'Myanmar Startup Ecosystem' ดินแดน Startup หน้าใหม่ที่น่าจับตา กับโอกาสของคนที่ต้องการเพิ่มตลาดในพม่าต้องรู้

'Myanmar Startup Ecosystem' ดินแดน Startup หน้าใหม่ที่น่าจับตา กับโอกาสการขยายตลาดในพม่าที่ต้องรู้

ภาพรวมของ Startup ในพม่ามีการเติบโตอีกทั้งตลาดได้มีการเปิดกว้างมากขึ้นหลังจากเปิดประเทศ อย่างไรก็ตาม ตลาดนั้นยังคงเล็กอยู่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน  ไม่นานมานี้ Techsauce ได้มีโอกาสพูดคุยกับ Rita Nguyen ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Jzoo ผู้ให้บริการด้าน Digital Consumer โดยใช้กลยุทธ์ Loyalty Program เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ค้าและผู้บริโภค ซึ่งเปิดโอกาสให้เหล่าผู้ค้าปลีกทำการปรับสู่ระบบดิจิตัลได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นความรู้ด้านเทคโนโลยีมาก่อน ซึ่ง Rita ถืออีกเป็นบุคคลสำคัญที่เข้าใจตลาดในพม่าเป็นอย่างดี ใครที่กำลังมองพม่าเป็นอีกหนึ่งตลาดในการทำธุรกิจในอนาคต มาดูกันว่ามีอะไรที่ควรรู้บ้าง

Customer Insight พฤติกรรมผู้บริโภคที่ควรรู้

  • Facebook ถือเป็น Platform ที่คนพม่าใช้ในการบริโภคคอนเทนต์เป็นหลัก อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งหาข้อมูลแทนบราวเซอร์อินเตอร์เน็ตอื่นๆ
  • แอปพลิเคชันที่เป็นที่นิยมได้แก่ Viber ใช้ในการส่งข้อความ และ Grab ใช้ในการเรียกรถและการเดินทาง
  • ตลาดอีคอมเมิร์ชยังคงเล็กอยู่ เนื่องจากคนส่วนใหญ่นิยมใช้ Facebook ในการบริโภคคอนเทนต์มากกว่าจะดาวน์โหลดแอพพลิชันอื่นๆ เนื่องจากยังอยู่ในช่วง Early stage ของตลาดอีคอมเมิร์ช อีกทั้งคนพม่าได้ใช้ Facebook ในการซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นหลัก เว็บขายสินค้ายังคงมีไม่มากนัก ซึ่งผู้ที่ให้บริการในขณะนี้ได้แก่ Barlolo และ Shop.com.mm

VC, CVC และ Angel Investor

  • Seed Myanmar ได้ทำการลงทุนในหลากหลายธุรกิจอีกทั้งเป็นผู้ที่มีความ active ที่สุด
  • Phandeeyar ได้ทำการลงทุน Startup เช่นกัน เป็นการให้เงินสนับสนุน 25,000 ดอลลาห์สหรัฐในโครงการ Accelerator
  • BOD Tech เน้นการลงทุนไม่เพียงเฉพาะธุรกิจในด้าน Software development เท่านั้น ยังรวมไปถึงด้าน People development, Social development และ Nation development อีกด้วย
  • Delta Capital Myanmar ทำการลงทุนในสตาร์ทอัพตั้งแต่กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค, เทคโนโลยี, การสื่อสาร, การเงินการธนาคาร, สุขภาพ ไปจนถึงการบริการและการท่องเที่ยว
  • Emerging Markets Entrepreneurs (EME) เป็น VC ที่ทำการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย โดยให้เงินสนับนุนตั้งแต่ 25,000 – 250,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • MYEA Angel Network  ของ Myanmar Young Entrepreneur’s Association (MYEA) ทำการลงทุนใน local startups จากสมาชิกกว่า 1,000 ราย โดยในอนาคตได้มีการวางแผนทำ Incubation center และ Co-working space เป็นของตัวเอง

