สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดแถลงผลการศึกษาความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับบริการดิจิทัลอย่างมีธรรมาภิบาล เผย 5 ด้านสำคัญที่ใช้ในการประเมินความพร้อมขององค์กร และนำไปสู่แนวทางการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี AI ในภาคธุรกิจ และ อุตสาหกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทต่อทุกกิจกรรม ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและเร่งพัฒนานโยบายเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับประเทศไทย วันนี้เรามี “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565- 2570)” ที่เป็นกรอบในการดำเนินงานของทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริมให้ประเทศเกิดประยุกต์ใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ สู่การยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลและคุณภาพชีวิตของประชาชน ผ่านยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 5 ด้าน ครอบคลุมทั้งเรื่อง จริยธรรมและธรรมาภิบาล หรือ AI Ethics and Governance, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม, การเพิ่มศักยภาพของคนและการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้งาน เป็นต้น
ดังนั้น ETDA ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันให้คนไทยเกิดการประยุกต์ใช้งาน AI สอดคล้องตามหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล จึงได้ร่วมกับ สวทช. โดย เนคเทค เดินหน้าโครงการศึกษาความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับบริการดิจิทัลอย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความพร้อมของการประยุกต์ใช้ AI ใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรม ในมิติที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ 5 ด้านข้างต้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยสะท้อนสถานะความพร้อมของการประยุกต์ใช้ AI ในประเทศได้อย่างชัดเจน
เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เล็งเห็นถึงโอกาสที่จะนำผลการศึกษาไปต่อยอดและพัฒนานโยบาย แผนการดำเนินงาน แนวทางปฏิบัติต่างๆ ตลอดจนการสร้างความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนเกิดประยุกต์ใช้งาน AI ในทุกกิจกรรมอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ตอบโจทย์ “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ” มากที่สุดต่อไป
ดร.กัลยา อุดมวิทิต รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. รายงานว่า การศึกษาครั้งนี้ได้มีการดำเนินการรวบรวมข้อมูลจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนหน่วยงาน/ องค์กรที่มีบทบาทสำคัญ การประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาประกอบการวิเคราะห์และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป
จากการศึกษาพบว่า องค์กร/หน่วยงานในประเทศไทย ได้เริ่มมีการใช้งาน AI แล้ว และมีแนวโน้มใช้งานมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น ในกลุ่มการเงินและการค้า ก็มีการนำ AI มาช่วยตรวจสอบข้อมูล ยืนยันตัวตน แนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การอนุมัติสินเชื่อ และประเมินความเสี่ยง ในกลุ่มการแพทย์และสุขภาวะ ใช้ AI มาช่วยตรวจสอบความครบถ้วนของเครื่องมือผ่าตัด และช่วยในการวินิจฉัยและตัดสินใจของแพทย์ เป็นต้น
การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ดัชนีการวัด 5 ด้าน ได้แก่
ดำเนินการสำรวจหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 10 กลุ่ม ตามที่ระบุในแผนปฏิบัติการ AI ได้แก่ เกษตรและอาหาร การใช้งานและบริการภาครัฐ การแพทย์และสุขภาวะ อุตสาหกรรมการผลิต พลังงานและสิ่งแวดล้อม การศึกษา ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ความมั่นคงและปลอดภัย โลจิสติกส์และการขนส่ง และการเงินและการค้า
ซึ่งผลที่ได้จากการประเมินตามด้านต่างๆ จะนำไปสู่การแบ่งความพร้อมขององค์กรได้เป็น 4 ระดับ คือ
Unaware = ยังไม่มีความตระหนัก/ อยู่ในช่วงเริ่มต้นเรียนรู้
Aware = มีความตระหนักและเริ่มนำ AI ไปใช้งานแล้ว
Ready = มีความพร้อมในการนำ AI ไปใช้งาน
Competent = มีความเข้มแข็งในการใช้งาน AI
สรุปผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ส่งแบบสอบถามทั้งสิ้น 3,529 รายในช่วงเวลา 60 วัน (เดือน พ.ค.- มิ.ย. 2566) ได้ข้อมูลกลับมาทั้งสิ้น 565 ราย พบว่า
15.2% มีการนำ AI มาใช้งานแล้วในองค์กรแล้ว56.65% มีแผนที่จะนำมาใช้ในอนาคต28.15% ที่ยังไม่มีแผนที่จะใช้ AI
ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตองค์กรในประเทศไทยจะมีนำ AI มาประยุกต์ใช้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอน ทั้งนี้ องค์กรที่มีการประยุกต์ใช้งาน AI มีเป้าหมายสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือการให้บริการขององค์กร เพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในองค์กร และ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่องค์กร ตามลำดับ
ผลการสำรวจยังพบว่า องค์กรที่มีการนำ AI มาใช้งานแล้ว มีความพร้อมเฉลี่ยอยู่ที่ 45.3% หรืออยู่ในระดับ “Aware” ซึ่งหมายถึง องค์กรมีความตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี AI และเริ่มนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยเมื่อพิจารณาแยกลงไปในแต่ละด้าน (Pillar) พบว่า ด้านที่มีความเข้มแข็งมากที่สุด คือ ด้านข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน (ประกอบด้วย รูปแบบและคุณภาพของข้อมูล และ โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จำเป็นต่อการใช้งาน AI) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมในด้านนี้อยู่ที่ 61.8% ซึ่งจัดอยู่ในระดับ“Aware”
โดยกลุ่มที่มีความพร้อมอยู่ในระดับต้นๆ ได้แก่ กลุ่มการเงินและการค้า กลุ่มการใช้งานและบริการภาครัฐ และ กลุ่มการศึกษา ทั้งนี้ การที่หน่วยงานมีความพร้อมโดยเฉพาะในด้านข้อมูลสูง สาเหตุหนึ่งมาจากในห้วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความตื่นตัวในเรื่องของ Big Data และเห็นความสำคัญของการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในมุมมองต่างๆตามที่องค์กรให้ความสนใจ สำหรับด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับรองลงมาได้แก่ ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถขององค์กร ด้านธรรมาภิบาล ด้านบุคลากร และด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ
สำหรับองค์กรที่ปัจจุบันยังไม่มีการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในองค์กร ได้ให้เหตุผลที่น่าสนใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาข้อมูล เนื่องจากยังไม่ทราบว่าจะนำ AI มาประยุกต์ใช้อย่างไร (2) คิดว่าอาจยังไม่มีความจำเป็นในการนำ AI มาใช้ และ (3) องค์กรยังขาดความพร้อมและต้องการการสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และงบประมาณ เป็นต้น
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานะผู้ช่วยเลขาคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ กล่าวว่า ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการสนับสนุนการจัดทำแผนการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนา AI ในระยะถัดไป (ปี 2567) ให้เป็นไปอย่างตรงเป้าหมายมากขึ้น ตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้านในแผนฯ ได้แก่
Sign in to read unlimited free articles