วิถีการดำเนินธุรกิจของ Startup ในเทรนด์ระดับโลกภายใต้บริบทลมเปลี่ยนทิศ จากทั้งสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนั้น Startup ไทยจึงต้องปรับแนวทางการทำธุรกิจเพื่อให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
คุณธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท Beacon Venture Capital ซึ่งเป็น CVC ในเครือธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงสถานการณ์ภาพรวมการลงทุนใน Startup ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ว่า นับตั้งแต่ต้นปีมานั้นสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซบเซาลงเป็นอย่างมาก จากผลกระทบต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 สงครามรัสเซีย - ยูเครน ตลอดจนภาวะเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา รวมถึงภาวะตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก เหล่านี้ล้วนกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนต่อตลาด Startup ในระดับโลกทั้งสิ้น
นอกจากนี้ Startup ที่ได้มีการ Exit ด้วยการเข้าตลาดหุ้นก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าที่ผ่านมาอาจมีการประเมินมูลค่า (Valuation) ที่สูงเกินความจริงมากเกินไป ส่วนผลกระทบต่อ Startup ไทยนั้น การลงทุนจากนักลงทุนในประเทศยังมีให้เห็นอยู่บ้าง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ในไทยจะเป็น CVC ที่ลงทุนเพื่อ Synergy มากกว่าลงทุนเพื่อทำกำไร แต่แนวโน้มที่ลดลงนั้นจะเป็น VC จากต่างประเทศมากกว่า
สำหรับการเติบโตของ Startup ไทยนั้น ยังคงมี Pain Point ที่เป็นความท้าทายหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้ Startup ต้องมีการปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจให้เหมาะกับทั้งพฤติกรรมของผู้ใช้งาน รวมถึงยังมีเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่จะต้องตามให้ทันด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะ เกิดการแย่งตัวของ Tech Talent ที่ Corporate ขนาดใหญ่ต่างมีการปรับตัวด้วยการตั้งเป็น Venture Builder และหน่วยงานด้านนวัตกรรมมากขึ้น ทำให้ Startup หาคนมาร่วมงานยากมากขึ้น
คุณธนพงษ์ กล่าวต่อว่า การเกิดขึ้นของ Startup รายใหม่ๆ แม้ว่าปัจจุบันจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ามองในภาคส่วนของการบ่มเพาะและสนับสนุนอย่าง Incubator และ Accelerator ที่จะเป็นเวทีให้คนรุ่นใหม่มาแสดงฝีมือยังคงมีไม่เพียงพอ แม้จะมีไอเดียหรือ Solution ที่ดี ดังนั้นทางธนาคารกสิกรไทยเอง จึงได้มีการเปิดโครงการ
โครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ธนาคารส่งมอบให้แก่กลุ่มสตาร์ทอัพ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นการเติบโตทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในระดับสากลให้กับสตาร์ทอัพในประเทศไทย ให้สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจของตนเองและนำความรู้ดังกล่าวไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเนื้อหาของหลักสูตรจะรวมถึง องค์ความรู้ในหลักสูตรแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยภายใต้ Stanford Thailand Research Consortium นำโดยรองศาสตราจารย์ Charles (Chuck) Eesley จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
สำหรับรายละเอียดของโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยปีนี้อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ Jumpstart your idea through entrepreneurial mindset เป็นการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์รวมกว่า 8 สัปดาห์ โดยจะมีทั้งเรียนออนไลน์ผ่าน Webinar และ Workshop แต่ก็จะมี Mentor ทั้งจากไทยและต่างประเทศที่จะมาช่วยดูแล และถ่ายทอดมุมมองที่หลากหลายให้กับ Startup สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตัวเองได้ และที่สำคัญในปีนี้จะมีการเพิ่มเติมในส่วนของ Networking ที่จะจัดเป็นรูปแบบออฟไลน์ที่จะให้ผู้เรียนได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย
“ปีนี้เป็นปีที่เราเห็นความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในต่างประเทศที่เทรนด์และรูปแบบของการทำ Startup นั้นเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น จะไม่ค่อยมีการทำธุรกิจในแบบที่มุ่งเน้นเพิ่มผู้ใช้งานเข้ามาในแพลตฟอร์มจำนวนมาก ๆ และหารายได้อย่างเดียวแล้ว แต่จะเป็นการทำให้อยู่รอด มีรายได้มากขึ้น รายจ่ายน้อยลง และ ถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วขึ้น ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีและเหมาะสมเป็นอย่างมากที่จะช่วยพัฒนา Startup ไทย ที่จะปรับรูปแบบของการทำธุรกิจ” คุณธนพงษ์ กล่าว
คุณธนพงศ์ อินทระ Co-Founder บริษัท TinyEpicBrains ซึ่งเป็น Startup ด้าน DeepTech แบ่งปันประสบการณ์ในการเข้าร่วมโครงการของ KATALYST ในปีที่ผ่านมาว่า ก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ เดิมบริษัทได้ทำธุรกิจโดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ QR Code ล่องหน สำหรับป้ายโฆษณา แต่หลังจากที่เข้ามาเรียนในโครงการนี้ทำให้เข้าใจตลาดมากขึ้น โดยได้รับ Framework สำหรับวางขั้นตอนการทำงานและทดสอบตลาด อีกทั้งยังได้รับคำปรึกษากับ Mentor จากทั่วโลกด้วย
ในระหว่างที่เรียนนั้นทางโครงการจะมี Assignment กลับมาให้ทำตลอด และที่สำคัญสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้จริงหลังจากจบคอร์สด้วย และนำไปสู่การปรับธุรกิจจนตอนนี้ได้มีการทำ Self-Learning หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ให้อาจารย์และนักศึกษามาแชร์กัน
นอกจากนี้ KATALYST ยังได้เชื่อมเรากับคนที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 2 รุ่นที่ผ่านมาเข้าด้วยกัน ทำให้เรามี Community ที่จะมาปรึกษาหารือกัน และเป็นเพื่อนกันไปได้ในระยะยาวอีกด้วย
ด้านคุณวีร์ สิรสุนทร Co-Founder และ CEO บริษัท Primo World Co., Ltd.สตาร์ทอัพด้าน Marketing Technology ซึ่งเป็น แพลตฟอร์ม Omni-Channel Marketing สำหรับลูกค้าองค์กร ได้กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการ KATALYST ว่า เป็นโครงการที่ทำให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึง องค์ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง ไม่ว่าจะเป็น วิธีการทำความเข้าใจและสัมภาษณ์ลูกค้า การทำ Prototype รวมถึง Framework ในการหา Customer Needs และการลำดับความสำคัญ อีกทั้งยังได้เรียนรู้แนวทางในการบริหารจัดการ Requirement ที่สามารถใช้ได้จนปัจจุบันด้วย
และที่สำคัญในระหว่างที่เรียนนั้นทีมงานของ KATALYST ได้อำนวยความสะดวกในการทำ Assignment ตลอด ทำให้สามารถเข้าถึงและสัมภาษณ์คนได้มากตามโจทย์ของการบ้าน
สำหรับ PRIMO หลังจากที่จบโครงการแล้ว นอกเหนือจากความรู้และ Connection ที่ได้นำไปต่อยอดธุรกิจ ยังได้รับเงินทุนจากทาง Beacon VC รวมถึงได้เข้าไปทำงานใกล้ชิดกับธนาคารกสิกรไทยอีกด้วย
โครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 มุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของ Startup ไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งจะมีการเรียนการสอนครบวงจรตั้งแต่ไอเดียธุรกิจ ตลอดจนทักษะการนำเสนอ โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 กรกฎาคมนี้
เริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2565
สัปดาห์สุดท้ายของการอบรม จะมีการนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ ทีมที่ชนะจะได้รับรางวัลจากโครงการทั้งเงินรางวัล และผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดธุรกิจ จำนวน 3 รางวัล มูลค่ารวม 800,000 บาท พร้อมโอกาสการร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย
และที่สำคัญผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับองค์ความรู้ในรูปแบบ E-Learning โดยตรง และไม่มีค่าใช้จ่าย
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดหลักสูตร คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ และสมัครได้ทางเว็บไซต์ของ KATALYST ที่ https://katalyst.kasikornbank.com/th/Pages/startup_launchpad2022.html
หรือติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการที่ https://www.facebook.com/KATALYSTbyKBank
#KATALYSTbyKBank
#เพื่อนสนิทของชาวสตาร์ทอัพ
#KATALYSTSTARTUPLAUNCHPAD2022
บทความนี้เป็น Advertorial
Sign in to read unlimited free articles