Incubator และ Accelerator

  • Impact Hub  เป็น Innovation Lab หน่วยบ่มเพาะธุรกิจ และคอมมูนิตี้สำหรับกิจการเพื่อสังคม
  • Lithan Tech UP เป็นโครงการ Acccelerator ที่จะช่วยผู้ประกอบการหน้าใหม่ในการเริ่มต้นธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น แม้ว่าจะยังไม่มีไอเดียในการทำสตาร์ทอัพก็ตาม
  • Myanmar ICT Development Corporation ถือเป็นอีกผู้เล่นสำคัญในด้าน ICT Development ในพม่า เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคเอกชน
  • Phandeeyar Accelerator เป็นโครงการ Accelerator โดยตลอดระยะเวลา 6 เดือนของโครงการเหล่าสตาร์ทอัพจะได้รับการเทรนจากเหล่าเมนเทอร์ และฝึกทำการ pitch กับนักลงทุน
  • Rockstart Impact อีกหนึ่งโครงการ Accelerator ที่มีมุ่งเน้นไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา โดยมีความต้องการในการลดช่องว่างระหว่างผู้ประกอบการและนักลงทุน
  • Spring Accelerator มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เด็กผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียใต้และในแถบแอฟริกาตะวันออก
  • UMG Idealab Incubator อีกหนึ่ง Startup Incubator โปรแกรมที่จะช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

Co-working Spaces ที่น่าจับตามอง

Impact Hub  เครือข่ายที่มุ่งสร้างคอมมูนิตี้สำหรับผู้ประกอบการ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียเป็นหน่วยงานหลักของเครือข่ายฮับทั่วโลก

Phandeeyar ศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีของพม่า ที่นอกจากจะมีโปรแกรม Accelators แล้วมีการจัดเทรนนิง, เวิร์คช็อป และการแข่งขันสำหรับเหล่า Startup ให้ได้เข้ามาประลองฝีมือกันอยู่เรื่อยๆ

สื่อด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจ

ด้านสื่อในพม่า ยังไม่มีสำนักข่าวไหนที่นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีและด้าน Startup โดยเฉพาะ โดยผู้ที่ต้องการอัพเดทข่าวสารในตลาดพม่าสามารถติดตามได้จาก Dealstreet AsiaDuwun, และ Momolay

นอกจากนี้ Tech Conference ที่เปิดโอกาสให้เหล่า Startup ได้มาแข่งขันยังคงมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตามได้มีการตั้งเป้าให้เหล่า Startup ได้ scale และเชื่อมโยง Community ของพม่าสู่ระดับโลก โดยจะเห็นได้จากโครงการ Accelerators ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น

ความท้าทาย

โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเติบโตของ Startup ถือว่าพัฒนาขึ้นมาก เนื่องจากมีการใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์อย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษายังคงเป็นอุปสรรคเนื่องจากขาดแคลนสถาบันหรือองค์กรที่สอนทักษะเกี่ยวกับ Tech ยังมีความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถด้าน Developer และดีไซน์ เช่น UX และ UI

เรื่องเงินระดมทุนนั้นไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ แต่กลับเป็นเรื่องของการที่หา Startup ที่จะลงทุนต่างหาก เนื่องจากไม่ใช่แค่จะให้เงินทุนเท่านั้น แต่ต้องให้การสนับสนุนในภายหลังอย่างต่อเนื่องด้วย หากมองในเรื่องเงินทุน พม่ายังคงขาด Angel Investors ที่ให้การสนับสนุนระดับ Seed อีกทั้งเมนเทอร์ที่จะเป็นแกนสำคัญในการช่วยให้ Startup ประสบความสำเร็จ ในตอนนี้การที่ Startup จะ scale ออกนอกประเทศได้นั้น หลายผู้ประกอบการยังคงต้องมองหาเงินทุนนอกประเทศเป็นส่วนใหญ่ ในอนาคตอันใกล้ แน่นอนว่า Startup ในพม่ามีแนวโน้มที่สดใส อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ยังคงต้องได้รับการพัฒนาและสนับสนุนในเรื่องของการศึกษา ความรู้ และเงินทุนจากภาคส่วนต่างๆ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก Startup Business Canvas, YGN Startup Ecosystem ผู้ทำการรวบรวมข้อมูลนำโดย Building Markets Myanmar และ Global Entreprenuership Network ด้วยความสนับสนุนจากองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในพม่าหรือ U.S. Agency for International Developement to Burma (USAID Burma)

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...