ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร? แนวทางสำหรับผู้บริหารกับการนำ Deep Tech มาใช้ในธุรกิจ | Techsauce

ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร? แนวทางสำหรับผู้บริหารกับการนำ Deep Tech มาใช้ในธุรกิจ

Hello Tomorrow และ Boston Consulting Group หรือ BCG สองบริษัทชั้นนำที่สนับสนุนการขับเคลื่อนให้เกิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า Deep Tech หรือเทคโนโลยีขั้นสูงมาตั้งแต่ปี 2016 และเป็นสองบริษัทชั้นนำที่ได้รับความน่าเชื่อถืออย่างมากมากในเรื่องของ Deep Tech

โดยทั้ง Hello Tomorrow และ BCG ก็ได้ร่วมกันจัดทำรายงาน 5 ฉบับ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เทรนด์เทคโนโลยีของ Deep Tech ที่มีผลต่อระบบ Ecosystem ในตลาด และวิเคราะห์การพัฒนาให้ Deep Tech มีการเงินที่ดีขึ้น

ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ Arnaud de la Tour, CEO ของ Hello Tomorrow และ Massimo Portincaso, ประธานของ Hello Tomorrow ผู้จัดทำรายงานทั้ง 5 ฉบับ ได้ออกมาพูดคุยถึง Insight เกี่ยวกับรายงานฉบับล่าสุด “Deep Tech: The Great Wave of Innovation” และได้นำเสนอความสำคัญของ Deep Tech ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เหล่าผู้นำ ผู้บริหารต้องให้ความสนใจอย่างจริงจัง

Deep Tech ถือเป็นสิ่งใหม่ แล้วมันจะมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรธุรกิจได้อย่างไร เพราะเมื่อพูดถึง Deep Tech คนส่วนใหญ่จะนึกถึง Startup ?

เมื่อพูดถึง Deep Tech จริง ๆ แล้วเราไม่ได้พูดถึงเทคโนโลยี แต่เราพูดถึงแนวทางใหม่ที่จะสร้างนวัตกรรมขึ้นมา มันคือ นวัตกรรมหลังยุคดิจิทัล (Post-Digital Innovation) ที่สิ่งที่ล้ำหน้ากว่า สิ่งที่ดีกว่าจะเกิดขึ้นมา

และสิ่งแรกที่สำคัญมากสำหรับองค์กรธุรกิจที่จะต้องทำความเข้าใจ Deep Tech คือ มันจะเป็นรากฐานใหม่ของการสร้างนวัตกรรม ที่จะมาลดความเสี่ยงให้น้อยลง จากอดีตที่การสร้างนวัตกรรมจะต้องอาศัยระยะเวลา และขั้นตอนที่หลากหลาย Deep Tech จะทำให้การสร้างนวัตกรรมเหล่านี้ไม่ได้ยากและน่ากลัวอีกต่อไป 

โดยแรงขับเคลื่อนหลัก ๆ ที่ทำให้ Deep Tech จะมาเป็นตัวสร้างนวัตกรรมแบบใหม่นั้น ทาง Arnaud de la Tour และ Massimo Portincaso ได้มองว่า เป็นการผสานการทำงานของสิ่งต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่

Deep Tech การผสานกันของทักษะต่าง ๆ 

Deep Tech คือ ตัวช่วยขับเคลื่อนให้นำเอาทักษะต่าง ๆ มาทำงานร่วมกัน ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการออกแบบ รวมทั้งด้านวิศวกรรม ทักษะเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกันได้เมื่อมี Deep Tech และผลที่ตามมาคือ เราจะสามารถแก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ ที่เราไม่เคยแก้มาก่อนได้ เพราะเมื่อก่อน ปัญหาเหล่านี้ถูกมองแยกกัน และแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างกันตามทักษะ

Deep Tech การผสานกันของเทคโนโลยี

การผสานการทำงานของเทคโนโลยี อย่างเช่น การใช้ AI ออกแบบหุ่นยนต์และ IoT ผ่านการป้อน Data ลงไป และยิ่งมี Data มากเท่าไร AI ก็จะสามารถออกแบบได้ดีขึ้น และการทำงานก็จะเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น แตกต่างจากในอดีต หากจะมีการออกแบบงานสักชิ้นหนึ่ง จะต้องใช้เวลาในการออกแบบ-สร้าง-ทดลอง-เรียนรู้จากมัน ก่อนจะทำวนซ้ำแบบเดิมจนออกมาเป็นผลงานจริง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า จากอดีตที่เคยใช้ระยะเวลา 20 ในการพัฒนานวัตกรรม อาจจะใช้เพียง 2 ปีเมื่อมี Deep Tech

จากที่กล่าวมาข้างต้น แล้วธุรกิจจะสามารถหยิบยกเอา Deep Tech เข้ามาในธุรกิจอย่างไร ?

