หลังจากทั่วโลกผ่านการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การดูแลรักษาสุขภาพถูกยกให้เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับทุกภาคส่วน โรคระบาดเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการยกระดับการแพทย์ระดับประเทศ ธุรกิจ Healthcare เติบโตเป็นอย่างมากในทุกสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท Bio-Tech Company, Pharmaceutical, Personalized Healthcare รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพระดับครัวเรือน การให้บริการรักษาบุคคลแบบโดยตรง Personalized medicine และ Telemedicine การรักษาจากทางไกลที่กลายเป็นเทรนด์ยอดนิยมในปัจจุบัน โดย Techsauce Global Summit ในปีนี้เลยไม่พลาดที่จะหยิบยกประเด็น Future of Health มาพูดคุยกัน
Susie Ruff ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาผู้บริหารบริษัท RUFF & CO. ร่วมพูดคุยถามตอบกับ Bin (William) Xu หัวหน้าห้องปฏิบัติการนวัตกรรมดิจิทัลของ Pfizer’s Digital Innovation Lab ประเทศจีนและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Pfizer Inc. ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น กลยุทธ์นวัตกรรมที่ปรากฎในอุตสาหกรรมปัจจุบัน การ Transforming Healthcare อนาคตของ HealthTech และความร่วมมือในอุตสาหกรรม
William เปิดเผยว่าที่ Pfizer พวกเขามุ่งเน้นเรื่องการนำเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่มาใช้และทดสอบแนวคิดที่แตกต่างกันก่อนที่จะขยายตลาด ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องต้องมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยจริง เขากล่าวว่า "ประสบการณ์ที่หลากหลายในธุรกิจสตาร์ทอัพ การร่วมทุนทางธุรกิจ การวิเคราะห์ตลาดและการสร้างแบบจำลองทางธุรกิจนั้นทำให้เขามีความสามารถในการตัดสินใจ ซึ่งไม่สามารถทำได้โดยไม่รู้วิธีการดำเนินธุรกิจหรือวิธีสร้างผลิตภัณฑ์จากพื้นฐาน จุดนี้ช่วยสนับสนุนการทำงานของ Pfizer เป็นอย่างมาก"
William เข้าร่วมกับไฟเซอร์ในเดือนเมษายน 2020 และได้ขับเคลื่อนโครงการริเริ่มด้านนวัตกรรมแบบเปิดของบริษัทยายักษ์ใหญ่ในการวิจัยและพัฒนาเชิงพาณิชย์ในวงกว้าง มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับกลุ่มสตาร์ทอัพและชุมชนเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในเอเชียและทั่วโลก
เราทดสอบแนวคิดต่างๆ เราต้องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังประดิษฐ์ขึ้น ร่วมสร้างกับพันธมิตรของเรา และเสนอความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยของเรา
ในยุคปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคคาดหวังว่าผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การบริโภคในระดับเฉพาะบุคคล มีความเป็นส่วนตัวและสามารถปรับแต่งสำหรับบุคคลได้มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของทุกคน เพราะ เราล้วนต้องการให้แน่ใจว่าเราได้รับการดูแลที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายของเรา ความต้องการเฉพาะ ซึ่งการประยุกต์ใช้ ‘เทคโนโลยีใหม่’ ในภาคการดูแลสุขภาพแบบดั้งเดิมนั้นช่วยเสริมประสิทธิภาพของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare Provider-HCPs) ในการวินิจฉัยโรคโดยละเอียดมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างช่องทางการสื่อสารที่เปิดกว้างกับผู้ป่วย
การเปลี่นแปลงด้านดิจิทัลในภาคเภสัชกรรม ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับบริษัทยา Susie Ruff เล่าว่าในประเทศแถบนอร์ดิกในด้านเภสัชกรรมมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อใกล้ชิดกับผู้ป่วยจำนวนมาก การติดตามแนวโน้มล่าสุดของนวัตกรรมเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ส่งผลต่อโมเดลธุรกิจ องค์ความรู้ การนิยามขอบเขตเพื่อจัดลำดับความสำคัญของนวัตกรรมที่ต้องสมดุลกับเป้าหมายขององค์กร ผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งทุกอย่างที่บริษัททำล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตคน
เราจะกำหนดแนวนวัตกรรมของเราอย่างไรและเราจัดลำดับความสำคัญอย่างไร ผลลัพธ์ของนวัตกรรมจะไม่เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน และมักจะใช้เวลานานกว่าที่สิ่งต่างๆ กว่าที่จะบรรลุผล
