จากการเยือนสหรัฐอเมริกา นายกเศรษฐา ทวีสิน ปิดไป 3 ดีลกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก อย่าง Google, Microsoft, และ Amazon Web Services เป้าหมายพาไทยเข้าสู่ Digital Transformation เสริมแกร่งเศรษฐกิจไทยให้เติบโตในยุคดิจิทัล
Amazon Web Services - นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หารือผู้บริหาร Amazon Web Services เพื่อจับมือพัฒนา Digital Transformation เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในระดับโลก
ไทยให้การสนับสนุน AWS ที่เป็น hyperscale data center ระดับโลกเจ้าแรกในการลงทุนก่อสร้าง AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในประเทศด้วยงบประมาณกว่า 1.9 แสนล้านบาท (US$5 พันล้านบาท) เป็นระยะเวลากว่า 15 ปี
ซึ่งทาง AWS ยินดีที่จะร่วมเดินหน้าให้การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อทำให้ไทยเป็นผู้นำในเศรษฐกิจดิจิทัล และ innovation hub ผ่านการมาลงทุนของเทคโนโลยีคลาวนด์ (AI, ML, data analytics, IoT) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลที่สำคัญ และรากฐานในการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ของคนรุ่นต่อไป
ในการมาลงทุนครั้งนี้ นายกจะสนับสนุนให้เกิดการใช้คลาวน์ให้ครบทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิภาพการพัฒนาบริการทางดิจิทัลให้แก่ประชาชนทั้งของรัฐและเอกชน รวมไปถึงในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะเรื่องคลาวน์เทียบเท่ามาตรฐานโลก และได้งานหลังจบหลักสูตรทันทีผ่านโครงการ AWS re/Start และอื่น ๆ เป็นต้น
Google - ได้มีการลงนาม MOU ระหว่าง Google กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ร่วมมือกันเพื่อพาไปไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่ง Google พิจารณา ไทย เป็นหนึ่งในที่ตั้ง Data Center
บริษัทมีแผนที่จะลงทุนสร้าง Data Center เพิ่มเติมในอาเซียน โดย พิจารณาไทยเป็น 1 ในสถานที่ตั้งที่มีศักยภาพสำหรับการสร้าง Data Center ประเทศที่ 11 ของบริษัทจากทั่วโลก และเป็นแห่งที่ 4 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากการลงทุนของ Google ตลอด 12 ปีที่ดำเนินการในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2565 ผลิตภัณฑ์และโครงการต่างๆ ของ Google สนับสนุนการจ้างงานในประเทศกว่า 250,000 ตำแหน่ง และสร้างผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ภาคธุรกิจไทยกว่า 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ความร่วมมือกับ Google เป็นก้าวสำคัญเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการปรับปรุงภาคส่วนต่างๆ ที่มีความสำคัญกับประชาชนชาวไทย ธุรกิจ และนักลงทุน ด้วยการลงทุนผ่านนโยบายการใช้งานระบบคลาวด์เป็นหลัก (Cloud-First Policies) พร้อมกับการสร้างไซเบอร์สเปซที่ปลอดภัย ความเชี่ยวชาญและการลงทุนจาก Google ในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมถึงการวิจัยทางด้านการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ การพัฒนาทักษะทางดิจิทัล และการรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์มในระดับโลกจะช่วยให้ประเทศไทยทะยานสู่การเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพิ่มโอกาสสร้างงานที่มีมูลค่าสูง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน”
Microsoft - ในการลงนาม MOU ระหว่าง บริษัท Microsoft กับ รัฐบาลไทย ไทยเผยถึงความมุ่งมั่น และพร้อมที่จะปรับปรุงการให้บริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของไทยได้
โดยบริษัท Microsoft อยู่ระหว่างการศึกษาแผนการลงทุน Data Center ขนาดใหญ่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจว่า การมาลงทุนในไทย จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยอย่างเต็มที่ ไทย ทราบว่า พลังงานสะอาดเป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญสำหรับธุรกิจของ Microsoft ในการบรรลุเป้าหมาย ESG
จึงได้เตรียม Utility Green Tariff (UGT) นำเสนอกลไกพลังงานหมุนเวียนใหม่ พร้อมแหล่งที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ มาพร้อมกับ REC (ใบรับรองพลังงานทดแทน) กลไกนี้สอดคล้องกับข้อกำหนด RE100 อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าการหารือในวันนี้จะเป็นสะพานเชื่อมทั้งสองฝ่ายไปสู่โอกาสทางธุรกิจ และการลงทุนในอนาคตอันใกล้
3 ดีลใหญ่นี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้เศรษฐกิจไทยหลังจากนี้ ไม่ว่าจะทั้งภาครัฐและเอกชน ตำแหน่งงานที่อาจเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องจับตาดูกันต่อไปว่าในปี 2024 ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีไปในทิศทางไหนกันแน่
อ้างอิง: prd.go.th (Google), prd.go.th (Microsoft), thebetter, ข่าวจาก Google (ประเทศไทย)
Sign in to read unlimited free articles