หลังจากได้เข้าร่วม ESG A Lasting Game Changer - Exclusive Startup Meetup By KATALYST งาน Meetup สำหรับผู้ประกอบการและชาวสตาร์ทอัพที่มาเผยแนวทางเรื่องการดำเนินธุรกิจกับการทำ ESG จะเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนได้อย่างไร เชื่อมั่นว่า ผู้เข้าร่วมงานได้รับความรู้และแง่มุมที่หลากหลาย รวมทั้งได้อัปเดตความแนวทางไปสู่ ESG และความเคลื่อนไหวของ Climate Tech Club คลับที่มุ่งให้องค์กรไทยเดินหน้าเรื่อง ESG ด้วยความเข้าใจเพื่อไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
ภายในงาน ESG A Lasting Game Changer - Exclusive Startup Meetup By KATALYST มีเซสชันส่งต่อความรู้และแนวทางดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG โดยเริ่มต้นจากความสำคัญในระดับโลก โอกาสทางธุรกิจ ผลกระทบ ความสำเร็จ ประโยชน์ที่ได้รับ ฯลฯ
คุณชยุตม์ สกุลคู CEO, Tact Social Consulting เล่าถึงที่มาของ ESG ตั้งแต่ 1) ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อันเป็นผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ต่างก็ปล่อยคาร์บอน โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักคือ ประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย
2) นำมาสู่การสร้างความร่วมมืออย่างเป็นทางการในระดับสากล เช่น Paris Agreement, COP26 เพื่อลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยมีเป้าหมาย คือ ทั่วโลกต้องร่วมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 40% นับจากปี 2015 เพื่อ สร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2030 และทำให้ การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050
3) จากการประชุม COP26 ประเทศไทยร่วมชะลอการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยจัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อตรวจสอบ วัดและประเมินผลการลดการปล่อยคาร์บอน ตลอดจนจัดงานเพื่อส่งต่อองค์ความรู้ เติมความเข้าใจเรื่อง ESG ให้แก่ผู้ประกอบการในไทย อาทิ TGO (Thailand Greenhouse Gas Management Organisation) หรือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย, LESS (Low Emission Support Scheme) หรือ โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ผู้ดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกได้รับการยอมรับ
4) การออกมาตรการบังคับเพื่อให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมลดการปล่อยคาร์บอนอย่างจริงจัง เช่น CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งส่งผลให้เกิดกำแพงภาษี กลายเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าหากผู้ส่งออกสินค้าไปยังฝั่งยุโรปไม่ร่วมลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการทางธุรกิจ หรือหากผู้ส่งออกชาวไทยไม่มีแผนลดการปล่อยคาร์บอน ไม่มีคาร์บอนเครดิต ก็จะต้องจ่ายภาษีสูงขึ้นหรือหมดโอกาสส่งสินค้าออก ส่วนคนไทย ผู้บริโภคชาวไทยก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลือกซิ้นสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งจากการสำรวจพบว่า Generation ที่เห็นความสำคัญและปรับตัวก่อนใครคือ Gen Z โดยยอมจ่ายค่าสินค้าแพงขึ้นหากผลิตภัณฑ์นั้นระบุว่า เป็นสินค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ร่วมลดการปล่อยคาร์บอน
เอสเอ็มอีหลายรายอาจมองว่า ทำ ESG ต้องมีการวัดผล วัดค่ามากมายซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ถ้าทำให้ผู้คนเห็น Policy หรือนโยบายได้ จะทำให้คนอื่นๆ เห็นภาพเดียวกันและเห็นหมุดหมายขององค์กรชัดเจน นอกจากนี้ แบรนด์ต้องสื่อสาร ESG Commitment ออกไปให้คนอื่นๆ รู้ด้วย เพื่อทำให้ภาพลักษณ์และแบรนดิงชัดเจน ว่าทำธุรกิจนี้ มีมุมมองต่อด้านนี้ และทำสิ่งดีๆ แบบนี้ให้สังคม เพราะสุดท้ายแล้ว การทำธุรกิจย่อมต้องมีกำไรเพื่อนำกลับมาทำให้บริษัทดียิ่งๆ ขึ้นไป ดังนั้น ทำ ESG แล้วอย่าเก็บไว้เงียบๆ เพราะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น
หลังจากที่ Beacon VC ร่วมเปิดตัว "Climate Tech Club" คลับที่มี mission ที่จะสร้างโลกของเราให้น่าอยู่ขึ้น เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ภายในงาน ESG A Lasting Game Changer - Exclusive Startup Meetup By KATALYST ก็มีการเล่าย้อนถึงที่มาและอัปเดตความร่วมมือที่ขยายวงเพิ่มขึ้น โดยคุณปริวรรต วงษ์สำราญ Director of Entrepreneur and Enterprise, Director of Startup Thailand, NIA และ คุณธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director, Beacon VC ฉายภาพความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน และสตาร์ทอัพ ที่เข้าร่วมเป็นหัวขบวน ได้แก่
เนื่องจากมาตรการ CBAM ส่งผลให้เกิดภาษีคาร์บอน องค์กรขนาดใหญ่จึงมองหาโซลูชันมาช่วยจัดการ หรือต้องการเป็นผู้ใช้โซลูชัน แต่กลับหาไม่ได้ องค์กรจึงจำเป็นต้องตั้งทีม ESG บ้างก็สร้างทีมพัฒนา Climate Tech ขึ้นเอง ขณะเดียวกัน สตาร์ทอัพด้าน Climate Tech หาผู้ลงทุนไม่ได้ เอสเอ็มอีก็ประสบปัญหาไม่มีตลาดใหญ่เพียงพอที่จะทำธุรกิจได้ หรือแม้แต่ Impact Fund เอง ก็หาสตาร์ทอัพที่ต้องการจะลงทุนไม่เจอ จาก pain point ที่ว่ามานี้ คุณปริวรรตและคุณธนพงษ์จึงร่วมกันจัดตั้ง Climate Tech Club ขึ้นเพื่อเป็น Community Platform ที่เชื่อมให้ทุกฝ่ายมาเจอกัน สนับสนุนกัน พร้อมๆ กับสร้างช่องทางบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ด้วยการจับมือกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่สนใจ ให้มาร่วมระดมสมอง แลกเปลี่ยนข้อมูล จัดเวทีให้สตาร์ทอัพได้มาโชว์ไอเดีย รับฟังคำแนะนำจาก Mentors ระดมทุน ฯลฯ
ปิดท้ายด้วยการเชิญชวนเข้ากลุ่ม Climate Tech Club เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้าน Climate Tech ให้เกิดและเติบโตในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น ผ่าน 5 พันธกิจหลัก ดังนี้
บทความอื่นๆ เกี่ยวกับ ESG ที่คุณอาจสนใจ
Sign in to read unlimited free articles