สัมผัสนวัตกรรมเพื่อสร้างความแตกต่างและขับเคลื่อนการเติบโต | Techsauce

สัมผัสนวัตกรรมเพื่อสร้างความแตกต่างและขับเคลื่อนการเติบโต

ในงาน Techsauce Global Summit 2020 ที่ผ่านมา ทางเราได้รับเกียรติจาก speaker ในวงการธุรกิจจากทั้งไทยและฮ่องกง ได้ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์สัมผัสนวัตกรรมผ่านธุรกิจ อีกทั้งถกในประเด็นที่ว่านวัตกรรมสามารถสร้างความแตกต่างและขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจได้อย่างไร โดย speaker ในครั้งนี้ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญหลัก Peter Mok, Head of Startegic Partnership of HKSTP จากฮ่องกง และนักธุรกิจแนวหน้าของเมืองไทย ณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการผู้บริหารกลุ่มบริษัท True Digital Group, จักรมนต์ นิติพน กรรมการผู้บริหารและผู้อำนวยการสายลงทุน Singha Ventures และจิรพัฒน์ จันทร์เจิดศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี Siri Ventures พร้อมด้วยผู้บรรยาย Relena Sei CEO ของ Jumpstart Limited 

Corporate Ventures Positioning 

เริ่มต้นคำถามแรกว่าตำแหน่งของ Corporate Ventures Capital หรือ CVC (การลงทุนของบริษัทใหญ่) ในวงการธุรกิจคืออะไร ปีเตอร์ได้ให้คำตอบไว้ว่า CVC นั้นคือตำแหน่งที่เป็นเอกลักษณ์ในวงการธุรกิจ เพราะไม่เพียงแต่ให้บริการทั้งมูลค่าเชิงกลยุทธ์ แต่ยังเป็นการคืนทุนสำหรับองค์กรอีกด้วย และเนื่องจาก CVC แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ในอุตสาหกรรมธุรกิจ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่จะต้องมีความพิเศษและโดดเด่นต่างจากรูปแบบธุรกิจอื่นๆ จากนั้นคุณจิรพัฒน์ จันทร์เจิดศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี Siri Ventures ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าเหตุผลที่ CVC ได้รับความนิยม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Synergy Credits หรือความนิยมทางเครดิตจากการทำงานร่วมกัน ที่ช่วยให้การบริหารธุรกิจในรูปแบบการลงทุน

ขนาดใหญ่ได้รับความนิยมมากกว่าสตาร์ทอัพทั่วๆ ไป และยังได้รับการยอมรับมากกว่าอีกด้วย ซึ่งทาง Siri Ventures ได้นำการบริหารธุรกิจในรูปแบบนี้ไปใช้ โดยคุณจิรพัฒน์มองว่าสตาร์ทอัพสามารถนำการ

บริหารองค์กรในรูปแบบของ CVC ไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้ เพื่อช่วยพัฒนาธุรกิจของตนในอนาคต คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการผู้บริหาร True Digital Group ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการสตาร์ทอัพมาก่อนยาวนานหลายปี ได้เสริมเพิ่มเติมว่า ชัดเจนว่าขนาดการบริหาร CVC ใหญ่กว่าสตาร์ทอัพเพราะ CVC มีหลายภาคส่วนที่จะต้องดูแล แต่สำหรับสตาร์ทอัพนั้นสามารถโฟกัสไปที่สิ่งเดียวอัน ธรรมชาติของสตาร์อัพจึงเป็นการโฟกัสไปที่หนึ่งจุด ไม่จำเป็นต้องบริหารหลายๆ ส่วนในเวลาเดียวกันทั้งองค์กร ซึ่งจุดสนใจดังกล่าวก็คือการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจของตนให้ดีขึ้น โดยคุณณัฐวุฒิมองว่า CVC และสตาร์ทอัพจึงสามารถทำงานร่วมกันได้ในแง่ของการเกื้อกูลพึ่งพาอาศัยกัน ก็คือการที่สตาร์ทอัพสามารถจัดหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้กลุ่มองค์กร และองค์กรจะจัดหาเงินทุนหรือแม้แต่ลงทุนกับสตาร์อัพได้ ซึ่งความสัมพันธ์รูปแบบนี้เป็นรูปแบบของสองความต้องการซึ่งกันและกันและสอดคล้องกันที่เรียกว่า Synergy Credits นั่นเอง 

ความแตกต่างระหว่างการบริหารงานในรูปแบบ CVC ของ Hong Kong Science and Technology Parks Coporations และองค์กรทั่วๆ ไป คุณปีเตอร์กล่าวว่า HKSTP มีการวางแผนวิจัยและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา (research and development) ซึ่งมีส่วนในการขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร โดยหลักการทำงานของ HKSTP นั้นเริ่มจากพัฒนาทักษะความรู้ของพนักงาน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องป้อนความรู้ที่และพัฒนาศักยภาพให้พนักงาน อีกทั้งพนักงานก็ต้องมีความเข้าใจถึงวิสัยทัศน์การทำงานขององค์กรอย่างถ่องแท้ องค์กรใหญ่ๆ ที่มีศักยภาพทางการเงินในการจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาช่วยบริหารการจัดการ คุณปีเตอร์มองว่าบางครั้งก็เป็นผลเสีย เพราะเมื่อขึ้นชื่อผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่ง บางครั้งก็อาจทำให้มองข้ามวิธีการด้านอื่นๆ ที่ตนไม่ถนัด หรือเรียกได้ว่ามัวแต่คิดอยู่ในกรอบ หากเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจเป็นการปิดกั้นไม่ให้องค์กรค้นพบวิธีการบริการกิจการรูปแบบใหม่ๆ 

