ความสำคัญของทักษะการตัดสินใจ (Decision making) กับผู้นำ และ 5 เครื่องมือพร้อมวิธีที่จะช่วยพัฒนา | Techsauce

ความสำคัญของทักษะการตัดสินใจ (Decision making) กับผู้นำ และ 5 เครื่องมือพร้อมวิธีที่จะช่วยพัฒนา

“การตัดสินใจ” เป็นหน้าที่และหลายครั้งกลายเป็นภาระที่หนักอึ้งสำหรับคนเป็นผู้นำ หากทำได้ดีก็จะนำความสำเร็จมาให้องค์กร แต่หากผิดพลาด ผลเสียไม่ว่าจะน้อยหรือมากจะตามมา

ทำไมทักษะการตัดสินใจ (Decision making) ถึงสำคัญ ? 

จะเป็นหัวหน้าห้องตอนประถม หัวหน้ากองลูกเสือ หัวหน้ากลุ่มรายงาน หัวหน้าแผนก ประธานบริษัท หรือนายกรัฐมนตรี ขึ้นชื่อว่ามีตำแหน่งเป็นผู้นำ ยังไงก็ต้องรับหน้าที่ในการตัดสินใจให้ผู้ตามทำหรือไม่ทำอะไร และจะเป็นคนแรกที่ต้องรับทั้งดอกไม้และก้อนหินจากการตัดสินใจนั้น

มันจะกลายเป็นภาระที่หนักอึ้ง เมื่อสุดท้ายแล้วการตัดสินใจของเราจะส่งผลถึงคะแนนของเพื่อน อาชีพของพนักงาน ผลกำไรและภาพลักษณ์ของบริษัท ชีวิตของประชาชนในประเทศ ฯลฯ เป็นคำตอบว่าทำไมผู้นำที่ดีจึงควรฝึกทักษะการตัดสินใจ

5 เครื่องมือของผู้นำที่ต้องมีไว้เมื่อต้องตัดสินใจ 

ข้อมูล : ‘Data is oil’ ปัจจุบันข้อมูลเป็นปัจจัยที่ทุกธุรกิจใช้ขับเคลื่อน และไม่ใช่กับเรื่องนอกองค์กร การทำมาค้าขายเท่านั้น แต่เรื่องภายใน การกำหนดกลยุทธ์ การริเริ่มโปรเจกต์ใหม่ การตั้งหัวหน้าฝ่าย ฯลฯ ผู้นำควรมีข้อมูลที่มากพอและเชื่อถือได้อยู่ในมือก่อนทำการตัดสินใจ

ความถ่อมตน : เราไม่ได้เก่งที่สุด ต้องยอมรับว่าผู้นำอาจจะเป็นคนวิสัยทัศน์กว้างไกล แต่ไม่ได้รู้ทุกเรื่อง การนำปัญหาที่เจอไปปรึกษาหารือกับผู้ที่ให้คำปรึกษาได้ บางครั้งอาจจะเป็นพนักงานอายุน้อย Gen Z ที่เข้าใจเทรนด์ของวัยรุ่น หรืออาจเป็นพนักงานวัยเก๋าที่มีประสบการณ์สูง เป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้นำมองภาพปัญหาได้ชัดเจนขึ้น

ทางเลือก : ทุกปัญหามีมุมมองหลายชั้น มีหลายวิธีแก้ และทางออก และผู้นำที่ดีจะพยายามทำความเข้าใจแต่ละแง่มุม พิจารณาทุกปัจจัยแวดล้อมของปัญหา ไม่ว่าจะเป็น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลกระทบที่จะเกิดในปัจจุบัน อนาคต สิ่งที่เราจะได้หรือเสียจากการตัดสินใจนั้น ถ้าจะให้ดีเราอาจจะนั่งไล่ข้อดีข้อเสียของทางเลือกที่เรากำลังจะตัดสินใจ และทำความเข้าใจมันอย่างละเอียดก่อน เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

