วันนี้เรามีบทสัมภาษณ์สุดพิเศษของคุณ จ๋า จันทิมา น้าวิไลเจริญ เด็กไทยที่มีโอกาสไปฝึกงานกับบริษัทผู้ให้บริการฟังเพลงชื่อดังระดับโลกอย่าง Spotify และถือว่าเป็นบริษัท Startups ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากโดยมีมูลค่ารวมกว่า 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ นี้อาจจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับ Startups ไทยที่จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรงของคุณจ๋า มากไปกว่านั้นอาจจะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายๆ คนอีกด้วย
สวัสดีค่ะ จันทิมา น้าวิไลเจริญ ชื่อเล่น จ๋า ค่ะ ตอนนี้ทำงานเป็น Interaction Designer อยู่ในบริษัท Volvo ประเทศสวีเดนค่ะ ก่อนหน้านี้เรียนป.ตรีสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศที่สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ค่ะ ตอนป.ตรีเรียนพวกโปรแกรมมิ่งมา มีความรู้ด้าน Network นิดหน่อยแล้วก็ทำวิทยานิพนธ์จบมหาลัยเป็นแอปมือถือไว้สำหรับตรวจดูเวลารถในมหาวิทยาลัยค่ะ ใช้ความรู้ตรงนี้ เป็นพื้นฐานตอนฝึกงาน
ตอนจบมาก็คิดว่าอยากออกนอกประเทศบ้างสักครั้ง หาประสบการณ์ ก็เลยแอบยื่นเอกสารเอง ทำอะไรเองหมดเลยที่บ้านมารู้เข้าว่าจะไปเรียนต่อก็ตอนเอกสารผ่าน สอบติดแล้วไม่มีตังค์จ่ายค่าเทอมเองนี่แหล่ะ 55 ตอนตัดสินใจมาเรียนต่อ ก็เปลี่ยนแนวไปเรียนออกแบบค่ะ เป็น Interaction Design ค่ะ เพราะฝันมาตั้งนานแล้วว่าอยากทำงานออกแบบ วาดรูปอะไรพวกนั้น ผนวกกับโปรแกรมมิ่งที่เรียนมาตอนป.ตรีก็เลยมาจบที่สาขานี้ แล้วที่เลือกมาเรียนที่สวีเดนเพราะหลักสูตรน่าสนใจและใช้เวลา 2 ปี ส่วนตัวคิดว่าไปเรียนอังกฤษแค่ 9 เดือน ถึง 1 ปีมันเร็วไป ไม่คุ้ม ไม่สะใจไหนๆ ก็จะออกจากบ้านซะที เอาให้คุ้มเลย เรียนไป 2 ปีค่ะ 555
ตอนเรียนก็คิดว่าอยากทำงานต่อในสวีเดน เพราะชอบในบรรยากาศการทำงานและวัฒนธรรมค่ะ แต่ไม่มีประสบการณ์ติดไว้ใน Resume เลย เพราะไม่เคยทำงานจริงจังในบริษัทมาก่อนเลย (เคยแค่ฝึกงาน กับฟรีแลนซ์ แล้วก็ทำงานเต็มเวลาเดือนหน่อยๆ) กลัวว่าตอนเรียนจบจะหางานยากก็เลยเริ่มหาที่ฝึกงานจริงจังแล้วก็ได้มาเจอที่ Spotify จนมีเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะ :D ตอนนี้จบแล้วได้ทำงานเป็นดีไซน์เนอร์ตามที่ฝันไว้ตั้งแต่ก่อนเรียนป.ตรีอีก ดีใจมากค่ะ จบซักที ชีวิตนักศึกษานี่ยาวนานเนอะ 555
