Lazada กางแผนกลยุทธ์ส่งเสริม SMEs ไทยทั้งระบบสู่ Super eBusiness หรือสุดยอดธุรกิจออนไลน์ ด้วย “ซูเปอร์-โซลูชั่นส์” พร้อมแนะ 6 กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ โดยในงาน Lazada Mega Seller Conference 2019 ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจัดติวเข้มมอบความรู้แก่สุดยอดนักขายออนไลน์กว่า 2,000 ราย เตรียมพร้อมปั๊มยอดรับหลายแคมเปญสำคัญในช่วงครึ่งหลังของปี
แจ็ค จาง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า Lazada เล็งเห็นความสำคัญของ SME อันเป็นภาคธุรกิจที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวม โดยในปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทยเป็นจำนวนกว่า 5,253,295 ราย ทั้งนี้ หนึ่งในพันธกิจหลักของลาซาด้าคือการนำเสนอโอกาสที่เท่าเทียม เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs เพราะเชื่อว่าไม่มีแบรนด์ใดใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปสำหรับการประสบความสำเร็จในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จึงต้องการส่งมอบความรู้และส่งต่อเครื่องมือสำคัญอย่าง “ซูเปอร์ โซลูชั่นส์” (Super-Solutions) เพื่อทำให้ผู้ประกอบการได้เติบโตอย่างยั่งยืน
สำหรับภาพรวมธุรกิจของลาซาด้าในระดับภูมิภาคตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2019 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนผู้ใช้บริการ (Buyers) เพิ่มขึ้นถึง 105% ส่วนกลุ่มผู้ขาย (Sellers) พบว่ามีการเติบโตขึ้นกว่า 90% ทั้งนี้ ในการส่งเสริมผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มในช่วงสี่เดือนสุดท้ายของปี ลาซาด้าจะเน้นกลยุทธ์หลักใน 3 ด้าน ซึ่งได้แก่
สำหรับแคมเปญสำคัญที่ Lazada เตรียมไว้สำหรับกระตุ้นการสร้างยอดขายให้กับผู้ประกอบการในช่วงครึ่งปีหลัง อาทิ 9.9, 11.11 และ 12.12 ซึ่งถือเป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จของผู้ประกอบการในช่วงส่งท้ายปี ขณะเดียวกันยังมีแคมเปญ Payday ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ สิ้นเดือน และแคมเปญที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายอย่าง Women's Festival ในเดือนตุลาคม แคมเปญ Momday Monday และ Trendy Tuesday เป็นต้น ทั้งนี้ Lazada พบว่า การจัดแคมเปญเหล่านี้จะทำให้มีผู้เข้ามาใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันที่สูงกว่าช่วงเวลาปกติ ทำให้เกิดการช้อปปิ้งในสินค้าหลากหลายประเภท อีกทั้งยังสร้างการสื่อสารระหว่างผู้ขายและลูกค้าได้มากขึ้น และกระตุ้นการเพิ่มจำนวนลูกค้าให้เกิดการติดตามร้านค้า
นอกจากแคมเปญที่ Lazada เตรียมไว้นั้น Lazada ยังนำเสนอ 6 กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการออนไลน์ ซึ่งได้แก่: การแยกประเภทสินค้าอย่างเหมาะสม เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขายเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน การสร้างทราฟฟิคให้เพิ่มขึ้นจากเครื่องมือของแพลทฟอร์ม อาทิ การใช้คีย์เวิร์ด การแสดงผลส่วนบุคคล และความใกล้เคียงของประเภทสินค้า การทำโปรโมชั่นและการวางแผนราคา อาทิ การสร้างคูปองส่วนลด หรือการกำหนดราคาในช่วงแคมเปญ การใช้เครื่องมือเพื่อขยายขนาดของตะกร้าสินค้า อาทิ จัดส่งฟรีเมื่อมีการช้อปปิ้งในจำนวนชิ้นที่กำหนด หรือการใช้เครื่องมือบางประเภทใจการจัดเซ็ทสินค้า การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการช่วงแคมเปญ อาทิ การบริหารสต็อก, การบริการลูกค้า และการจัดการในหลังบ้าน การบริหารการจัดส่งสินค้าให้ทันเวลา รวมถึงการแพ็คสินค้า ระยะเวลาการจัดส่ง, การรับประกัน และให้ความช่วยเหลือลูกค้าในด้านต่างๆ”
นอกเหนือจากการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs รายย่อยแล้ว อีกหนึ่งโครงการสำคัญที่ Lazada เน้นย้ำคือการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนการการสร้างรายได้ให้กับชุมชนทั่วประเทศโดยใช้ธุรกิจออนไลน์เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนในท้องถิ่น โดย Lazada ได้ร่วมกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ยกระดับผู้ประกอบการรากหญ้า และผลักดันสินค้าชุมชนเข้าสู่การค้าออนไลน์ ผ่านโครงการสมาร์ท วิลเลจ ออนไลน์ (Smart Village Online)
โครงการดังกล่าวนี้ ได้นำโมเดลจากชุมชนเถาเป่าจากประเทศจีนมาเป็นต้นแบบในการสร้างงานและส่งเสริมรายได้ผ่าน E-Commerce โดยได้ทำการคัดเลือก 5 ชุมชนที่มีความพร้อม ได้แก่ ชุมชนนาข่า จังหวัดอุดรธานี, ชุมชนด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา, ชุมชนแม่พระประจักษ์ จังหวัดสุพรรณบุรี, ชุมชนควนขนุน จังหวัดพัทลุง และชุมชนใบชา จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นชุมชนที่มีสินค้าแสดงถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เป็นชุมชนเข้มแข็ง มีทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ
ด้าน คุณสุพัชเชษฐ์ เภาวะนิต รองประธานอาวุโสฝ่ายบริหารและพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการ บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า Lazada รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับภาครัฐ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลตลอดจนการร่วมพัฒนาระบบนิเวศอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยให้เติบโต ทั้งนี้ ในฐานะที่ Lazada นั้น เป็นธุรกิจ E-Commerce ที่สำคัญของอาลีบาบาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้าน E-Commerce มาช่วยส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในประเทศไทยได้”
สำหรับโครงการสมาร์ท วิลเลจ ออนไลน์ ได้เริ่มดำเนินการแล้วกับชุมชนนาข่าเป็นแห่งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ Lazada ได้ลงพื้นที่สำรวจ สื่อสารกับชุมชนเป้าหมาย จัดกิจกรรมเวิร์คช้อป มีการทำโปรโมชั่นผ่านแอปพลิเคชัน จัดงานแสดงสินค้าชุมชนที่ผ่านการพัฒนาด้านดิจิทัลแล้วอย่าง “ผ้านาข่าชุมชนอัจฉริยะออนไลน์” และจากนี้จะเป็นการลงพื้นที่จัดกิจกรรมเวิร์คช้อปกับชุมชนที่เหลืออย่างต่อเนื่องในปีนี้”
Sign in to read unlimited free articles