นวัตกรรม เทคโนโลยี ในการจัดการน้ำ ตามแนวพระราชดำริอย่างยั่งยืน | Techsauce

นวัตกรรม เทคโนโลยี ในการจัดการน้ำ ตามแนวพระราชดำริอย่างยั่งยืน

สรุปสาระสำคัญจากงาน ปลุกพลังความร่วมมือสู่เป้าหมายความยั่งยืน (Collaborative Partnership for Sustainability)  ในหัวข้อ "นวัตกรรม เทคโนโลยี ในการจัดการน้ำ ตามแนวพระราชดำริอย่างยั่งยืน"  บรรยายโดย ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

การจัดการน้ำ

ในช่วงต้นของการแก้ปัญหาระบบการจัดการน้ำของไทย มีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดการแก้ปัญหาเรื่องของความมั่นคงทางน้ำสำหรับภาคการเกษตรโดยการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาแหล่งน้ำในชนบทเพื่อให้ภาคการเกษตรในพื้นที่ชนบทมีน้ำใช้อย่างพอเพียงแล้ว สิ่งที่ได้ทรงแก้ปัญหาต่อมาก็คือปัญหาน้ำในเมือง และการแก้ปัญหาน้ำเสีย สุดท้ายจึงเป็นปัญหาเรื่องชายฝั่ง กลายเป็นโครงการในพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ

ต่อมาเมื่อมีการใช้ระบบการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านระบบสารสนเทศ ทำให้พบโจทย์น้ำที่สำคัญของประเทศไทย คือ ประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยจากเดิมประมาณ 1,300 มิลลิเมตรต่อปี แต่หลังจาก Climate Change ทำให้ค่าเฉลี่ยขึ้นไปถึง 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณฝนมีอยู่ 7 แสนกว่าล้านลูกบาศก์เมตร กลายเป็นน้ำอยู่ประมาณ 2 แสนกว่าล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ความจุของอ่างมี 70 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุรวมของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่งทั่วประเทศ แต่ปรากฏว่าน้ำไม่ไหลลงอ่างเพราะการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการใช้น้ำจากการท่องเที่ยวที่ขัดขวางการไหลของทางน้ำลงสู่อ่างเก็บน้ำปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เฉลี่ย ปีละ 40,335 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ความต้องการใช้น้ำแต่ละปี มากกว่า 1.5 แสนล้านลูกบาศก์เมตร

ในพื้นที่ชนบทต้องการใช้น้ำแค่ 80 ลิตรต่อคนต่อวันคน ในเมือง 200 กว่าลิตรต่อคนต่อวัน ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวต้องการ 1,200 ลิตรต่อคนต่อวัน ซึ่งไทยมีร่องรอยการใช้น้ำต่อคน สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยภาคการเกษตรใช้น้ำมากที่สุด ทั้งโดยตรงและตลอดห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตร  คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้น้ำทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 25% 

การจัดการน้ำ

ปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคการเกษตรกลายเป็นภาระของประเทศเพราะว่าผลผลิตการเกษตรไม่ได้ผลเพราะการจัดการน้ำ จากปริมาณน้ำฝนทั้งหมดที่ตกอยู่ปัจจุบัน พบว่า ความต้องการน้ำที่ยังจัดการไม่ได้อีกกว่า 73,116 ล้านลูกบาศก์เมตร หนึ่งในทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่ทรงพระราชทานไว้ คือ การเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการจากแบบศูนยก์กลางโดยภาครัฐเป็นผู้ควบคุมผ่านนโยบาย มาเป็นการกระจายอำนาจโดยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ประชาชน และรัฐบาล โดยให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการน้ำในท้องที่เอง

ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2560 กลุ่มธุรกิจ TCP มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และ สสน.  ร่วมกันดำเนินงานบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ด้วย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำชุมชนของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ดำเนินงาน ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม (ชุมชนบ้านแม่ขมิง) และ ลุ่มน้ำบางปะกง (ชุมชนดงขี้เหล็ก) เกิดเป็น “โครการ TCP  โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” โดยมีการทำ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ“การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ซึ่งถือเป็นต้นแบบการทำงานแบบ 3 ประสาน ระหว่าง ชุมชน เอกชน รัฐ อย่างแท้จริง

ท้ายที่สุดภาคเอกชนจะเป็นหัวใจของการเปลี่ยนอุตสาหกรรมการเกษตร เนื่องจากเป็นภาคที่มีความสำคัญต่อ GDP ของประเทศไทยอย่างมาก และเกี่ยวพันกับห่วงโซ่อุปทานที่ภาคธุรกิจและผู้บริโภคต้องการ ดังนั้นในท้ายที่สุด เมื่อได้รับการสนับสนุนทางด้านความรู้ เทคโนโลยี จากภาคเอกชน และได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในภาคการเกษตร นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนได้




Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ปัญหาสภาพอากาศภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง AI จะช่วยโลกได้อย่างไร?

ผลกระทบมากกับความท้าทายใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิธีที่เราผลิตและใช้พลังงานและ AI มีศักยภาพในการช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปล...

Responsive image

อินเดียเลี้ยงคนทั้งโลกได้ ทำไมคนในชาติยังอดอยาก?

อินเดียเลี้ยงปากท้องคนทั้งโลกได้และกำลังจะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ กลับติดอันดับต้น ๆ ประเทศที่ประชากรหิวโหยและขาดแคลนอาหารมากที่สุดในโลก เป็นเพราะอะไรกัน ?...

Responsive image

Google พัฒนา MethaneSAT ดาวเทียมวัดปริมาณก๊าซพิษและติดตามตำแหน่ง

Google ได้ร่วมมือกับ Environmental Defense Fund (EDF) พัฒนา MethaneSAT ดาวเทียมติดตามการปล่อยก๊าซมีเทนจากนอกโลก...