สั้นๆง่ายๆ Spotify เป็นแอปฯ ที่ไว้ใช้ฟังเพลงฟรีค่ะ 555 ยาวๆคือ เป็นแอปฯ ที่ให้บริการฟังเพลงค่ะ โดยที่เพลงเค้าจะเก็บไว้บนฐานข้อมูล บนคลาวด์ (Cloud) เวลาเราจะฟังก็แค่สมัครสมาชิกเข้าไป แล้วก็กดเลือกฟังได้ตามใจค่ะ มีเพลงให้เลือกหลากหลายมากคล้ายๆ ฟังวิทยุแหละค่ะ แต่เราเลือกเพลงได้ แล้วให้ฟังฟรีได้ยังไง เค้าได้เงินจากไหน บริษัทได้เงินจากโฆษณาค่ะ ฟังๆ ไปก็จะมีโฆษณาคั่นเหมือน Youtube ทีนี้ถ้าเราไม่ชอบก็จ่ายตังค์รายเดือนก็จะเอาโฆษณาออกได้ค่ะ ตอนนี้มีแอปคล้ายกันมากมาย ยกตัวอย่างเช่น Apple Music กับ Deezer แต่ละตัวก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไปค่ะ
ฟีเจอร์ที่ทำเป็นฟีเจอร์ใหม่สุดที่ Spotify เพิ่งปล่อยออกมาเลยค่ะ จะเห็นได้จากที่เทคโนโลยีในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมาทุกแอป ทุกบริการดูจะจมอยู่กะพวก Location Based Sensor ค่ะ แบบดักจับว่าเราอยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่ ก่อนหน้านี้มีแค่ FourSquare ซึ่งตอนนี้กลายเป็น Swarm แล้วก็ Facebook Instagram Twitter ทุกแอปดูจะอยากรู้ที่อยู่ของเรามาก ซึ่งการรู้ที่อยู่นี่ทำอะไรได้หลายอย่างนะคะ เช่นส่งโฆษณาของร้านหรือบริการแถวๆนั้นมาให้เราทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
ทีนี้เรื่องฟังเพลงเกี่ยวอะไร?
การฟังเพลงปกติแล้วเป็นกิจกรรม Passive คือเราไม่จำเป็นจะต้องไปสนใจมันมาก ไม่ต้องโฟกัสกับมัน เราแค่เปิดคลอทิ้งไว้แล้วไปทำกิจกรรมอื่นอย่างทำงาน ออกกำลังกาย ขับรถ ทีนี้ถ้าเราปล่อยไปเรื่อยๆ คนก็อาจมีเบื่อเพลงเดิมๆ บรรยากาศเดิมๆ เมื่อมีตัวเลือกบริการอื่นเข้ามาอย่าง Apple Music คนก็อาจจะเปลี่ยนไปใช้บริการอื่นได้ไม่ยาก
ตัวฟีเจอร์นี้ก็เลยพยายามทำให้ Spotify พิเศษกว่าแอปอื่น โดยการทำตัวคล้ายๆกับดีเจ คอยมองดูว่า เอ๊ะ! คนอยู่ที่นี่ ทำกิจกรรมนี้อยู่ใช่มั้ย คุณอาจจะอยากฟังเพลงนี้แน่ๆ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษน่ะค่ะ ทำอะไร แอปก็รู้ใจไปหมด เวลาใช้งานจริงก็จะประมาณว่า เรากำลังวิ่งอยู่บนลู่ในยิม แอปก็จะแนะนำเพลงแบบ Up-Beat มาให้เข้ากับจังหวะวิ่ง ซึ่งเพลงที่แนะนำมาก็จะเป็นเพลงแนวๆเดียวกับที่เราเคยฟัง ที่เราเคยกด Favorite ไว้น่ะค่ะ
สำหรับพนักงานใหม่ทางบริษัทพอเซ็นสัญญาจ้างและสัญญารักษาความลับแล้ว ช่วงก่อนเริ่มงาน เค้าจะเชิญไปทานข้าวกับทีมที่จะทำงานด้วยค่ะ ก็จะคุยเรื่องทั่วไป งานเป็นยังไง ทีมมีใครบ้าง รับผิดชอบอะไร จากนั้นก็จะชวนไปปาร์ตี้บ้าง พาไปเดินเที่ยวออฟฟิศ ให้ชินกับบรรยากาศและคนในทีมแล้วก็มีส่งจดหมายเอกสารแนะนำวัฒนธรรมบริษัท และวิธีการทำงานค่ะ ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 เดือน
