Remote Working ลดมลพิษได้ งดเดินทางช่วยโลกได้จริงเหรอ ? | Techsauce

Remote Working ลดมลพิษได้ งดเดินทางช่วยโลกได้จริงเหรอ ?

งานวิจัยชิ้นใหม่พบการทำงานแบบ Remote Working หรือ  Work From Home ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ครึ่งหนึ่ง

Remote Working ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

จากการศึกษาโดยวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences พบว่านับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จนเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การทำงานไปเป็นแบบ Work from Home นั้นสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ พนักงานในสำนักงานครึ่งหนึ่ง

โดยนักวิจัยของ Microsoft และ Cornell University พบว่า พนักงานในสหรัฐอเมริกา ที่ทำงานเต็มเวลา จากระยะไกลสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 54% เมื่อเทียบกับพนักงานที่ทำงานในสำนักงาน นักวิจัยพบว่าการทำงานที่บ้าน 2-4 วันช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ถึง 11- 29%

นั่นเป็นเพราะว่าการประหยัดพลังงานจากการไม่อยู่ในออฟฟิศถูกชดเชยด้วยปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเดินทางของพนักงานที่ลดลงและการใช้พลังงานที่ลดลง ซึ่งพลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ล้วนมาจากพื้นที่ภายในบริษัท

ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด

ข้อแนะนำของนักวิจัยคือ การมีระบบแบ่งที่นั่งในสำนักงาน และให้พนักงานหมุนเวียนกัน เมื่ออยู่ในสำนักงานและเมื่อพวกเขาทำงานจากระยะไกลเพื่อช่วยลดขนาดสำนักงาน นอกจากนี้บริษัทที่มีพนักงานที่ทำงานแบบ Remote Working เป็นหลักจะช่วยลดพื้นที่สำนักงานของตน

ทั้งนี้การทำงานแบบ Hybrid หรือ Remote Working ไม่ได้รับประกันว่าจะช่วยลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมได้สิ้นเชิง 

นักวิจัยพบว่าการมีวันทำงานที่ออฟฟิศมากกว่าวันทำงานแบบ Remote Working ไม่ได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมออกไปสิ้นเชิง เพราะจริง ๆ แล้ววิธีการนี้เป็นเพียงแค่การลดการปล่อยก๊าซโดยรวมประมาณ 2% ของการปล่อยก๊าซทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานนอกสถานที่ทำงานในบริษัท

เพราะสุดท้ายแล้วกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ เช่น การขับรถหรือใช้บริการขนส่งสาธารณะไปทำงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากไม่ใช่การทำงานก็เป็นในเรื่องของการไปเยี่ยมครอบครัวและเพื่อนฝูง และกิจกรรมสันทนาการ 

พนักงานที่ทำงานแบบ Hybrid บางคนมีการเปลี่ยนพื้นที่ทำงานออกจากที่ตั้งบริษัทของตนมากขึ้น และหากพนักงานเหล่านั้นไม่มีทางเลือกในการใช้บริการขนส่งสาธารณะก็ย่อมส่งผลต่อการเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ดี

อ้างอิง: euronews, pnas, gizmodo

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ปัญหาสภาพอากาศภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง AI จะช่วยโลกได้อย่างไร?

ผลกระทบมากกับความท้าทายใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิธีที่เราผลิตและใช้พลังงานและ AI มีศักยภาพในการช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปล...

Responsive image

อินเดียเลี้ยงคนทั้งโลกได้ ทำไมคนในชาติยังอดอยาก?

อินเดียเลี้ยงปากท้องคนทั้งโลกได้และกำลังจะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ กลับติดอันดับต้น ๆ ประเทศที่ประชากรหิวโหยและขาดแคลนอาหารมากที่สุดในโลก เป็นเพราะอะไรกัน ?...

Responsive image

Google พัฒนา MethaneSAT ดาวเทียมวัดปริมาณก๊าซพิษและติดตามตำแหน่ง

Google ได้ร่วมมือกับ Environmental Defense Fund (EDF) พัฒนา MethaneSAT ดาวเทียมติดตามการปล่อยก๊าซมีเทนจากนอกโลก...