Web 3.0 มีอิมแพ็กต่ออนาคตของธุรกิจแค่ไหน มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน | Techsauce

Web 3.0 มีอิมแพ็กต่ออนาคตของธุรกิจแค่ไหน มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน

เราใช้ เว็บ (Web) กันจนเคยชิน รู้หรือไม่ว่า เว็บผ่านการพัฒนา มีความเปลี่ยนแปลงมานานกว่า 3 ทศวรรษ เริ่มจาก Web 1.0 ที่ทำได้เพียงการรับส่งสารหรือข้อความ (Text-based information) ผ่านอินเทอร์เน็ต Web 2.0 เว็บที่มีภาพ มีลูกเล่น มีช่องทางเชื่อมโยง ดูได้ อ่านได้ แสดงความคิดเห็นและโต้ตอบได้ อย่าง Meta (Facebook), Amazon ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคการพัฒนา Web 3.0 ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิรูปรูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์สื่ออย่างสมบูรณ์ และเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการบริโภคสื่อ การรับข่าวสารออนไลน์ การใช้แพลตฟอร์มค้นหาสิ่งต่างๆ ได้อย่างง่ายดายด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) 

Web 3.0Web 3.0 มีเทคโนโลยีบล็อกเชนอยู่เบื้องหลัง และบ่อยครั้งที่พูดถึงแล้วจะเชื่อมกับสกุลเงินดิจิทัล โดยเว็บจะถูกปรับให้เหมาะกับความชอบและความต้องการของผู้ใช้งานได้ ทั้งยังสามารถจัดเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องผ่านการกลั่นกรองจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

และแม้ Web 3.0 ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา แต่ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน ต่างก็กำลังเข้าสู่ช่วงต่อไปของการเติบโตทางธุรกิจจากการมีอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลที่ปรับให้เหมาะกับความชอบและความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละคนได้

การให้ความสำคัญที่ไม่เหมือนกันของ Web3 กับ Web 3.0

อธิบายก่อนว่า การเรียก Web3 กับ Web 3.0 ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว โดย Web3 เน้นสื่อสารว่า เป็นเว็บกระจายศูนย์ข้อมูลที่พัฒนาบนเทคโนโลยีบล็อกเชนและสามารถวิวัฒนาการได้ ส่วน Web 3.0 ตามคอนเซ็ปต์ตอนเริ่มต้นนั้น Tim Berners-Lee ผู้สร้าง World Wide Web ขึ้นในปี 1989 บอกไว้ว่า เป็นเว็บยุคใหม่ที่จะปรับให้เหมาะกับความชอบและความต้องการของผู้ใช้งานได้ ทั้งยังสามารถจัดเก็บข้อมูลโดยไม่ต้องผ่านการกลั่นกรองหรือตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงาน เช่น รัฐบาล หรือองค์กรใดๆ ก่อน และข้อมูลนั้นจะถูกจัดเก็บอยู่ในตัวอุปกรณ์เอง 

ทั้งนี้ Tim วางคอนเซ็ปต์เอาไว้ว่า Web 3.0 ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่เป็น 3 เสาหลัก (The three pillars) ได้แก่  

  1. Semantic Web หรือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บและนำเสนอคอนเทนต์แบบมีลำดับชั้น

  2. Artificial Intelligence หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 

  3. Natural Language Processing หรือ ระบบประมวลผลภาษาให้เป็นธรรมชาติ 

นอกจากนี้ เว็บไซต์ทางการของ W3C ระบุว่า เทคโนโลยี Semantic Web ทำให้ผู้คนสามารถสร้างที่เก็บข้อมูลบนเว็บ สร้างคำศัพท์ และเขียนกฎเพื่อในการจัดการข้อมูลได้เอง

ในด้านความสามารถของ Semantic Web ที่ทำงานควบคู่ไปกับ NLP จะทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจข้อมูลได้ในระดับเดียวกับที่มนุษย์เข้าใจ ผลที่ตามมาคือ มันจะมีความชาญฉลาดมากขึ้นและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น โดย NLP จะช่วยให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษา - ตีความ - จัดการภาษามนุษย์ เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์มีความคล้ายมนุษย์มากขึ้นและเข้าใจข้อมูลที่นำเสนอได้ดีขึ้น ต่อมาก็จะมีความแม่นยำมากขึ้น แก้ปัญหาและตอบสนองสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ Tim Berners-Lee ยังระบุลักษณะที่โดดเด่นของ Web 3.0 ด้วยว่า สามารถใช้งานได้อย่างแพร่หลาย (Ubiquity), ใช้เชื่อมต่อได้ (Connectivity) และแสดงผลแบบสามมิติได้ (3D Graphics) จากแหล่งประมวลผลข้อมูลที่อยู่ใกล้ที่สุด (Edge Computing) ซึ่งจะเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมสำคัญสำหรับการพัฒนา Metaverse ต่อไป

