- Experian บริษัทด้านการให้บริการข้อมูลระดับโลก เผยรายงาน Global Identity an Fraud Report ประจำปี 2019
- พบไทยให้ความสำคัญในประเด็นด้านความปลอดภัยของการใช้บริการออนไลน์ ความโปร่งใสในการใช้ข้อมูล และมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยแบบ Biometric
- ธุรกิจไทยลงทุนในเทคโนโลยีที่แสดงความโปร่งใสเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Experian บริษัทผู้ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลระดับโลก เผยรายงานผลสำรวจ Global Identity and Fraud Report ประจำปี 2019 ว่าด้วยความคิดเห็นต่อการใช้งานบริการบน Digital Platform ในอุตสาหกรรมต่างๆ ยกตัวอย่าง ภาคการเงิน ภาคโทรคมนาคม ภาคค้าปลีกและ E-Commerce เป็นต้น
รายงานดังกล่าวสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 5,699 ราย จาก 592 องค์กรทั่วโลก ส่วนในไทยได้ทำการสำรวจผู้ใช้งานราว 546 คน และองค์กรธุรกิจ 50 องค์กร ทั้งยังมีการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้บริหารองค์กรระดับสูงด้วย
Mr.Dev Dhiman, Managing Director, Southeast Asia and Emerging Market, Experian ระบุว่า “ด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและผู้บริโภคที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางดิจิทัล จึงจำเป็นต้อสร้าง Ecosystem ที่โดดเด่นด้วยความปลอดภัยและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ผู้บริหารในองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลงทุนในเรื่อง Digital Identity และ Fraud Management เพื่อทำให้ใช้ศักยภาพของ Digital Economy ได้เต็มที่”
Mr.Dev Dhiman, Managing Director, Southeast Asia and Emerging Market, Experian“ผู้บริโภคมองหาองค์กรที่ยกระดับมาตรการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการติดต่อสื่อสารบนออนไลน์ รวมถึงมองหาวิธีการใช้ที่ง่ายขึ้น หนึ่งในวิธีที่พิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและได้รับผลตอบรับดี คือ Biometric Identification ที่เพิ่มความเร็วและลดความซับซ้อนของกระบวนการตรวจสอบสำหรับผู้บริโภค” Mr.Dev กล่าว
Experian มีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด ทั้งยังเน้นในภูมิภาคนี้ด้วยการตั้งฐานปฏิบัติการในแต่ละประเทศอย่างจริงจัง รวมถึงในประเทศไทย โดยตั้งเป้าเติบโตทั้งรายได้และขนาดขององค์กรภายในปีนี้
ทั้งนี้ ใน Report ของ Experian ระบุในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับความต้องการและความคาดหวังในการใช้งาน Digital Platform ดังนี้
- ทั้งเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่งถึง 71 เปอร์เซ็นต์ และ 69 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
- ภาคธุรกิจในประเทศไทยราว 40 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าเคยมีประสบการณ์จัดการควมสูญเสียจากข้อผิดพลาดของธุรกรรมดิจิทัล ในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเสียทั้งเงินและความน่าเชื่อถือ
- 63 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจในประเทศไทยระบุว่าเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อใช้ในการออกแบบบริการของแต่ละคน ทั้งยังระบุว่า ยิ่งมีข้อมูล ก็จะยิ่งลดโอกาสผิดพลาดในการยืนยันตัวตนได้มากขึ้น
- ผู้บริโภคในไทย 84 เปอร์เซ็นต์เชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยจากชีวอัตลักษณ์ (ลายนิ้วมือ ม่านตา ใบหน้า) และราว 80 เปอร์เซ็นต์เชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยจากชีวพฤติกรรม (ลักษณะและความถี่ในการพิมพ์ การวางนิ้ว เป็นต้น)
- คนไทยเชื่อใจที่จะให้ข้อมูลกับภาคธุรกิจอย่างผู้ให้บริการช่องทางจ่ายเงินและธนาคาร รวมถึงภาครัฐ มากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
- ผู้บริโภคไทยมองว่าความโปร่งใสของธุรกรรมมีความจำเป็นมากที่สุด และภาคธุรกิจในไทยก็ตอบรับด้วยการมีแผนลงทุนเพื่อเสริม Solution ด้านความโปร่งใสมากเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค
- ผู้บริโภคชาวไทยชื่นชอบที่จะแบ่งปันข้อมูลจาก Platform กลางมากกว่าเข้าสู่กระบวนการกรอกข้อมูล ดังนั้นระบบ Digital ID จึงน่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่ดีในอนาคตอันใกล้