หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า ‘Agile’ หรือ ‘ความคล่องแคล่ว’ ที่ก่อนหน้านี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในแวดวงธุรกิจกันบ้างแล้ว แต่ก็อาจจะไม่ค่อยเห็นภาพกันสักเท่าไหร่ รวมถึงยังไม่ได้เห็นตัวอย่างของกลุ่มองค์กรที่ได้นำ Agile ไปใช้จริง ๆ เสียที แต่ด้วยวิกฤติการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ทำให้หลากหลายธุรกิจนั้นต้องชะงักตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องเร่งทำการ Agile กับตัวองค์กร แต่การที่ผู้นำนั้น Agile ตัวองค์กรให้สำเร็จ ก็จะต้องทำให้พนักงาน ผู้ที่เป็นแรงผลักดันและเป็นทรัพยาการที่สำคัญขององค์กรนั้น Agile ไปพร้อม ๆ กันด้วยเช่นกัน
ทาง Techsauce ได้พูดคุยกับคุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการบริษัท Southeast Asia Center (SEAC) ในหัวข้อ “ตรวจวัดความ Agile ในตัวคุณ พร้อมติดอาวุธทักษะแห่งอนาคตสู่โลกหลัง COVID-19” ที่จะมาช่วยทุกคนไขข้อสงสัยและเจาะลึกการสร้างความ Agile ในตัวเองพร้อมอัพสกิลและปรับเปลี่ยนตนเองในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เช่นนี้
ในปัจจุบันหลาย ๆ คนมีการพูดถึงเรื่อง Agile ในระดับองค์กร แต่อาจจะไม่คุ้นหูกับ Agile ในระดับบุคคลสักเท่าไหร่ และยังไม่มีใครระบุว่า Agile ในระดับบุคคลนั้นเป็นอย่างไร
“Fast, Flexible and Agile” 3 คีย์เวิร์ดหลักที่เราจะต้องถามตัวเองในยุคแห่งความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเช่นนี้ว่าตัวเองนั้นเร็ว ยืดหยุ่น และปราดเปรียวพอหรือยัง? เราควรจะต้องมี Agile Mindset ที่สามารถจะปรับตัวและในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถผลักดันองค์กรไปข้างหน้า
หลาย ๆ คนเมื่อได้ยินคำว่า Agile จะคิดว่ามันเกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยี แต่จริง ๆ แล้ว Agile นั้นไม่ใช่เทคโนโลยี แต่อยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า ซึ่งเทคโนโลยีนั้นจะเข้ามาเป็นตัวช่วยให้ตัวบุคคลนั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งการที่เราจะเป็นคนที่ Agile ได้ จะต้องมีการตอบสนองในการทำงานแบบ “Proactive” มากว่า “Reactive”
Airwallex บริษัท Startup ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ B2B Payment ใน ที่สามารถจะปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่วเมื่อเจอกับวิกฤติ COVID-19 และสามารถที่จะได้รับเงินสนับสนุนกว่า 160 ล้านดอลลาร์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่บริษัท Stsrtup นั้นจะทำได้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเดินถอยหลังเช่นนี้
โดยเคล็ดลับหลักของบริษัท Airwallex ก็คือ การที่ แจ๊ค Co-founder ของบริษัทนั้นมี Agile Mindset ที่สามารถมองภาพรวมได้อย่างรวดเร็ว และ “สามารถที่จะตอบรับความต้องการใหม่ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว” โดยให้ทีมนั้นเข้าใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าลูกค้านั้นเจอกับปัญหาอะไร และออกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุด ซึ่งทำให้ Airwallex นั้นรักษาลูกค้าเดิมได้ทั้งหมด และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะดึงลูกค้าใหม่เข้ามาได้ โดยนี่แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็ว และไม่ยึดติดกับวิธีเดิม ๆ ของแจ๊ค ที่สามารถที่จะนำพนักงานและองค์กรนั้นปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในเวลาของวิกฤติเช่นนี้
Guerilla Tacos ร้านอาหารขนาดเล็กในสหรัฐฯ ที่สามารถจะกลายมาเป็นร้านอาหารที่เป็นที่สนใจของนักลงทุน โดย Brittney Valles Co-owner ของร้าน Guerilla Tacos ที่อยากที่จะแตกต่างจากร้านอาหารอื่น ๆ โดยปรับเปลี่ยนเมนูทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น เซ็ตใหญ่มากขึ้น ที่ทำให้ลูกค้านั้นสามารถซื้อและเก็บไว้ทานได้ทั้งอาทิตย์ ทำให้ปัจจุบันนี้ร้านของเขาได้รับรายได้มากขึ้นต่อวันมากกว่าการขายในรูปแบบเดิม ซึ่งความ Agile ที่เราเห็นได้ชัดจากตัวอย่างนี้คือการ “คิดนอกกรอบ”
