คนทำงานและ HR ควรเตรียมตัวอย่างไรกับ วิกฤตอัตราว่างงานมากสุดในประวัติศาสตร์ | Techsauce

คนทำงานและ HR ควรเตรียมตัวอย่างไรกับ วิกฤตอัตราว่างงานมากสุดในประวัติศาสตร์

สถานการณ์วิกฤต COVID-19 ที่กระทบในปัจจุบันกับปัญหาเศรษฐกิจที่สะสมในปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจที่หนักกว่าวิกฤตเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เคยผ่านมาเเก่ประเทศไทย ซึ่ง Techsauce ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย หนึ่งในบุคคลที่อยู่คู่กับวงการ HR ประเทศไทยมานานและมีประสบการณ์การทำงานในหลายประเทศ ที่ได้มาพูดคุยในประเด็น วิกฤต และอัตราว่างงานมากสุดในประวัติศาสตร์เราจะผ่านไปได้อย่างไร? 

หากพูดถึงวิกฤต Covid-19 เรื่องของคนเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพูดถึงซึ่งผลกระทบดังกล่าวไม่ได้เเค่กระทบในเชิงเศรษฐกิจระดับประเทศอย่างเดียวเเต่ส่งผลถึงกลุ่มบริษัททั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการจ้างงานจำนวนมากของไทย ต่ออัตราการว่างงาน ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันหลายบริษัท และผู้ประกอบการเริ่มหาทางออกและวิธีประคองธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงวิกฤตนี้ เราจะเห็นว่ามาตรการที่ออกมาจะเป็นการลดการใช้ทุนต่างๆของบริษัท อย่างการลดเงินเดือนพนักงาน การปรับลดรายจ่ายของบริษัท และการปลดพนักงาน 

สภาวะวิกฤตกับสถานการณ์การจ้างในไทย

เมื่อปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าเศรษฐกิจในประเทศถดถอยซี่ง GDP ของประเทศไทยเราจะเห็นว่ามีการลดลง รวมถึงค่าเงินบาทที่เเข็งตัวมาระยะหนึ่งส่งผลต่อกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออก และในอีกด้านคือกระเเส Digital Disruption ที่เข้ามาเเทนที่ทักษะการเรียนของคนไทยในรูปแบบเดิมซึ่งมีผลโดยต่อทักษะของเเรงงานไทยที่อาจยังไม่ตอบโจทย์กับตลาดยุคใหม่นี้ ทำให้เกิดการสะสมปัญหาทางเศรษฐกิจมาระยะหนึ่งจนเกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่เป็นเหมือนระเบิดลงมาเเบบไม่ทันได้ตั้งตัวยิ่งเร่งให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ยากจะรับมือได้ทัน อีกทั้งสถาณการณ์ของไวรัส COVID-19 ที่ยังไม่มีทางออกเเน่ชัดทำให้ผลกระทบยิ่งหนักขึ้น แน่นอนว่าเมื่อเกิดสภาวะเช่นนี้สิ่งที่ตามมาคงหนีไม่พ้น  "คน" ที่ต้องรับผลร้ายนี้

จากสถานการณ์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันทำให้อัตราการตกงานที่ถูกคาดการณ์ไว้ในอนาคตอันใกล้มีโอกาสสูงถึง 7-8 ล้านคน โดยอิงจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ผ่านมารวมถึงสถานการณ์ COVID-19 ที่ไม่รู้ว่าจะดีขึ้นเมื่อไหร่ ทำให้ส่งผลต่อกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการจ้างงานสูงได้รับผลกระทบจนถึงขั้นปิดกิจการ และเส้นเลือดหลักของประเทศอย่างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ต้องหยุดรับนักท่องเที่ยวรวมถึงเพื่อตอบรับมาตรการความปลอดภัยจากภาครัฐในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 และอีกจุดที่อาจทำให้อัตราการว่างงานสูงคือเด็กที่พึ่งเรียนจบมาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจนี้ เพราะหลายบริษัทได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจอัตราการจ้างงานใหม่เรียกได้ว่ามีโอกาสน้อยมาก

การเปลี่ยนเเปลงที่จะเห็นได้ชัดในยุค New Normal คือรูปแบบการจ้างงานซึ่งการจ้างพนักงานประจำจะมีสัดส่วนที่น้อยกว่าเดิมโอกาสการได้งานของเด็กจบใหม่จะถูกพิจารณาโดยดูทักษะที่เป็นที่ต้องการของบริษัท หรือ หายาก เป็นหลัก ซึ่งหากมองที่เเรงงานในเเถบเอเชียประเทศไทยยังมีอัตราการเเรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านเทคโนโลยีและได้ภาษามากกว่า 2 ภาษา น้อยกว่าเเถบประเทศเอเชียอื่นๆ อีกกรณีหนึ่ง ที่เชื่อว่าอาจเกิดขึ้นเเล้วกับหลายคนคือการว่างงานในช่วงนี้เพราะผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทำให้หลายบริษัทตัดสินใจปลดคนงานออก ทำให้มัคนจำนวนมากอยู่ในสถานการณ์ว่างงาน ดังนั้นการหาโอกาส พัฒนาทักษะใหม่ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญปัจจุบันมีการเรียนออนไลน์จากสถาบันต่างๆ มากมายให้เราสามารถเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ หรือ เรียนเพื่อเปลี่ยนสายงานเดิมๆ ได้ สิ่งนี้นับเป็นโอกาสที่ไม่ควรปล่อยไป เพราะเป็นสิ่งที่เราสามารถลงมือทำได้เลยเพื่อสร้างโอกาสให้เเก่ตัวเอง 