Deep Tech ผสานการวิจัยและการพัฒนา (R&D) แบบดั้งเดิมเข้ากับดิจิทัล ซึ่งหากมองให้ดีแล้ว มันไม่ใช่การสร้างรูปแบบ R&D แบบใหม่ แต่มันคือการนำเอาสิ่งที่มีอยู่ทั้งมองส่วนมาทำงานร่วมกัน 

หากลองมองไปที่อุตสาหกรรมอย่าง อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร จะเป็นอุตสาหกรรมที่

มีการทำ R&D สูง และการดึงเอา Deep Tech เข้ามาจะช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันของงานวิจัยแบบดั้งเดิม กับเทคโนโลยีดิจิทัล (AI, Big Data) กับโมเดลธุรกิจทำให้เกิดความแตกต่าง รวมทั้งเกิดเป็น Mindset การทำงานรูปแบบที่แตกต่างออกไป 

และหากมองไปที่อุตสาหกรรมผลิตซอฟต์แวร์ มันก็จะลงลึกไปกว่านั้นอีก เช่น ทาง Google ได้ร่วมกับ Alpha Fold ในการเพิ่มประสิทธิภาพของลำดับโปรตีน และปฏิวัติวงการ BioTech นอกจากนี้ยังมีทาง Microsoft ที่กำลังสำรวจและศึกษาในเรื่องของ Biological Data Storage หรือคลังเก็บข้อมูลในอนาคตด้วยสิ่งมีชีวิต

ซึ่งไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมใดก็ตาม บทบาทของ Deep Tech ก็นับว่าเป็นสิ่งที่องค์กรควรรับไปทำให้เกิดขึ้นจริง เพื่อจะเป็นทางออกสำหรับปัญหา และเป็นหนทางใหม่ของการสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งอนาคต

แล้วเพราะอะไร คนส่วนใหญ่ถึงมองว่า Deep Tech จะต้องมาคู่กับ Startup มากกว่าจะคู่กับองค์กรธุรกิจทั่วไป ?

มันจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนในองค์กรใหญ่ ๆ ทั่วไป กับธุรกิจ  Startup คือ ปัญหาต่าง ๆ ที่จะต้องหาทางออก หาทางแก้ไขมักจะถูกกลืนไปในสภาพแวดล้อมขององค์กรขนาดใหญ่ เพราะคนจะไปโฟกัสกับความมีประสิทธิภาพของทางแก้ปัญหา แต่ไม่ได้มองที่ปัญหาจริง ๆ ก่อน ในขณะที่ฝั่ง  Startup เป็นธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับปัญหา มองตรงไปที่ปัญหา พร้อมหาทางแก้ปัญหาผ่านการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย รวมทั้งมีการหยิบยกเอาทักษะ เอานวัตกรรมต่าง ๆ มาทำงานร่วมกัน จนเกิดเป็นทางออกที่ดีที่สุด จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Startup ไปเกี่ยวเนื่องกับ Deep Tech 

จากรายงานของ Hello Tomorrow และ BCG ที่ทั้งสองได้จัดทำขึ้นมา พบว่า การลงทุนใน Deep Tech เติบโตขึ้นจาก 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2016 ไปเป็น 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 เพราะอะไรการเติบโตมันถึงได้เป็นไปอย่างก้าวกระโดดขนาดนี้ ในระยะเวลาอันสั้น ?

