ

ในการสำรวจพิเศษที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานฉบับนี้ นักลงทุนและผู้นำธุรกิจทั่วเอเชียแปซิฟิกได้ระบุความท้าทายหลักที่ต้องเอาชนะเพื่อที่จะบรรลุรูปแบบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ โดยอุปสรรคเหล่านี้สามารถแบ่งเป็น 4 ด้านกว้าง ๆ ได้แก่ ความท้าทายด้านกฎระเบียบ อุปสรรคทางตลาด ช่องว่างของข้อมูล และการขาดปัจจัยสนับสนุนการลงทุน

ผู้นำธุรกิจและชุมชนได้เสนอโซลูชันนวัตกรรมมากมาย เพื่อกระตุ้นการลงทุนที่จำเป็นในทศวรรษหน้าเพื่อเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ ซึ่งคำแนะนำ 3 อันดับแรก มีดังนี้

  • โมเดลการกำหนดราคาภายนอกแบบใหม่ เพื่อจับต้นทุนที่แท้จริงของทุนทางธรรมชาติและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • มาตรฐานการรายงานความหลากหลายทางชีวภาพที่สอดคล้องกัน เพื่อรับรองความรับผิดชอบต่อเป้าหมายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และ
  • ผลิตภัณฑ์และกลไกทางการเงินรูปแบบใหม่ เช่น โมเดลการเงินแบบผสมผสาน ตลอดจนกฎระเบียบเพื่อบังคับใช้การปฏิบัติตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและในอนาคต

นอกจากนี้ การวิจัยและพัฒนาที่มากขึ้น รวมถึงการเจรจาระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่มากขึ้น จะมีความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนในเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ

"การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างความตกตะลึงจนทำให้เราต้องทบทวนอย่างหนักเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เราต้องจัดสรรการลงทุนอย่างเหมาะสมสำหรับการปกป้อง การฟื้นฟู และการจัดการต้นทุนทางธรรมชาติที่ยั่งยืน รวมถึงการประเมินมูลค่าบริการของระบบนิเวศเพื่อฟื้นคืนสู่อนาคตที่ยืดหยุ่น" Akanksha Khatri หัวหน้าฝ่าย Nature Action Agenda ของ World Economic Forum กล่าว "การวิจัยของเราและการมีส่วนร่วมกับรัฐบาล ภาคเอกชน นักลงทุน และภาคประชาสังคม เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างเส้นทางความร่วมมือใหม่ ๆ สำหรับเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ"

"การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและธรรมชาติ เป็นความกังวลหลักสำหรับธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมดบ่งชี้ว่า การดำเนินงานตามปกติไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป" ดร. Fraser Thompson ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของ AlphaBeta กล่าว "อย่างไรก็ตาม ข่าวดีก็คือรายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจมีแนวทางที่ไม่เพียงแค่ช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและมีส่วนร่วมกับธรรมชาติโดยตรงเท่านั้น แต่ยังสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ที่สำคัญด้วย ซึ่งความร่วมมือหลายฝ่ายระหว่างธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคมในเอเชียแปซิฟิก จะปลดล็อกโอกาสที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติเหล่านี้ได้"

ดาวน์โหลดรายงานของ AlphaBeta, World Economic Forum และ Temasek ได้ที่ https://bit.ly/NewNatureEconomy 



Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

One Bangkok พัฒนากรุงเทพฯ ชูแนวคิด “The Heart of Bangkok” เมืองที่ใช้ใจสร้าง

วัน แบงค็อก พลิกโฉมวงการอสังหาฯไทย ด้วยการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ ปักหมุด “เมืองกลางใจ” หรือ The Heart of Bangkok เมืองที่ใช้ใจสร้าง พร้อมเผยประสบการณ์ชอปปิ้งและไลฟ์สไตล์ระดับโลก เตรีย...

Responsive image

Indorama Ventures ออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้าน ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน

Indorama Ventures ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศความสำเร็จในการระดมทุน 1 หมื่นล้านบาท ผ่านการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนร...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...