Farmless Startup ด้าน Agritech นำเสนอการผลิตโปรตีนแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | Techsauce

Farmless Startup ด้าน Agritech นำเสนอการผลิตโปรตีนแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Farmless เป็น Startup จากเนเธอแลนด์ผู้มาพร้อมกับแนวทางการสร้างโปรตีนด้วยวิธีการเกษตรแบบใหม่เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ทำให้ทำการผลิตทางการเกษตรยากขึ้น และรองรับประชากรโลกที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ล่าสุดบริษัทได้ระดมทุนรอบ Pre-seed เป็นจำนวนเงิน 1.2 ล้านยูโร 

Farmless คือใคร

Farmless คือ Startup ด้าน Agritech จากเนเธอแลนด์ที่ต้องการสร้างโปรตีน โดยไม่ใช้ที่วิธีการเกษตรแบบดั้งเดิม เช่น การทำฟาร์ม เป็นต้น 

โดยในการระดมทุนครั้งนี้มีการร่วมทุนกับกลุ่ม Venture ในด้านสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น  Sustainable Food Ventures (SFV) และ VOYAGERS Climate-Tech Fund 

Adnan Oner ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Farmless เชื่อว่าวิธีการใหม่ในการผลิตโปรตีนนี้ สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกสำหรับอาหารที่เรากินและวิธีการที่เราผลิตอาหารได้

การเกษตรและการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบดังเดิมและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มักจะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ และกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพไม่ว่าจะเป็น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้สารกำจัดศัตรูพืช หรือเกิดการลดลงของน้ำจืดรวมไปถึงการพังทลายของดิน ซึ่งประมาณ 90% มักจะเกิดในพื้นที่เขตร้อน 

ภาพจาก : Farmless

วิธีการที่ Startup ด้าน Agritech ทำส่วนใหญ่เป็นหมักด้วยการนำโปรตีนที่มาจากเซลล์เดียวและ ใช้ก๊าซไฮโดรเจนรวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ ยกตัวอย่างเช่น Solar Foods ของฟินแลนด์ Air Protein จากแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่การของวิธีการที่ Farmless ใช้กลับแตกต่างออกไป

วิธีการที่ Farmless ใช้เป็นกระบวนการหมักที่ไม่ต้องพึ่งน้ำตาลแต่จะใช้วัตถุดิบที่เป็นของเหลว ที่ประกอบไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน พลังงานทดแทนอย่างเช่น ไฟฟ้าหมุนเวียน และใช้แบคทีเรียที่ Non-GMO เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายขึ้นก็คือ เหมือนกับการต้มเบียร์ แต่นี่คือการต้มจุลินทรีย์ที่เลือกมาเพื่อเป็นอาหาร กระบวนการนี้แตกต่างจาก Startup รายอื่นๆที่จะใช้ ก๊าซที่เป็นก๊าซเฉยๆ และเซลล์ในห้อง Lab 

วิธีการของ Farmless จะทำให้กระบวนการผลิตโปรตีน ไม่จำเป็นต้องใช้ที่ดิน

การทำไร่นาการเกษตรหรือการทำฟาร์มปศุสัตว์ล้วนขึ้นอยู่กับประเภทของฟาร์มที่เราต้องการจะทำ ยกตัวอย่างเช่น เลี้ยงโคกระบือ ต้องใช้พื้นที่ 1 ตัวต่อ 5 ไร่ อ้างอิงจาก ประกาศกระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย

การผลิตโปรตีนแบบใหม่ของ Farmless จะใช้พื้นที่น้อยลงถึง 100- 500 เท่าเมื่อเทียบกับพื้นที่ สำหรับการเลี้ยงสัตว์หรือผลิตโปรตีนจากสัตว์ และใช้พื้นที่เพียง 10-100 เท่าเมื่อเทียบกับ การปลูกพืชหรือการเกษตร อีกทั้งแทบไม่ต้องใช้ที่ดินในการผลิต

เราเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้มีศักยภาพที่จะสามารถยุติการเลี้ยงสัตว์ในโรงงาน เปลี่ยนแปลงพื้นผิว ของดินให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ, และลดปริมาณคาร์บอนออกจากบรรยากาศได้หลายล้านกิกะตัน

                                               Adnan Oner CEO ของ Farmless กล่าว 

มองภาพรวมในระยะยาว

Farmless มองว่าวิธีการผลิตหมักโปรตีนแบบใหม่นี้จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างอาหารแบบทดแทนได้ และเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้มากขึ้น ลดพื้นที่สำหรับเกษตรกรรมลง และ ลดการผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์