แน่นอนว่าไม่มีสูตรสำเร็จในการบริหารธุรกิจ ทุกอย่างคือการลองผิดลองถูก คุณจิรภัทรได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า การจะบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องเริ่มจากการวางเป้าหมายไว้ให้ชัดเจน และพยายามจะทำเป้าหมายนั้นให้เป็นจริงอย่างสุดความสามารถ ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนไปมากทั้งด้านดิจิตัลและธุรกิจ Siri Ventures จึงมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมด้านนวัตกรรมขององค์กรและการพัฒนาบ้าน พวกเขามองหาโอกาสในการลงทุนใหม่ ๆ ซึ่งจะได้รับข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ อยู่เสมออีกด้วย จากนั้นจึงร่วมมือกัน 10 กิจการภายในองค์กรเพื่อทำงานร่วมกัน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เขาแนะนำกิจการขององค์กรให้มองหาโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ เนื่องจากการตั้งความคาดหวังที่ตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก การปล่อยให้ตัวเองล้มเหลวบ้างในบางครั้งจึงเป็นเรื่องปกติ 

Corporate Culture 

วัฒนธรรมในการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมดิจิตัลยังมีความสำคัญต่อ ณัฐวุฒิกล่าวเพิ่มเติมว่ากลุ่ม True Digital Group มีการปรับวัฒนธรรมองค์กรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ CVC อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมนวัตกรรมจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการยอมรับความล้มเหลว ยอมรับความเสี่ยงและความสามารถในการเรียนรู้จากความผิดพลาดเหล่านั้น ทั้งจากกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ไปจนสู่ระดับพนักงานทั่วไป  วัฒนธรรมองค์กรที่ดีจำเป็นต้องทำให้พนักงานรู้สึกมั่นคงกับบริษัท และบริษัทต้องให้พื้นที่สำหรับคนรุ่นใหม่ๆ ในการวางแผนสำคัญๆ ขององค์กร และยอมรับเมื่อพวกเขาทำผิดพลาด อีกประการหนึ่งคือความกระตือรือร้นที่จะทำงานกับผู้คนที่มาจากพื้นฐานที่หลากหลาย การเรียนรู้จากความแต่งต่างระหว่างบุคคลนี้ จะทำให้พวกเขาจะสามารถหามุมมองที่แตกต่าง เพื่อค้นหากลุ่มและโซลูชันใหม่สำหรับบริษัท ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะใช้คนรุ่นใหม่และหัดเปิดใจรับความท้าทายของระบบ seniority ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าหาก CEO ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพนักงาน ผู้บริหารระดับสูงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้นวัฒนธรรมองค์กรเกิดขึ้นได้ดี โดยเป็นเป็นตัวอย่างที่ดีเริ่มต้นให้กับพนักงานระดับล่าง 

โดยพื้นฐานแล้วสิงห์กำลังมองหาโอกาสที่จะร่วมงานกับบริษัทที่ต้องการขยายธุรกิจมายังประเทศไทย ในขณะเดียวกันสิงห์ชอบที่จะลงทุนในแพลตฟอร์มระดับภูมิภาพที่อยากขยายสาขาไปต่างประเทศ เขามักจะทำงานร่วมกับบริษัท ทุกประเภทอย่างกระตือรือร้นมากขึ้นโดยการลงทุนในบริษัทเหล่านั้น และสนับสนุนพวกเขาในแง่ของการมีความสัมพันธ์ในเชิงพาณิชย์เพื่อช่วยให้พวกเขาเปิดตัวในประเทศไทย และนั้นก็คืออีกหนึ่งวิธีในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร 

Culture Collaboration

ความร่วมมือทางวัฒนธรรม สิ่งสำคัญคือต้องทำให้สตาร์ทอัพรู้สึกมั่นคงและเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงในการทำงานร่วมกับกิจการขององค์กร ณัฐวุฒิมีประสบการณ์สูงในการทำงานกับอุตสาหกรรมสตาร์ทอัพและตอนนี้อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง คุณณัฐวุฒิจึงเข้าใจความเสี่ยงจากทั้งสองฝ่าย ข้อเสนอแนะของเขาสำหรับการเริ่มต้นฒนธรรมคือการเริ่มต้นจากการวางแผนธุรกิจที่ชัดเจนของพวกเขาก่อน พวกเขาจำเป็นต้องวางแผนโดยเฉพาะวัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ B2B หรือตามเป้าหมายของลูกค้า 

และหลังจากที่พวกเขาจัดทำแผนลำดับความสำคัญแล้วพวกเขาสามารถขอความช่วยเหลือจากกิจการขององค์กรโดยนำเสนอแนวคิดที่ดีที่สุดของคุณ สตาร์ทอัพนำเสนอกลยุทธ์และแนวคิดทางธุรกิจในการแลกเปลี่ยน จากนั้นกิจการขององค์กรจะคัดเลือกสิ่งที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับวิสัยทัศน์หรือแผนโมเดลของบริษัท นี่เป็นวิธีหนึ่งในการสร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างธุรกิจสองระดับ

และนี่เป็นเพียงตัวอย่างคอนเทนต์ที่น่าสนใจภายในงาน Techsauce Global Summit 2020 เท่านั้น ติดตามสรุปไฮไลท์ session ที่น่าสนใจได้เร็วๆ นี้หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ http://summit.techsauce.co

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...