จากนั้นพอตอนเริ่มงานก็จะมีแนะนำตัวอีกรอบ สรุปงาน แล้วเริ่มทำเลยค่ะ (หมายเหตุ ถ้าได้ทำงานให้สาขาใหญ่จะมีงาน Introduction ค่ะ แต่เราไม่ได้เข้าร่วมเพราะทำสาขาย่อย) ตอนแรกสุดไม่กดดันเลยค่ะ เพราะไม่รู้ว่าบริษัทมีขนาดใหญ่ เอาจริงๆ ตอนก่อนฝึกงานเราก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบริษัทจะเป็นแบบไหน ทำยังไง และมีชื่อเสียงขนาดไหน คือแย่มาก ไม่ได้ทำการบ้านก่อนว่าบริษัทใหญ่ขนาดไหน ผลประกอบการเป็นยังไง รู้แต่เค้าจ้าง เงินเดือนโอเค เนื้อหางานน่าสนใจ มือก็เซ็นสัญญาไปแล้วค่ะ 555
อีกเรื่องที่ไม่กดดันตอนแรกคือทุกคนใจดีมาก และช่วยทุกอย่าง อยู่ๆไปอาทิตย์หนึ่งก็เริ่มกดดันละ เพราะทุกคนรอบข้างที่คอยช่วยเนี่ย ถามอะไรตอบได้ ทำเป็นทุกอย่าง หมดเดือนแรกนี่กดดันมากกกกกกกกค่ะ ลากเสียงยาวๆเลย แบบอะไรเนี่ย ทำไมทุกคนดูทำได้ง่ายไปหมดเลย แล้วทำไมเราใช้เวลานานจัง
แต่พอผ่านไปได้คุยกับคนอื่น ถึงได้รู้ว่าปกติค่ะ ทุกๆคนเป็นกันหมด 555 แล้วหัวหน้าก็นัดคุยด้วยบ่อยๆค่ะ เดือนละ 2 ครั้ง ว่าทำงานเป็นยังไงมั่ง เพื่อนร่วมทีมมีอะไร ติดขัดตรงไหน มีแรงกดดันอะไรบ้าง แล้วพอเราบอกไปว่า เครียด เรื่องนู้นเรื่องนี้ เค้าก็พยายามช่วยพยายามปรับค่ะ งานที่ทำเสร็จออกมาเลยโอเค บรรลุเป้าหมายทั้งบริษัท ทั้งของตัวเราเอง แต่บอกเลยว่าก่อนงานเสร็จเครียดมากค่ะ น้ำหนักลดไป 3 กิโล แม้ว่าบริษัทจะเลี้ยงน้ำเลี้ยงขนมแล้วก็ตาม 555
ไม่จำเป็นต้องจบสาขาที่ตรงกับสายงานค่ะ ทำงานบริษัทไอทีแบบนี้ดีอยู่อย่างคือเขาไม่แคร์หรอกค่ะ ว่าคุณจบอะไรมาเกรดเท่าไหร่ มหาวิทยาลัยอะไร ใบสมัครไม่ต้องแนบ Transcript เลยด้วยซ้ำ ส่งไปแค่ CV แล้วก็ลิงค์ไปที่เว็บพอร์ทโฟลิโอส่วนตัว เขาขอแค่คุณกล้าส่งใบสมัคร สามารถผ่านแบบทดสอบตอนสัมภาษณ์ได้ และพิสูจน์ได้ว่าคุณทำงานได้ เขาก็ตัดสินใจรับค่ะ ถ้าดูที่ตัวจ๋าเองเลย ถึงจ๋าจบตรีไอทีมา แต่ป.โทนี่ก็มาเรียนออกแบบที่ไม่ได้เกี่ยวกับโปรแกรมมิ่งแม้แต่น้อยเลยค่ะ เกรดที่จบป.ตรีนี่ก็เกรดนิยมมากค่ะ ไม่ถึงสามอ่ะ 5555
จ๋าเคยถามคนในออฟฟิศว่าทำอะไรก่อนมาทำที่นี่ ก็มีทั้งจบแค่ม.ปลาย เรียนเขียนโปรแกรมจากยูทูปแล้วก็หลังสือคู่มือ มีคนเรียนจบบัญชี เกิดชอบไอที แล้วก็สมัครเข้ามาที่นี่ได้ ที่ช็อคสุด คือมีคนที่ทำ iOS Developer เหมือนกัน เค้าจบป.เอก Quantum Physic ค่ะ เคยทำงานที่ CERN ด้วยนะ แต่เบื่อสมการเลยมาเขียนแอป 555