‘คลื่นดิจิทัล’ เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้เกิดการลงทุน บริษัทเทคยักษใหญ่ของโลกอย่าง Google, Apple, Facebook และ Amazon ก็หันมาลงสนาม Deep Tech กันแล้วทั้งสิ้น เหลือแค่เพียง ทำให้มันเติบโต ทำให้มันแพร่กระจายเทคโนโลยีเหล่านั้นออกไปสู่ระบบเศรษฐกิจ

ในขณะเดียวกัน การเกิดขึ้นมาใหม่ของเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็เช่นกัน ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้คน นักลงทุน และธุรกิจหันมาสนใจ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ เป็นทางออกให้กับปัญหาหลายอย่างที่ในอดีตมนุษย์ไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหา แก้วิกฤตที่เกิดขึ้นมาใหม่ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกคนได้มองเห็นว่า ถึงแม้ว่าตัวเลขการลงทุนจะเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่ในส่วนของ Deep Tech ยังมีการลงทุนไม่ถึง 10% ของการลงทุนในเทคโนโลยีทั้งหมด เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว คนจะไปลงทุนในส่วนของเทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า

อย่างที่ทราบกันดีว่า Startup ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิด ‘คลื่นดิจิทัล’ และ Deep Tech เองก็ไม่ใช่แค่ Digital Product ที่หลายคนเข้าใจ แต่มันยังรวมไปถึง Physical Product ด้วยเช่นกัน 

แล้ว Startup จะมีบทบาทอย่างไร ใน ‘คลื่น Deep Tech’ ? 

ถึงแม้ว่า Startup จะมีความพร้อมด้านไอเดีย ด้านเทคโนโลยีแต่สิ่งที่ยังขาดคือ สิ่งที่องค์กรใหญ่มี นั่นคือ กำลังเงินทุน และกำลังคน และการจะสร้างให้เกิดคลื่น Deep Tech จะต้องอาศัยศักยภาพที่มีของทั้ง Startup และองค์กรธุรกิจมาร่วมกัน เพื่อให้ Startup มีศักยภาพมากขึ้นในการพัฒนาเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันทางด้านองค์กรก็จะต้องเร่งรับเทคโนโลยีเข้าไปใช้ด้วยเช่นกัน ซึ่งตอนนี้เรากำลังหาทางในการแก้ไขปัญหานี้ 

แล้วหลังจากนี้จะมีเทรนด์อะไรที่น่าสนใจต่อไปอีกบ้าง ? 

สำหรับคลื่นลูกต่อไปที่น่าติดตาม คือ Nature Co-Design หรือการรวมกันระหว่างชีววิทยา นาโนเทคโนโลยี และวัศดุศาสตร์เข้ามาไว้ด้วยกัน โดย Nature Co-Design จะเป็นคลื่นลูกใหม่ที่จะเข้ามาเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิต อีกทั้งยังส่งเสริมเรื่องของความยั่งยืนอีกด้วย

โดย Arnaud de la Tour และ Massimo Portincaso มองว่า สำหรับเทรนด์นี้ ยังมีอีกสิ่งที่ทุกคนยังต้องทำความเข้าใจ คือ นวัตกรรมตัวใหม่นี้จะเป็นการผสานการทำงานร่วมกันของฝั่งวิศวกรรม และฝ่ายการผลิต โดยการทำงานนี้จะลงลึกไปสู่ระดับอะตอม

ในอดีตที่ผ่านมา มนุษย์เปลี่ยนมาจากผู้ล่า สู่การเป็นผู้สร้าง และในอนาคตเราจะเพิ่มศักยภาพการเป็นผู้สร้างของมนุษย์ที่ลงลึกไปถึงระดับอะตอม ให้มีการทำลายทรัพยากรที่เรามีน้อยที่สุด แต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน DeepTech กลายเป็นที่น่าจับตามมองในโลกของเทคโนโลยี และโลกธุรกิจมากยิ่งขึ้นในในประเทศไทย องค์กรธุรกิจต่างมีความตื่นตัว และให้ความสำคัญกับ DeepTech มากขึ้นเช่นกัน 

Techsauce ได้มีการร่วมมือกับ Hello Tomorrow เดินหน้ายกระดับประสิทธิภาพองค์กรด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ DeepTech โดยการเชื่อมโยงองค์กรในประเทศไทยกับกลุ่ม DeepTech Startups ผ่านการร่วมมือทั้งในรูปแบบพันธมิตรและการเข้าลงทุน สนใจติดต่อได้ที่ [email protected]

ที่มา : Hello Tomorrow

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...