William กล่าวว่า ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดอีกประการหนึ่ง คือ กฎระเบียบที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละประเทศหรือภูมิภาค วิธีการทำงานที่สามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการปิดกั้นทางนวัตกรรม นอกจากนี้ ความท้าทายภายใน คือ การสื่อสารระหว่างทีม ไม่เพียงแต่ในบริษัท แต่ยังรวมถึงทั่วทั้งอุตสาหกรรมด้วย
Personalized Medicine และเทคโนโลยีใหม่ๆ จะทำให้อุตสาหกรรมยาไม่สามารถทำงานแบบเดิมได้ จำเป็นต้องมีวิธีการทำงานใหม่ รูปแบบธุรกิจใหม่ ต้องร่วมมือกับผู้เล่นใหม่ในระบบนิเวศที่ไม่เคยมีมาก่อน ถึงแม้ Pfizer เป็นองค์กรที่ค่อนข้างใหญ่ แต่เราตระหนักดีว่าเราไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ด้วยตัวเอง การดูแลสุขภาพไม่ใช่เรื่องของอุตสาหกรรม แต่เป็นความกังวลของทั้งสังคม
William กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการของอุตสาหกรรมยาในท้องถิ่นสูงมากขึ้น เนื่องจากระบบการดูแลสุขภาพมีรูปแบบที่แตกต่างในแต่ละประเทศ แต่ละระบบจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง การทำงานจำเป็นต้องยืดหยุ่นทั้งภายในและภายนอกเพื่อเปิดกว้างทางนวัตกรรม เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดการแลกเปลี่ยนเชิงความรู้ เทคโนโลยี ในระบบนิเวศอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมาย คือ สุขภาพพื้นฐานของประชากร บริษัทต้องเข้าใจปัญหาที่ต้องเผชิญในด้านการรักษาผู้ป่วย เช่น การขาดข้อมูลหรือขาดแคลนเทคโนโลยี ขาดแนวทางการวินิจฉัยที่แม่นยำ ดังนั้น เมื่อเข้าใจจุดอ่อนเหล่านี้ลองร่วมมือกับผู้เล่นอื่น ๆ ตั้งแต่สตาร์ทอัพ สถาบันการศึกษา ผู้กำหนดนโยบายผู้ร่วมทุน และบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ตลอดจนข้ามอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม William กล่าวว่าในมุมมองของตน สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้น ภาคเภสัชกรรมยังก้าวไปช้าเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เทคโนโลยีเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาผู้ป่วย เขากล่าวว่าในหรัฐฯ มีความก้าวหน้าในด้านการบำบัดด้วยระบบดิจิทัล (Digital Therapeutics) ในประเทศจีนก็เป็นผู้นำในด้านโรงพยาบาลอินเทอร์เน็ต การวินิจฉัยโรคจากทางไกล และการสั่งจ่ายยาทางไกลเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจะไม่สามารถดูแลทุกอาการป่วยได้ด้วยวิธีนี้ แต่ก็มีเทคโนโลยีบางอย่างที่เสริมศักยภาพ ซูเปอร์แอปอย่าง Wechat และ Alipay ก็เข้ามามีส่วนร่วมทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน อุตสาหกรรมตื่นเต้นที่จะลองใช้แพลตฟอร์มต่างทางการแพทย์ เช่น Biomarker หรือ อุปกรณ์ IOT เข้ามาช่วยผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างมากในการตรวจสอบสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง
การใช้วิธีการเริ่มต้นในห้องปฏิบัติการนวัตกรรมและการร่วมออกแบบเทคโนโลยีกับพันธมิตรจะช่วยลดช่องว่างการทำงานระหว่างคนมีประสบการณ์ทั้งในด้านเภสัชกรรมขนาดใหญ่และภาคธุรกิจสตาร์ทอัพ William เล่าวว่า เขาพบว่าสตาร์ทอัพต้องการเป็นผู้ร่วมคิดค้น ผู้ร่วมสร้างสรรค์ด้วย เขาแนะนำว่าในการจัดการความสัมพันธ์นั้น แต่ละฝ่ายจะต้องพัฒนาความรู้เกี่ยวกับข้อดีและความท้าทายของกันและกัน
William และ Susie กล่าวตรงกันว่า ความซับซ้อนของอุตสาหกรรมการแพทย์ ทำให้เกิดอุปสรรคในการปรับปรุงสร้างสรรค์นวัตกรรม Healthtech แต่ละโครงการต้องการการทำซ้ำหรือต้นแบบจำนวนมาก เขาพบว่าผู้คนมักไม่ชอบความเสี่ยงและชอบทางลัด แต่ต้องการสร้างโครงการที่มีผลกระทบที่วัดผลได้ชัดเจน “การออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้คำนึงถึงเป้าหมายที่เชื่อมโยงกับผลประโยชน์ของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมก่อนการคิดจะขยายปริมาณ” William กล่าว
Healthtech ต้องเข้ามาช่วยลดช่องว่างการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารและจัดการโรคภัยต่าง ๆ ร่วมกับแพทย์
ในช่วงท้าย ทั้งคู่เสนอประเด็นร่วมกันว่า ความท้าทายด้านการดูแลสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดของจีนรวมถึงทั่วโลก คือ ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อทรัพยากรเริ่มขาดแคลนมากขึ้น คำถามก็คือ เราจะสามารถส่งเสริมบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างไร? เขากล่าวว่าในอนาคต อาจมีโอกาสที่ AI จะมีบทบาทมากขึ้น จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ให้บริการวินิจฉัยหรือตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว
Sign in to read unlimited free articles