mRNA คืออะไร ต่างจากการผลิตวัคซีนโควิดวิธีอื่นอย่างไร สรุปไว้ในโพสต์เดียว | Techsauce

mRNA คืออะไร ต่างจากการผลิตวัคซีนโควิดวิธีอื่นอย่างไร สรุปไว้ในโพสต์เดียว

ก่อนหน้านี้ Techsauce ได้มีการรวบรวมข้อมูลวัคซีน COVID-19 กว่า 7 บริษัทจากทั่วโลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการผลิต ประสิทธิภาพการป้องกันกับไวรัสดั้งเดิม และไวรัสกลายพันธุ์ชนิดต่าง ๆ รวมถึงผลข้างเคียงหลังจากที่ได้รับวัคซีน (ติดตามที่นี่) กันไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันด้วยการกระจายวัคซีนทั่วโลก หลายประเทศได้มีการยอมรับว่าวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA นั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัส COVID-19 ได้มากที่สุด ซึ่งมีผู้ผลิต 2 เจ้า คือ Pfizer-BioNTech และ Moderna ซึ่งส่งผลให้ความต้องการจากทั่วโลกนั้นล้นหลามมาก ในบทความนี้ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับ mRNA และเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างกับการผลิตวัคซีนด้วยวิธีอื่น ๆ ด้วย

mRNA

ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA

   วัคซีนที่ใช้ : Pfizer-BioNTech, Moderna

    ลักษณะและการทำงานวัคซีน : วัคซีนประเภท mRNA จะประกอบไปด้วยสารพันธุกรรมที่เรียกว่า mRNA  เมื่อฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย สาร mRNA จะสั่งการให้เซลล์ร่างกายผลิตหนามโปรตีนที่ใกล้เคียงกับไวรัสขึ้นมาเอง เมื่อผลิตโปรตีนขึ้นมาแล้ว เซลล์ในร่างกายจะผลิตแอนติเจน ระบบภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อโปรตีนนี้คือสิ่งแปลกปลอม จากนั้นแอนติเจนก็จะผลิตแอนติบอดีเพื่อกำจัดหนามโปรตีนดังกล่าวออกไป เมื่อไวรัสโควิด-19 ของจริง เข้าร่างกายร่างกายจะจดจำเชื้อได้และสามารถจัดการได้ในทันที 

    ข้อดี : ผลวิจัยจากมูลนิธิเพื่อการทำงานของประชากรและสุขภาพของประชากร (PHG) ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เผยว่าวัคซีน mRNA มีความปลอดภัยสูง เพราะไม่มีเชื้อไวรัสที่มีชีวิตหลงเหลือ ไม่เกิดความเสี่ยงต่อร่างกาย เชื่อถือได้ และผลิตได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย

   จุดท้าทาย: อาจมีผลข้างเคียง  และต้องเก็บรักษาอย่างดีเพื่อคงประสิทธิภาพวัคซีน

ผลิตจากเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว

    วัคซีนที่ใช้: Sinopharm, Sinovac

    ลักษณะและการทำงานของวัคซีน : ใช้ไวรัสโควิด-19 ที่อ่อนแอลงหรือตายแล้วมากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน 

    ข้อดี : GAVI (Global Alliance for Vaccine and Immunization) องค์กรความร่วมมือด้านสาธารณสุขระดับโลกระหว่างรัฐและเอกชน เผยว่าเป็นวัคซีนที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อีกทั้งผลิตได้ง่ายกว่าวิธีอื่น 

    จุดท้าทาย : ควรปรับปรุงประสิทธิภาพวัคซีนอย่างสม่ำเสมอให้ทันต่อการกลายพันธุ์ไวรัส

ผลิตโดยเวกเตอร์ไวรัส

    วัคซีนที่ใช้ : Oxford-AstraZeneca, Sputnik V

    การทำงานวัคซีน: นำเชื้อไวรัสที่อ่อนแอมามาตัดต่อพันธุกรรมหนามโปรตีนไวรัสโควิด-19 จากนั้นนำมาฉีดเข้าร่างกาย เพื่อกระตุ้นในระบบภูมิคุ้มกันจดจำรหัสพันธุกรรมไวรัสโควิด-19 และกำจัดไวรัสได้ในที่สุด

    ข้อดี: วิธีนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าสามารถกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กชนิด B ที่สร้างเซลล์แอนติบอดี้เพื่อต่อสู้กับไวรัส และ T ที่ผลิตภูมิคุ้มกันที่กำจัดเชื้อไวรัสออกจากเซลล์มนุษย์ 

    จุดท้าทาย: ประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีอื่น และวิธีการผลิตจะซับซ้อนกว่ารูปแบบอื่น

Protein Subunit Vaccine

    วัคซีนที่ใช้ : Novavax

    ลักษณะและการทำงานของวัคซีน: นำชิ้นส่วนหนามโปรตีนของไวรัสโควิด-19 ที่ไม่เป็นอันตราย มาฉีดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านไวรัส

    ข้อดี: เป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับในวงการเทคโนโลยีการแพทย์มาแล้ว ซึ่งเคยใช้ในการผลิตวัคซีนต้านไวรัสตับอักเสบบี ไข้กาฬหลังแอ่น โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae และเชื้องูสวัด

    จุดท้าทาย: ขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่าวิธีอื่น และต้องปรับปรุงการพัฒนาวัคซีนให้ทันต่อการแพร่กระจายไวรัส

บทความที่คุณอาจสนใจ

DeFi 101 เริ่มต้นเรียนรู้โลก DeFi ฉบับมือใหม่ โอกาสทางการเงินแห่งอนาคต

รู้จักกับ Unicorn ในวงการสตาร์ทอัพ พร้อมทิศทางการเกิด Unicorn ในไทย


รวบรวมข้อมูลจาก

https://www.healthcareitnews.com/news/emea/four-types-covid-19-vaccine-snapshot

https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/mRNA.html


Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...