บทบาทของ HR ยุค New Normal ที่ต้องทำมากกว่าดูเเล "คน" แต่ต้องเก่ง "การเงิน"

ในส่วนของการปรับตัวของ HR แต่ละบริษัทสิ่งสำคัญที่สุดตอนนี้ไม่ใช่เเค่การจัดการบุคคลากรแต่คือการที่เราจะสื่อสารอย่างไรภายในองกรณ์ในพนักงานบริษัทเข้าใจกับมาตรการ หรือ สวิธีรับมือกับปัญหาของบริษัทตอนนี้จากสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะในช่วงเวลานี้บทบาทของ HR แต่ละบริษัทค่อนข้างสำคัญต่อการตัดสินใจเรียกได้ว่า ตอนนี้ HR ถือว่าเป็นจุดสำคัญของการสื่อสารซึ่งในยุค New Normal ซึ่งเป็นเหมือนเพื่อนคู่คิดของ CEO ที่คอยให้คำเเนะนำเเละหาทางเลือกที่ดีที่สุดอย่างรอบคอบเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลาลำบากครั้งนี้

การวางโครงสร้างบริษัทให้ตอบรับกับสถานการณ์เช่นนี้ไม่ใช่เเค่การตัดสินใจเพื่อให้อยู่รอดเเต่ต้องมองให้รอบคอบในสถานการปัจจุบันและในอนาคต ในสถานการณ์เช่นนี้เราอาจเห็นหลายบริษัทเริ่มได้รับกระทบหนักจนเริ่มมีมาตรการออกมาตั้งเเต่ การปรับลดเงินเดือนของระดับผู้บริหารและระดับหัวหน้า , การปรับลดเงินเดือน และลดค่าใช้จ่ายของบริษัทในด้านต่างๆ ให้มากที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำเเละเสียสละเพื่อรักษาคนในองค์กรในอยู่ได้นานที่สุด ก่อนที่จะเริ่มปลดหรือลดพนักงงาน ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ควรนึกถึง ดังนั้น บทบาทของ HR สิ่งสำคัญนอกจากทักษะการสื่อสารที่ต้องสื่อสารให้คนในองค์กรเข้าใจสถานการเเล้วยังต้องมีทักษะด้านการเงิน ที่ควรมองถึงการจัดการงบที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ร่วมกับการหาทางเลือกที่ดีที่สุดในเเต่ละช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตเพื่อช่วยผู้บริหาร 

การทำงานในยุค New Normal เหมือนการเล่น "เก้าอี้ดนตรี" ที่ต้องพัฒนาทักษะให้เป็นที่ต้องการเสมอ

นอกจากความยากของการได้งานสำหรับเด็กจบใหม่ที่ต้องเจอกับสภาวะวิกฤตนี้ แต่ปัญหาสำหรับคนที่มีงานประจำทำอยู่ในตอนนี้สิ่งที่ควรคิดถึงคือรูปแบบการทำงานที่ต้องท้าทายกว่าเดิมที่ไม่ใช่การทำงานเเบบ Remote Working  แต่ต้องเป็นผู้คิด ผู้นำ และกล้าลงมือทำเพื่อช่วยให้สถานการในบริษัทดีขึ้นได้ในเวลานี้และอาจทำงานที่มากกว่าที่เคยทำ รวมถึงต้องทำงานได้ทุกอย่างที่อาจไม่ใช่ทักษะเดิมที่เคยเรียนมาเเต่ต้องทำได้ เราต้องคิดอยู่เสมอว่างานที่ทำในวันนี้ใช่ว่าในวันข้างหน้างานนี้จะยังมีอยู่เพราะหากองค์กรไปต่อไม่ได้เราก็ไม่มีงานทำเช่นกัน การทำงานในยุคที่เกิดวิกฤตเเบบนี้จึงเหมือนการเล่นเกาอี้ดนตรีที่อาจลดจำนวนเก้าอี้ออกไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานการณ์ขององค์กร ที่เราต้องเพิ่มความรู้และพร้อมรับงานได้ทุกรูปแบบเพื่อรักษาเก้าอี้ที่มีไว้และในอีกทางคือสร้างงานให้เกิดขึ้นมากที่สุดเพื่อเพิ่มเก้าอี้ให้องค์กร

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกทิศทางประกันภัยในยุคดิจิทัล | Exec Insight EP.74

Techsauce ได้พูดคุยกับ ดร.สุทธิพล อดีตเลขาธิการคปภ. ถึงการปรับตัวของธุรกิจประกันภัยในการนำเทคโนโลยีมาใช้...

Responsive image

นวัตกรรม อีกหนึ่งความหวังในการเติบโตของประเทศไทย | Exec Insight EP.73

Techsauce ได้รับโอกาสพิเศษในการพูดคุยกับ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA พูดคุยถึงแนวทางและภารกิจหลักในการผลักดันนวัตกรรม รวมถึงการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการขยายเข้าไปใน...

Responsive image

ไปรษณีย์ไทย 140 ปี สู้สมรภูมิโลจิสติกส์อย่างไร ?

จากบริษัทที่เริ่มต้นจากการสื่อสารเมื่อ 140 ปีก่อน สู่บริษัทโลจิสติกส์ และเตรียมต่อยอดสู่ Tech Company ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมหาศาล ไปรษณีย์ไทย สู้ศึกโลจิสติกส์อย่างไร สงครามราคาจะ...