Flat-Hierarchy คือการไม่มีลำดับชนชั้นค่ะ
มีข้อดีที่เราเห็นก็คือ
คิดว่าประเทศไทยควรมีอะไรแบบนี้นะคะ แต่คงต้องแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะสังคมไทยอยู่กันเป็นครอบครัวอ่ะค่ะ มีพี่ มีน้อง พี่สั่งมา น้องทำไป น้องก็ทำไป บางทีไม่รู้ว่าทำไปทำไม อยู่ๆ ถ้าจะเปลี่ยนเลยให้รับผิดชอบอะไรอย่างนึงไปเลยก็เหมือนโยนเด็กลงคลองให้หัดว่ายน้ำเองค่ะ อาจจะเอาตัวรอดยากหน่อยนึง
แต่มันเป็นผลดีในระยะยาวนะคะ เวลาทำงานไม่ต้องมารั้งรอ ฉุดกระชากลากถูกัน ทุกคนมีความสามารถทำได้เท่ากัน ก็จะสามารถวิ่งไปพร้อมๆกันได้ แล้วก็อาจจะมีไอเดียใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ มาให้เห็นเรื่อยๆ ก็ได้เพราะตอนนี้บางคนอาจจะมีปัญหาในการแสดงความเห็น ตัวเองมีไอเดียแต่ไม่กล้าเอาออกมาเพราะกลัวโดนดุ อยากให้ทุกคนคิดว่าตัวเองเท่ากันค่ะ จะได้มีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถกันค่ะ จะได้รู้สึกว่าชีวิตออฟฟิศมันก็สนุกนะ ไม่ใช่ทำงานไปวันๆ เคลียร์ปัญหาไปเรื่อยๆ เบื่อแย่ 55
อย่างที่บอกไปว่าเป็น Flat-hierarchy ทุกคนเท่าเทียม เวลาคุยกันเนี่ย ถ้าความเห็นไม่ตรงกันก็จะคุยจนกว่าจะหาข้อสรุปได้ค่ะ เราก็เคยคิดไม่ตรงกับคนอื่นบ้าง เราก็บอกไป ถ้าคนอื่นแย้งมาเราต้องทำให้คนอื่นเห็นตรงกันให้ได้ค่ะ ไปพิสูจน์ ไปหาตัวเลข หรืออะไรมาก็ได้จนกว่าจะเห็นตรงกันทั้งที่ประชุม แล้วก็จะได้ทำต่อค่ะ บางทีก็ใช้เวลานาน บางทีก็แป๊บเดียว แต่พอเถียงกันเสร็จก็จบเรื่องค่ะ ไม่มีคิดเล็กคิดน้อยยิบย่อย หัวหน้าเคยเห็นไม่ตรงกับทีม ทีมไม่มีใครเอาด้วยซักคน ก็คุยก็เถียงจนกว่ายอมตกลงกันได้แหละค่ะ ไม่ใช่ว่าเป็นหัวหน้าแล้วจะมีสิทธิตัดสินใจไปเลย หัวหน้าก็ต้องฟังทุกคนเหมือนกันค่ะ เถียงกันจบก็ไม่มีคาดโทษนะคะ หัวหน้าไม่ว่าอะไร เถียงได้ ถ้าเค้าผิดจริง 55
บริษัทไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษนะคะ สิ่งที่บริษัททำคือเอื้ออำนวยบรรยากาศและสถานที่ให้น่าทำงาน ให้สะดวกสบายต่อการใช้ชีวิตและผลิตผลงาน บางครั้งบางคราวก็จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานบ้าง ที่น่าแปลกคือบริษัทก็ไม่ได้มีตัววัดผลประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอย่างจริงจังนะคะ มีแค่ให้หัวหน้ามานั่งคุยว่าเป็นยังไง งานไหวมั้ย อะไรประมาณนั้นน่ะค่ะ แต่พนักงานทุกคนก็ดูเหมือนรับผิดชอบงานตัวเองได้ดี ไม่มีพูดคุยไร้สาระระหว่างทำงาน ไม่มีเปิดเฟส เปิดยูทูปตอนทำงาน งานเสร็จตามเวลาหมดทุกคน น่าจะเป็นเพราะจิตสำนึกและความรับผิดชอบของทุกคนด้วยค่ะ