Tito บริษัทที่ทำธุรกิจในเรื่องของ Event Ticket Management ที่สามารถคิดค้นการบริการใหม่ได้ภายใน 30 วัน ซึ่งได้จัดทำบริการ Live Streaming หรือ E-Conferencing ที่ใช้ชื่อว่า Vito สำหรับ Event Community ในการใช้งานสำหรับการ Seminar, Conference, Live หรือออกบูธต่าง ๆ ผ่านทาง Virtual ซึ่ง Agility ที่เราสามารถเห็นได้ในตัวบริษัทนี้ก็คือ “การ Reach Out หาช่องทางใหม่ ๆ”
ซึ่งนี่ก็เป็นคีย์สำคัญที่ทำให้ทั้งตัวเจ้าของธุรกิจและบริษัทเหล่านี้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและสามารถที่จะพัฒนาไปข้างหน้าภายใต้สภาวะวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย ในขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ นั้นอาจจะกำลังหมดหวังและหาทางออกไม่เจอในเวลาเช่นนี้
หลาย ๆ คนอาจจะยังสงสัยว่าในตัวเรานั้นมีความ Agile มากแค่ไหน และสามารถที่จะปรับปรุงอย่างไรได้บ้าง
สามารถที่จะตรวจวัดความ Agile ในตัวเองได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSd52eD1ynW_5u44ds76hC4s0sPws-fsRjpHjvtdaQBf8jFcOA/viewform
Improve Capabilities (กลุ่ม 0 - 4): สำหรับผู้ที่ได้คะแนนในระดับนี้อาจจะอยากที่จะ Agile แต่ว่าไม่สามารถที่จะ Agile ได้เนื่องจาก “Capabilities” หรือทักษะของตัวนั้นยังไม่ดีพอ ซึ่งก็ควรจะไปเพิ่มและพัฒนาที่ความสามารถของทักษะเดิมหรือพื้นฐานที่เรามีอยู่ให้ดีก่อน เพื่อที่จะสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
Be Responsive (กลุ่ม 5 - 9): เป็นกลุ่มที่มีความ Agile อยู่ในตัวบ้างแล้ว มีทักษะพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ยังมีการคิดแบบ “Fixed Mindset” ซึ่งก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เป็น “Growth Mindset” และเพิ่มความ “Responsive” เข้าไป เพื่อให้สามารถตอบรับและปรับเปลี่ยนกับความต้องการหลาย ๆ อย่างที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงสามารถที่จะปรับนำทักษะที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Ensure Quality (กลุ่ม 10 - 14): จะเป็นกลุ่มที่มีทั้ง Capabilities และสามารถที่จะ Responsive แล้ว แต่ในระดับนี้เราจะต้องมาดูของเรื่อง “Quality” หรือคุณภาพ ที่เรานั้นต้องสามารถที่จะทำงานได้อย่างมีคุณภาพในทุก ๆ งานไม่ใช่แค่งานใดงานหนึ่ง
Fix Derailers (กลุ่ม 15 - 19): ซึ่งมีครบทั้งสามอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Capabilities, Responsive และ Quality แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องหรือที่เรียกว่า Derailers อยู่ ซึ่งในระดับนี้เราก็ควรจะแก้ “Derailers” เพื่อที่เราจะสามารถพัฒนาไปได้ต่อ
Master of Observation (กลุ่ม 20 - 24): โดยในกลุ่มนี้ก็ได้พัฒนาครบทั้ง 4 อย่างด้านบนเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำในระดับนี้ก็คือการที่เรานั้นจะต้องคอยติดตามเทรนด์หรือการเป็น “Master of Observation” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี มีข้อมูลใหม่ ๆ อะไรบ้าง และความต้องการของลูกค้าในเปลี่ยนไปอย่างไร ที่อาจจะทำให้เรานั้นสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้อย่างเร็วยิ่งขึ้น
ซึ่งทางคุณอริญญาก็ได้ฝากทิ้งท้ายกับผู้ชมว่า ถ้าเราอยากจะเป็น “ผู้ที่เลือกได้” แทนที่จะเป็น “ผู้ถูกเลือก” เราก็จะต้องกลับมาเริ่มต้น และถามที่ตัวเองว่าเราอยากจะเป็นผู้ที่เลือกได้หรือไม่? ขั้นต่อไปคือการที่เราจะต้องวางแผน สร้าง Commitment ให้กับตัวเองว่าเราจะปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างไรและภายในระยะเวลาเท่าไหร่มีขั้นตอนอย่างไรในการที่จะกลายเป็นคนที่มี Agile Mindset โดยถ้าเมื่อเรามี Agile Mindset แล้วเราก็สามารถที่จะส่งต่อการปรับเปลี่ยนเช่นนี้ไปให้คนอื่น ๆ และสามารถที่จะนำพาและผลักดันองค์กรไปข้างหน้าได้เช่นกัน
เหลือเวลาอีก 3 วันเท่านั้น สำหรับการใช้สิทธิ์ส่วนลดสมัครเรียน YourNextU ได้ครบทุกทักษะที่ตลาดต้องการ สมัครวันนี้รับส่วนลดถึง 1,000 บาท เมื่อซื้อคอร์สในราคารวม 4,000 บาทขึ้นไป เพียงใช้ CODE: TSFBL1000 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมสมัครได้ที่ www.yournextu.com/FBLiveTechsauceSEAC
Sign in to read unlimited free articles