เปรียบเทียบความสามารถและการรองรับที่ต่างกันของเทคโนโลยี Web 2.0 กับ Web 3.0 | Source : techtarget.com

เทคโนโลยี Web 3.0 สำคัญต่อภาคธุรกิจในด้านใดและอย่างไร

ระหว่างการพัฒนา Web 2.0 ไปสู่ Web 3.0 ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนต่างก็กำลังเข้าสู่ช่วงต่อไปของการเติบโตทางธุรกิจจากการมี 'อุปกรณ์ที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลเอาไว้ใช้เองได้' ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องเข้าใจด้วยว่า ฟีเจอร์ของ Web 3.0 ทำอะไรได้บ้าง สำคัญในด้านใด และนำไปใช้อย่างไร

  • ด้านการปรับแต่งเว็บได้มากขึ้นอีกขั้น

เนื่องจาก Web 3.0 อินทิเกรตข้อมูลได้แบบเรียลไทม์จึงทำให้การโต้ตอบบนโลกออนไลน์เป็นไปตามกรอบที่กำหนดและตรงกับความสนใจบนโลกออนไลน์ หากนำไปปรับใช้กับโมเดลธุรกิจได้ถูกทางก็จะช่วยพัฒนาประสบการณ์ลูกค้าได้อย่างมีนัยสำคัญและนำเสนอความเป็นไปได้อีกมากผ่านการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย

  • ด้านการสร้างประสบการณ์ผ่านมือถือเป็นอุปกรณ์แรก

หากต้องการใช้ประโยชน์จาก Web 3.0 การเตรียมสร้างประสบการณ์ Mobile-First ให้แก่ผู้ใช้งานเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น เพราะผู้บริโภคในปัจจุบันไม่เพียงแต่ต้องการประสบการณ์แบบบูรณาการที่เชื่อมต่อช่องทางต่างๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ แต่ยังต้องการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและรวดเร็วขึ้นอีกด้วย ดังนั้น หากธุรกิจใดไม่ปรับตัวตามเทรนด์ Mobile-First ก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง 

  • ด้านการเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกหนแห่ง 

วิธีที่ผู้คนเข้าถึงข้อมูลเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เนื่องจากอุปกรณ์ได้รับการพัฒนาไปไกลกว่าคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน กอปรกับผู้คนใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการเข้าถึงคอนเทนต์บน Web 3.0 ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์จำนวนกี่ชิ้นก็ได้ และแม้ว่า Web 2.0 จะยังใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) กำลังเข้ามายกระดับการใช้งานเว็บทั้งหมด

อนาคตของ Web3 หรือ เว็บกระจายศูนย์ (The Decentralized Web) ในโลกธุรกิจ

Gavin Wood ผู้ก่อตั้ง Web 3.0 เว็บแบบกระจายศูนย์ขึ้นในปี 2014 ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง Polkadot และผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวิวัฒนาการของ Web 3.0 สร้างแนวคิดหลักของเว็บแบบกระจายศูนย์หรือกระจายอำนาจ ว่าเน้นไปที่เทคโนโลยีบล็อกเชน การเข้ารหัส และสกุลเงินดิจิทัล นอกจากนี้ยังนำฟีเจอร์บน Web3 ไปใช้กับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ เช่น ความเป็นจริงเสมือน (VR) ความเป็นจริงเสริม (AR) และตอนนี้ก็ เมตะเวิร์ส (Metaverse)

Web3 ขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปแล้วหลายล้านล้านดอลลาร์ ยิ่งไปกว่านั้น Web3 และ Web 3.0 จะทำให้แนวคิดทางการเงินแบบกระจายศูนย์เป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น ส่วนการตลาดบนโซเชียลมีเดียก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้นจากเทคโนโลยี VR และ AR ที่ไปปรากฏในภาพ

องค์กรธุรกิจจะต้องใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจของตนใหม่และตอบสนองความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้โดยตรง ซึ่งตอนนี้เหมาะที่จะเริ่มปรับเปลี่ยน เนื่องจาก Web 3.0 ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และจะมีลู่ทางอีกมากมายที่เปิดขึ้นในพื้นที่นั้น

และแน่นอนว่า Web 3.0 ก็จะส่งผลให้ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ธุรกิจไหนปรับตัวไม่ทันอาจโดนดิสรัปต์ระลอกใหม่!

....................................................

แหล่งอ้างอิง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...