พาธุรกิจฝ่าวิกฤต บริหารอย่างไรให้พนักงานได้ไปต่อ | Techsauce

พาธุรกิจฝ่าวิกฤต บริหารอย่างไรให้พนักงานได้ไปต่อ

ในวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ทุกธุรกิจต่างเผชิญกับสถานการณ์ลำบาก เริ่มตั้งแต่ธุรกิจการบิน การท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร อีกหลาย ๆ ธุรกิจได้รับผลกระทบกันเป็นลูกโซ่ ข่าวของการล้มละลาย ลดเงินเดือนหรือปลดพนักงาน เริ่มเห็นกันมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดขึ้นทั้งโลก เมื่อรายได้ที่เข้ามาลดลง รายจ่ายเท่าเดิมบริษัทต่าง ๆ จะหาทางออกอย่างไร?

ปลดพนักงานคือทางออก จริงหรือ?

แน่นอนว่าเมื่อคำนวนรายจ่ายต่อเดือน cash flow และระยะเวลาที่บริษัทต่างๆจะอยู่รอดในธุรกิจได้ อันดับแรกที่บริษัทจะลดรายจ่าย และรายจ่ายส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือพนักงาน วิธีการแรกที่หลายบริษัททำ คือการลดสวัสดิการต่าง ๆ ลดเงินเดือน และเมื่อถึงวิกฤตที่สุด ก็จำเป็นจะต้องปลดพนักงานออก หรือปิดบริษัทลง; วิธีการเหล่านี้เกิดขี้นกับบริษัทจำนวนมากอย่างรวดเร็วในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อย่างที่เราได้เห็นในธุรกิจการบิน โรงแรม และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบก่อนธุรกิจอื่น

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนตกงานเป็นจำนวนมาก ไม่มีอาชีพรองรับ และยิ่งเป็นพนักงานรายได้น้อยที่มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท การไม่มีรายได้ ก็เหมือนกับการขาดออกซิเจนในการดำเนินชีวิต จนบางคนมีคำกล่าวว่า “กลัวตกงานมากกว่ากลัวติดโควิด”

เงินเดือนต่อชีวิตคนทำงาน คนทำงานต่อลมหายใจเถ้าแก่

ในเวลานี้ อาจเป็นวิกฤตที่เกิดโอกาสใหม่ที่บริษัทต่างๆจะหา Business Model อื่นๆในการดำเนินธุรกิจต่อ เพียงแต่ในการทำธุรกิจนั้นต้องมี ‘คน’ การปลดพนักงานเป็นมาตรการระยะสั้นที่หลายบริษัททำเพื่อต่อลมหายใจบริษัท แต่เมื่อไม่มีพนักงานทำงาน ก็ไม่มีรายได้ และหากพ้นวิกฤตแล้ว ก็จะไม่มีคนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อ นอกจากเถ้าแก่หรือเจ้าของบริษัทจะต้องอดทนเพื่อให้ทุกคนรอดไปด้วยกัน

และอย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า ทุกฟันเฟืองเชื่อมต่อกันเป็นห่วงโซ่ เมื่อคนล้ม ธุรกิจล้ม เศรษฐกิจและประเทศก็จะล้มตามไปด้วย ดังนั้น ต้องมีมือของผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ เพื่อให้ทุกคนไปต่อด้วยกันได้หมด ซึ่งอีกหนึ่งฟากสำคัญของห่วงโซ่ธุรกิจนี้ก็คือเจ้าหนี้

คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิติคุณ (Chairman Emeritus) ธนาคารกสิกรไทย ได้มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวิฤกตนี้ และได้ยื่นมือเข้ามาช่วยในฐานะเจ้าหนี้

 โดยปกติธุรกิจขนาดกลางที่มีเจ้าหนี้เป็นธนาคารกสิกรไทย ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคาร ดังนั้นเพื่อช่วยธุรกิจต่างๆ คุณบัณฑูรจึงได้ตั้งโครงการเถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ เพื่อช่วยเหลือพนักงานโรงแรม ที่มีรายได้น้อย ให้มีงานทำ และลดภาระหนี้ ให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ในภาวะวิกฤต

คุณบันฑูรได้เผยว่า การระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นส่งผลกระทบอย่างทันทีต่อธุรกิจหลาย ๆ ราย โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยที่ภาคท่องเที่ยวนั้นเป็นภาคที่สำคัญมาก ที่จะต้องหยุดการบริการทันที และเมื่อธุรกิจการท่องเที่ยวไม่สามารถดำเนินไปได้ ผู้ที่ถูกกระทบที่สุดก็คือผู้ที่อยู่ล่างสุดของระบบเศรษฐกิจหรือพนักงาน ซึ่งถ้าตามระบบเศรษฐกิจ เมื่อธุรกิจไม่สามารถที่จะดำเนินไปได้ เจ้าของธุรกิจก็จะต้องดำเนินมาตรการลดค่าใช้จ่ายและวิธีที่สะดวกที่สุดก็คือการลดพนักงาน เจ้าของธุรกิจหลาย ๆ รายจึงตกอยู่ในภาวะลำบากเช่นนี้ โครงการเถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจจึงได้เกิดขึ้นมา

โครงการ ‘เถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ’

โครงการเถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ จะช่วยเหลือพนักงานที่อยู่ในธุรกิจที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะช่วยเถ้าแก่หรือผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารด้วยการลดดอกเบี้ย เพื่อให้เถ้าแก่เอาเงินที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยนี้ไปจ่ายเป็นเงินเดือนให้พนักงานครึ่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนที่เถ้าแก่ต้องจ่ายอยู่แล้วอีกครึ่งหนึ่ง ก็จะทำให้พนักงานได้เงินเดือนเท่าเดิม เพื่อให้การช่วยเหลือลงไปถึงมือพนักงานรายได้น้อยจริง ๆ ให้พวกเขาสามารถเลี้ยงปากท้องฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ โดยนำร่องโครงการไปแล้วกับ 2 เครือโรงแรมใหญ่ในจังหวัดภูเก็ต และเตรียมขยับขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ตั้งงบประมาณทั้งโครงการราว 500 ล้านบาทซึ่งคาดว่าจะช่วยพนักงานได้ราว 15,000 คน 

คุณบัณฑูรก็ได้เน้นย้ำว่าวิกฤติ COVID-19 ในครั้งนี้จะผ่านไปได้ เราต้องช่วยกัน คนที่มีต้องให้คนที่ไม่มี เรามีบทเรียนจากวิกฤตครั้งก่อน ๆ แล้วว่าความช่วยเหลือหล่นหายระหว่างทางไม่ถึงมือคนที่เดือดร้อนจริงๆ ความช่วยเหลือที่ทำในครั้งนี้จึงพิสูจน์ได้ โปร่งใส และชัดเจน เพราะทำธุรกิจเราจะรอดคนเดียวไม่ได้ ถ้าคนที่เป็นฐานล้มคนข้างบนก็อยู่ไม่ได้

เราควรจะประคองคนที่อยู่ที่ระดับล่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะให้ทุกคนนั้นผ่านไปได้ และการให้นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

บทความนี้เป็น Advertorial



Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...