คือเรามีงานที่มีชื่อเราติดไว้ เราก็ต้องทำให้มันเสร็จ พอเสร็จแล้วมันก็เป็นเรื่องที่เราภูมิใจนะคะว่า เอ้อ เนี่ยเราทำตรงนี้นะ ตัวบริษัทเองและทีมก็ให้เครดิตเราทำเต็มที่ ไม่รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่าสิ่งที่เราทำไปสุดท้ายแล้วก็เป็นของหัวหน้าหรือของคนอื่น ทำให้เราอยากทำงานต่อไปน่ะค่ะ แล้วอีกอย่างบริษัทก็จ่ายเงินเดือนโอเค มีสวัสดิการมากมาย เราไม่จำเป็นต้องคิดต้องไปทำอะไรอย่างอื่นก็เลยสามารถโฟกัสกับงานตัวเองได้เต็มที่ งานก็เลยออกมามีคุณภาพค่ะ :D
ขั้นตอนแรกต้องตัดสินใจเริ่มทำค่ะ
จ๋าก็เคยจะทำ Startups กับเพื่อนนะคะ ตอนเรียนป.ตรีอยู่ ตอนนั้นมีไอเดีย แต่ไม่ได้เริ่มทำซักที เพราะคิดว่าตัวเองเป็นเด็กไม่มีกำลังอะไรจะไปสู้กับเค้า คิดแต่ว่า ไว้รอเรียนจบนะ เดี๋ยวจะเริ่ม พอเรียนจบก็แยกย้ายทำงาน สรุปไม่ได้ทำค่ะ แล้วจากนั้นก็มีคนทำไอเดียคล้ายกับเราขึ้นมาก็เลยพัง พับโครงการ 55
เพราะฉะนั้นอยากให้กล้า และตัดสินใจเริ่มทำค่ะ ขั้นตอนต่อไป เวลามีปัญหาก็แก้กันไปทีละเปาะ
จ๋าให้คำแนะนำไม่ได้มากหรอกค่ะ เพราะของตัวเองก็ไม่สำเร็จ 55 แต่ประสบการณ์ที่ให้ได้คือ อย่ามานั่งกลัวปัญหาตั้งแต่เริ่ม ให้กล้าที่จะพูด กล้าที่จะสู้ แล้วก็จะได้ทำสิ่งที่อยากทำค่ะ :D
จ๋าคิดว่า Startups ในไทยทุกคนก็มีความสามารถและมุมมองที่เหมือนต่างชาตินะคะ บางคนเก่งกว่าต่างชาติด้วยซ้ำ จ๋าเชื่อว่าคนที่เอาตัวเองมาทำ Startups ได้เนี่ยเจ๋งจริง และกล้าจริง ไม่งั้นก็คงไปทำงานตามบริษัทใหญ่ๆ กันหมดแล้ว
แต่ที่อยากให้ปรับคือผู้ใหญ่ในสังคมมากกว่าค่ะ สังคมไทยไม่เอื้อให้เด็กๆกล้ามาทำ Startups อยากให้ผู้ใหญ่มองเด็กๆที่หัดทำธุรกิจบ้าง ทุกๆคนมีความสามารถด้วยกันทั้งนั้น ไม่อยากให้ดูถูกว่าเป็นแค่กลุ่มคนอายุน้อยที่มีแต่ไอเดียแปลกๆ อยากให้ผู้ใหญ่ปรับมุมมองว่าบางทีไอเดียแปลกๆ แหวกแนวนั้นก็อาจจะไปได้ดีก็ได้นะ
ไม่อยากให้ผู้ใหญ่ที่มีเงินทุนบอกว่า คุณอย่าทำอย่างนี้ ทำอย่างนั้นเจ๊ง ทำอย่างนู้นไม่ได้ คือแทนที่จะบอกห้ามก็น่าจะช่วยสนับสนุนด้วยประสบการณ์น่ะค่ะ บอกว่าทำไมถึงไม่ได้ แล้วต้องทำยังไงถึงจะได้ แบ่งปันความรู้ให้คนอายุน้อยมาทำบ้าง ไม่ใช่รวบไปหมดแล้วบอกว่าเด็กสมัยนี้มันไม่ได้เรื่อง
ส่วนเรื่องความต่างของ Startups ไทยและต่างชาติคือ Startups ต่างชาติที่เราเห็นว่าไปได้ไกลเพราะสังคมมันเอื้อมากกว่าค่ะ ความสามารถคนไทยก็เทียบได้ง่ายๆ แค่เค้ามีเงินทุน มีคนคอยช่วย อย่างที่สวีเดน รัฐบาลจะมีกองทุนสนับสนุน Startups โดยเฉพาะค่ะ