วัฒนธรรมการตัดสินใจ : ในโลกที่ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้นำในธุรกิจสตาร์ทอัพหรือสายงานด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน การสร้างวัฒนธรรมการตัดสินใจ ควรเอื้อให้พนักงานมีส่วนร่วมด้วย โละทิ้งวิธีการตัดสินใจแบบบนลงล่างที่เราเคยใช้

แผน : การมีแผนที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วตามความเป็นจริงในปัจจุบัน จะเป็นรากฐานที่สำคัญในการตัดสินใจที่ดี

ทำยังไงให้ตัดสินใจดีขึ้น 

ฝึกฝน : ต้องยอมรับว่าการตัดสินใจที่ดีขึ้นอาจขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่มากขึ้นด้วย หากเราเป็นผู้นำมือใหม่อายุน้อย อาจจะไม่มีประสบการณ์ แต่สามารถฝึกกันได้ด้วยการลองจำลองสถานการณ์ เช่น การออกแบบการทำงาน การสัมภาษณ์พนักงานใหม่ การแบ่งทีมทำงาน เราจะตัดสินใจยังไง จะมีผลอะไรตามมา แม้จะไม่ได้รับประสบการณ์เหมือนสถานการณ์จริง แต่การเตรียมตัวไว้ก่อนจะช่วยให้เราตัดสินใจดีขึ้นเมื่ออยู่หน้างาน

กายพร้อม ใจพร้อม : อย่าลืมและมองข้ามการดูแลสุขภาพตัวเอง การพักผ่อน ออกกำลังกาย และการหยุดพักบ้าง จะเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ เมื่อต้องตัดสินใจเรื่องยาก อาจจะหยุดสักครู่ เพื่อให้จดจ่อกับสิ่งที่เกิดตรงหน้าได้ดีขึ้น ลดความเครียดและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ผู้นำยังต้องฝึกสร้างสมดุลระหว่างการใช้อารมณ์และเหตุผลด้วย เมื่อต้องตัดสินใจ เพราะเมื่อไหร่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ความหุนหันพลันแล่นอาจทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่ดีตามมา การขอพักเบรกหายใจสักเดี๋ยวจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ทั้งนี้ผู้นำที่ดีควรมีและหมั่นฝึกฝนทั้งทักษะด้านตรรกะและเหตุผล  ทักษะการแก้ปัญหา และความฉลาดทางอารมณ์เพื่อช่วยให้การตัดสินใจดีขึ้น 

อ้างอิง : forbes , indeed

ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย

.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำยังไง ถ้าไม่ได้เป็น ‘ลูกรัก’ เจ้านาย

‘ระบบลูกรัก’ ที่ฝังรากลึกในองค์กร เป็นอีกหนึ่งปัญหาช้างในห้อง (Elephant In The Room) ปัญหาใหญ่ที่คนส่วนใหญ่รับรู้ แต่ไม่มีใครอยากพูดถึง หรือพูดไม่ได้ ทำยังไงดี...

Responsive image

รู้จักประโยชน์ Reverse Mentoring ที่ให้คนรุ่นใหม่มาสอนผู้ใหญ่ในองค์กร

เมื่อนึกถึงการทำงานในองค์กรแล้วส่วนใหญ่คนที่อายุมากกว่าหรืออาวุโสจะต้องให้คำแนะนำรุ่นน้อง แล้วถ้ากลับกันลองให้รุ่นน้องเป็นคนแนะนำผู้ใหญ่บ้างจะเป็นอย่างไร?...

Responsive image

พนักงาน 47% ไม่คิดอยากเลื่อนขั้น เพราะต้องทำงานหนักกว่าเดิม

จากสำรวจล่าสุดพบว่ามนุษย์เงินเดือนไม่ต้องการเลื่อนขั้น เพราะต้องการความสุขและพึงพอใจในบทบาทปัจจุบัน มากกว่าต้องก้าวหน้าไปรับผิดชอบงานที่มากขึ้น...