GC กับการก้าวข้ามความท้าทายสู่ความก้าวหน้า ด้วยการผลักดัน Corporate Innovation ในองค์กร | Techsauce

GC กับการก้าวข้ามความท้าทายสู่ความก้าวหน้า ด้วยการผลักดัน Corporate Innovation ในองค์กร

การที่องค์กรจะสามารถก้าวข้ามความท้าทายใหม่ ๆ ไปได้ องค์กรจะต้องรู้ว่าจะควบคุมเทคโนโลยีอย่างไร แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มี ‘พนักงาน’ เป็นหัวใจสำคัญ เพื่อรับมือกับ Disruption อย่างยั่งยืน คุณนัทพล จงจรูญเกียรติ จาก PTT Global Chemical (GC) ได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์การขับเคลื่อนนวัตกรรมขององค์กร ในหัวข้อ “Break the Challenge: The Experiment of Corporate Innovation” งาน Techsauce Global Summit 2022

กลยุทธ์ผลักดันการสร้าง Digital Transformation

ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า Disruption เป็นความท้าทายและโจทย์สำคัญที่ทุกองค์กรจะต้องรับมือ ซึ่งสิ่งสำคัญในการรับมือกับปัญหานี้คือการปรับตัวและเปลี่ยนโฉมธุรกิจใหม่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่สร้างความพร้อมในเรื่องนี้ และได้จัดตั้งทีม Digital Transformation ขึ้นมา โดยทีมทำงานภายใต้รูปแบบ Triple Transformation เพื่อพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล ดังนี้

  • People Transformation สร้างการทำงานรูปแบบใหม่ โดยการนำแนวคิด Agile มาปรับใช้ เตรียมความพร้อมให้พนักงานมี Growth Mindset เพื่อเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหาแบบมีการคิดเชิงวิพากษ์ สร้างความสามารถใหม่ให้คนทั้งองค์กรในการสร้างยูสเคส Data Citizen รวมถึงส่งเสริมวัฒนธรรม Digital Innovation ผ่านกิจกรรมขององค์กรและสร้างการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
  • Business Transformation ปรับใช้ Digital Use Case ร่วมกับ Business ผ่านเป้าหมาย 4Smarts โดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ซึ่งแบ่งเป็นสองด้าน โดยด้านแรกคือ Smart operation ประกอบด้วย Smart plant และ Smart sales & marketing และอีกด้านคือ Smart Office ประกอบด้วย Smart work process และ Smart workplace
  • Technology Transformation ปรับโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยให้พร้อม และสร้าง Data Platform เพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในมืออย่างเหมาะสม

การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนต้องเริ่มจาก ‘คน’ 

การจะผลักดัน Digital Transformation ให้มีความยั่งยืนจะต้องเริ่มจากคน ทาง GC จึงมองว่าพนักงานเป็นหัวใจสำคัญในการก้าวข้ามความท้าทายนี้ และมีการพัฒนาพนักงานในองค์กรทั้งด้านทักษะ (Skill) และความคิด (Mindset)

GC ได้สร้างทีมใหม่ขึ้นสองทีม ได้แก่ ทีม Digital Academy คือทีมที่สร้างขึ้นมาเพื่อเน้นเรื่อง Skillset โดยเฉพาะ สิ่งที่ทีมนี้ทำคือการสำรวจเรื่องดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงสร้างหลักสูตรและทำแอปพลิเคชั่นให้กับพนักงานภายในองค์กร

ส่วนอีกทีมหนึ่งคือ ทีม Digital Curator ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่เรื่องการสื่อสาร แต่เป็นทีมที่ต้องทำให้ผู้ใช้ตระหนักว่าอะไรกำลังจะเปลี่ยนไปและเข้าใจจริง ๆ ว่าเราจะเปลี่ยนมันอย่างไร โดยทาง GC จะเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน เนื่องจากต้องการให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมกับสิ่งใหม่ ๆ อย่างถูกต้องและยั่งยืนมากขึ้น GC ตั้งเป้าหมายไว้ว่าพนักงานจะต้องเป็นคนที่พร้อมจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และเข้าใจแนวโน้มของเทคโนโลยีใหม่ ๆ นอกจากนี้ GC ยังจะสร้างความเป็นผู้นำทางดิจิทัลให้กับแต่ละหน่วยธุรกิจหรือแต่ละฝ่าย 