ใครอยากทำก็เขียนโครงการไป Pitch แล้วถ้าผ่านเค้าก็จะให้เงินทุนเริ่มต้น แบบเลี้ยงตัวเองขั้นต้น เช่าห้องออฟฟิศเล็กๆได้ นอกจากเงินก็จะมีที่ปรึกษาหลายๆแนวมาให้เราติดต่อพูดคุย พอถึงเวลาก็ต้องเอางานไปส่งน่ะค่ะ ว่าทำโครงการไปได้ถึงไหน ครบตามที่ตั้ง milestone ไว้ตั้งแต่แรกไหม ถ้าได้ก็เอาเงินไปเพิ่ม พอผ่านไป Startups จะเริ่มอยู่ตัวแล้วล่ะค่ะ เริ่มเติบโตโดยไม่ต้องพึ่งเงินรัฐแล้ว
ส่วนเงินรัฐก็ไม่ได้ให้มาสูญเปล่านะคะ พอ Startups เอาเงินไปเนี่ยทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจแน่นอน เพราะ Startups ก็ต้องกินต้องใช้ มีของใช้สำนักงาน สิ่งพิมพ์ มีรายได้ มีการจ่ายภาษี เงินมันก็หมุนในระบบน่ะค่ะ เป็นระบบเกื้อกูลกันไป
เพราะฉะนั้นก็อย่างที่บอกไปตอนต้นน่ะค่ะ คนไทยพร้อม เด็กไทยมีศักยภาพพอที่จะทำงาน แต่เราไม่มีโอกาสที่จะพิสูจน์ ไม่มีโอกาสได้ลอง อยากให้ผู้ใหญ่และตัว Startups ทุกๆ คนปรับมุมมองค่ะ อยากให้หลายๆฝ่ายกล้าที่จะทำอะไรใหม่ๆ :D
เตรียมความกล้าค่ะ ให้มั่นๆส่งใบสมัครไปเถอะค่ะ อย่าไปแคร์อะไรมาก แคร์มาก กลัวมาก ไม่ได้ลองกันซักที 555
จ๋าก็ไม่มีอะไรเลย เกรดไม่ได้สูง แต่อาศัยว่ามั่นหน้าส่งใบสมัครไป ทำไปทำมาคุยกันถูกคอก็เลยได้ไปต่อค่ะ อยากให้ทุกคนหัดภาษา หัดการพูด (เรื่องพวกเชิงเทคนิคโปรแกรมมิ่งนี่ก็ทุกคนน่าจะฝึกทำอยู่แล้วเนอะ ไม่งั้นอาจารย์คงไม่ได้จบ 55)
เรื่องภาษาก็สำคัญ จะบอกว่าเป็นโปรแกรมเมอร์ เป็นวิศวกรรู้แค่งานตัวเองก็พอ คุยกับคนอื่นไม่รู้ คุยกับพวกตัวเองได้ก็พอ มันอาจจะจริงส่วนหนึ่ง แต่ถ้าอยากก้าวหน้าก็ต้องรู้ภาษาและการสื่อสารค่ะ ยิ่งทำงานสายไอทีจะตามข่าวก็ต้องอ่านเป็นภาษาอังกฤษ จะอ่าน Text อ่านคู่มือก็มีแต่ภาษาอังกฤษ ถ้ารอเค้าแปลเป็นไทยก็คงไม่ทันกิน ต้องตามหลังคนอื่นไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้เบื่อ เหนื่อยกับงานตัวเอง
แต่พอได้วิ่งมาอยู่ข้างหน้า เห็นอะไรสนุกๆ รอเต็มไปหมดก็จะรู้สึกดึกับงานแล้วอยากทำไปเรื่อยๆ อยากให้ฝึกภาษากันมากๆ จริงๆ :D
หวังว่าทุกคนคงจะได้รับข้อคิดเห็นและประสบการณ์ดีๆ เพื่อจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ต้องขอบคุณคุณจ๋า นักพัฒนาไทยที่ได้ไปฝึกงานกับบริษัท IT ระดับโลกมา ณ ที่นี้ ที่สละเวลามาให้พวกเราทีมงาน Techsauce ได้สัมภาษณ์ครับ
Sign in to read unlimited free articles