ภาพจาก : Farmless

แม้ว่าภาพรวมระหว่างบริษัทและนักลงทุนจะเป็นไปในเชิงบวก แต่หลังจากนี้ Farmless อาจต้องเจออุปสรรคจากหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) 

ในสหภาพยุโรปผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆต้องได้รับการประเมินโดยหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป หรือ EFSA ก่อนที่จะมีการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการยุโรปสำหรับ การอนุญาตทำตลาดในลำดับต่อไป 

โดย EFSA พิจารณาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ทั้งหมดในการประเมินความเสี่ยงภายใต้ กฎหมายของสหภาพยุโรป ผู้สมัครที่ขอใบอนุญาตดังกล่าวจะต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นและ ข้อมูลที่สนับสนุนความปลอดภัยของวัตถุเจือปนในอาหาร ตามข้อกำหนดของ EFSA

ในการตรวจสอบของ EFSA จะมีเครื่องมือประเมินการสัมผัสสารเฉพาะที่ทาง EFSA คิดขึ้น หลักๆในการประเมินคือ

  • การประเมินความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety Assessment): EFSA จะประเมินความปลอดภัยของสารอาหารและส่วนผสมอื่นๆ ในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยพิจารณาความเป็นอันตรายของสารเคมี ภาพรวมของการบำรุงสุขภาพ และความพร้อมในการบริโภค
  • การประเมินสารอาหารใหม่ (Novel Food Assessment): หากผลิตภัณฑ์อาหารมีส่วนประกอบหรือแบบฉบับใหม่ที่ไม่เคยถูกบริโภคก่อนหน้านี้ จะต้องผ่านกระบวนการประเมินสารอาหารใหม่ ที่เน้นการวิจัยและการรับรองความปลอดภัยของสารอาหารใหม่ พร้อมกับการติดตามผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว

แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของ Farmlessจึงยังเป็นอุปสรรคทั้งการยอมรับและการทดสอบในการ ให้ผู้คนรับประทานเนื่องจากเป็นโปรตีนเทียมแบบใหม่จึงไม่สามารถรับฟีดแบ็คจากลูกค้าได้  และอาจต้องใช้ระยะเวลาที่นานถึงจะได้รับการรองรับ

ในเนเธอแลนด์ยังมีกฎข้อบังคับในเรื่องของการผลิตของหมักและการส่งผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค กรณีของ Farmless จะเป็นในเรื่องของผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ยังมีข้อบังคับที่ซับซ้อน

Adnan  Oner มองว่ารัฐบาลและเอกชนควรมีการสนับสนุนเทคโนโลยีนี้เหมือนกับที่สนับสนุน รถยนต์ไฟฟ้าหรือ พลังงานทดแทนต่างๆ เพราะเมื่อได้รับการสนับสนุนนั้นจะทำให้ผลิตภัณฑ์นี้

มีราคาที่จับต้องได้กับบุคคลทั่วไปในที่สุด แม้ว่าจะมีอุปสรรคจากกฎเกณฑ์ต่างๆ และการยอมรับจากผู้คนที่ยังต้องการโปรตีนจากสัตว์จริงๆรวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้มีศักยภาพมากขึ้น 

ที่มา : TechCrunch, Food Matters Live, EFSA, ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ปัญหาสภาพอากาศภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง AI จะช่วยโลกได้อย่างไร?

ผลกระทบมากกับความท้าทายใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิธีที่เราผลิตและใช้พลังงานและ AI มีศักยภาพในการช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปล...

Responsive image

อินเดียเลี้ยงคนทั้งโลกได้ ทำไมคนในชาติยังอดอยาก?

อินเดียเลี้ยงปากท้องคนทั้งโลกได้และกำลังจะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ กลับติดอันดับต้น ๆ ประเทศที่ประชากรหิวโหยและขาดแคลนอาหารมากที่สุดในโลก เป็นเพราะอะไรกัน ?...

Responsive image

Google พัฒนา MethaneSAT ดาวเทียมวัดปริมาณก๊าซพิษและติดตามตำแหน่ง

Google ได้ร่วมมือกับ Environmental Defense Fund (EDF) พัฒนา MethaneSAT ดาวเทียมติดตามการปล่อยก๊าซมีเทนจากนอกโลก...