Incubation ตัวช่วยสำคัญของการสร้าง Digital Transformation

Incubation หรือการบ่มเพาะธุรกิจ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กรภายใน เนื่องจาก Incubation เป็นเหมือนการค้นหาและพัฒนาด้วยการจัดตั้งโครงการบ่มเพาะธุรกิจใหม่ ซึ่ง Incubation จะช่วยให้คนเหล่านั้นสามารถเรียนรู้ความล้มเหลว อีกทั้งทางองค์กรที่เป็น Incubator ก็จะสามารถเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้ 

“Learn to unlearn การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ถูกต้องคือการพยายามปรับวิธีคิดใหม่”

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา GC ได้ดำเนินการ Incubation มาหลายวิธี โดยในช่วงแรก ๆ เริ่มจาก Internal Incubation คือ GC ขอแนวคิดจากคนภายในแล้วจึงจัดหาพนักงานให้กับหน่วยงานภายนอก หลังจากนั้นให้หน่วยงานภายนอกช่วยแชร์ความรู้หรือไอเดียกลับมาให้ทีมงานภายในดำเนินการเอง ทำให้วิธีการนี้ไม่ได้ผลเนื่องจากต้องใช้เวลาพอสมควรในการสร้างอะไรบางอย่างจากแนวคิดเพื่อมาเป็น Prototype หรือ MVP

หลังจากนั้น GC จึงเปลี่ยนมาใช้วิธี Hybrid Incubation คือ การทำงานร่วมกันระหว่างภายในกับภายนอก เช่น การดึงผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีความคิดใหม่ ๆ เข้ามาทำงานร่วมกัน เพื่อให้มีเป้าหมายในการดำเนินการแบบเดียวกัน 

การสร้าง Corporate Innovation จะต้องหาเส้นทางที่เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด เมื่อเห็นว่าองค์กรอื่นใช้วิธีไหนแล้วสำเร็จ ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถก๊อปปี้และนำไปใช้กับองค์กรของตัวเองได้เลยทันที แต่จะต้องทำการทดลองด้วยตัวเอง ซึ่ง GC ก็ยังคงมีการทดลองอยู่ทุกปีผ่านการเปิดให้เสนอแนวคิด เช่น การจัดงาน Hackathon 

“ความสำเร็จของ Corporate Innovation มาจากการที่เราออกแบบโปรแกรมให้เหมาะสมกับพนักงานและวัฒนธรรมองค์กร”

ก้าวต่อไปของ GC

กุญแจสำคัญของการผลักดัน Corporate Innovation คือ จะต้องหา Use Case ที่มีคุณค่าต่อองค์กร ในระยะต่อไป GC จะยังคงดำเนินการ Incubation Program ต่อไป และพยายามหาแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อขยายสู่ต่างประเทศและเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ GC จะเริ่มสร้าง Startup Ecosystem และกำลังมองหาสตาร์ทอัพที่จะเติบโตไปสู่บริษัทยักษ์ใหญ่ในวันข้างหน้า

สิ่งที่ทำให้ GC เติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับฟีดแบ็กที่มีค่าจากพนักงานและจากคนภายนอกที่ต้องการช่วยให้ GC เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรและพัฒนาโปรแกรมให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ทุกธุรกิจควรให้ความสำคัญคือการรวบรวมข้อเสนอแนะจากบุคคลเหล่านี้ เพื่อนำมาใช้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงกระบวนการให้เหมาะสมกับองค์กรตนเอง เพื่อให้ก้าวข้ามความท้าทายสู่ความก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กัน

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...

Responsive image

ทำไมนวัตกรรมถึงสำคัญกับองค์กร และสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุค AI

ถ้าเราใช้วิธีเก่า ในการแก้ปัญหาใหม่ หรือถ้าเราใช้โมเดลธุรกิจเดิม กับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผลลัพธ์จะออกมาไม่ดีนัก และทางออกของปัญหาที่เราอยากชวนทุกคนมารู้...