dtac และ Ricult แนะนำแอปฯ ฟาร์มแม่นยำ” คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนให้เกษตรกรไทย | Techsauce

dtac และ Ricult แนะนำแอปฯ ฟาร์มแม่นยำ” คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนให้เกษตรกรไทย

  • เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสานจำเป็นต้องกักเก็บน้ำ มิฉะนั้นผลผลิตที่ปลูกไปแล้วจะได้รับความเสียหาย
  • ปริมาณน้ำฝนในไทย ช่วงครึ่งปีหลังมีน้อยและมาช้า เกษตรกรจึงต้องอาศัยการคาดการณ์แบบมีประสิทธิภาพ
  • แอปพลิเคชั่น “ฟาร์มแม่นยำ” สามารถช่วยให้เกษตรกรคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนได้อย่างแม่นยำในรายแปลงและหลายช่วงเวลา

จากการคาดการณ์ของแอปพลิเคชั่น “ฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง dtac และ “Ricult” พบว่าในช่วงครึ่งปีหลังของประเทศไทย ปริมาณน้ำฝนโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีน้อยและค่อนข้างมาช้า จนส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในพื้นที่ดังต่อไปนี้ อ. ชุมพวง จ. นครราชสีมา อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี อ. เมือง จ. สุรินทร์ เขื่อนป่าสักฯ จ. ลพบุรี และ เขื่อนอุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น

ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว ได้ทราบสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนล่วงหน้า จึงแนะนำให้ใช้บริการแอปพลิเคชั่น “ฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งสามารถพยากรณ์ปริมาณนํ้าฝนรายแปลง ทั้งรายวัน 7 วัน 6 สัปดาห์ และ 9 เดือนล่วงหน้า เพื่อลดความเสี่ยงจากเรื่องปริมาณน้ำฝน และเมื่อเปรียบเทียบกับการพยากรณ์อากาศทั่วไปที่พยากรณ์ในมาตรวัดที่กว้างกว่าอย่างกิโลเมตรและเป็นเวลาหลายวัน การพยากรณ์ของ “ฟาร์มแม่นยำ” จึงเหมาะสมกับเกษตรกรไทยในช่วงสถานการณ์นี้มากกว่า ผู้ที่สนใจ “ฟาร์มแม่นยำ” สามารถใช้บริการได้ฟรี โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Farmer Info ผ่าน App Store และ Google Play และเข้าไปที่บริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ทั้งนี้ผู้ที่ไม่ใช้เครือข่ายดีแทคก็สามารถใช้บริการนี้ได้

รายงานสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

  • ปริมาณน้ำฝนใน จ. นครราชสีมา จะต่ำกว่าช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว หากไม่กักเก็บน้ำ ต้นข้าวจะยืนต้นตาย

“ฟาร์มแม่นยำ” ได้คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนแบบ 9 เดือนล่วงหน้าของพื้นที่ทำนาใน อ. ชุมพวง จ. นครราชสีมา ไว้ว่า ต้องเผชิญกับปริมาณปัญหาน้ำฝนในช่วงครึ่งปีหลังที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว และเมื่อประเมินผลจากการคาดการณ์ของ “ฟาร์มแม่นยำ” แบบ 6 สัปดาห์ล่วงหน้า ก็พบว่าปริมาณน้ำฝนจะยังไม่เพิ่มขึ้น จนกว่าจะถึงช่วงกลางเดือนสิงหาคม ดังนั้นต้นข้าวที่เกษตรกรปลูกไปแล้วต้องได้รับการสำรองน้ำ มิฉะนั้นต้นข้าวจะมีโอกาสยืนต้นตายสูง

การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนแบบ 6 สัปดาห์ล่วงหน้าใน อ. ชุมพวง จ. นครราชสีมา โดย “ฟาร์มแม่นยำ”

  • เกษตรกร จ. อุบลราชธานี ต้องกักเก็บน้ำในเดือนกันยายน-ตุลาคม มิฉะนั้นเมล็ดข้าวจะลีบแบน

สำหรับเกษตรกรใน อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี ต้องเตรียมตัวกักเก็บน้ำในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงออกดอกของต้นข้าว เพราะหากน้ำฝนในช่วงดังกล่าวมีปริมาณเท่ากับการคาดการณ์ต่ำสุดของ “ฟาร์มแม่นยำ” เมล็ดข้าวจะลีบแบนและไม่ได้มาตรฐาน

การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนแบบ 9 เดือนล่วงหน้าใน อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี โดย “ฟาร์มแม่นยำ”

  • เกษตรกรในอ. เมือง จ.สุรินทร์ ต้องระวังปริมาณน้ำน้อยในเดือนตุลาคม

สำหรับสถานการณ์ใน อ. เมือง จ.สุรินทร์ จากการคาดการณ์ปริมาณนํ้าฝน 9 เดือนล่วงหน้าของรีคัลท์ คาดว่าจะดีขึ้น มีสภาพใกล้เคียงกับ จ.อุบลราชธานี เพียงแต่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า และเกษตรกรในบริเวณดังกล่าวต้องระวังปริมาณน้ำน้อยในช่วงเดือนตุลาคม

การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนแบบ 9 เดือนล่วงหน้าใน อ. เมือง จ.สุรินทร์ โดย “ฟาร์มแม่นยำ”

  • ปริมาณน้ำใน เขื่อนป่าสักฯ จ. ลพบุรี และเขื่อนอุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น ลดลงอย่างมากจนถึงขั้นวิกฤติ

ปริมาณน้ำฝนที่มีน้อยและมาช้า ได้ส่งผลให้ปริมาณน้ำใน 2 เขื่อนหลักของประเทศไทยอย่างเขื่อนป่าสักฯ จ. ลพบุรี และเขื่อนอุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น ลดลงอย่างมากจนถึงขั้นวิกฤติ โดยเฉพาะเขื่อนป่าสักฯ ที่ประกาศให้เกษตรกรงดทำนาต่อเนื่อง เพราะเกรงว่าปริมาณน้ำจะไม่เพียงพอ และจากการคาดการณ์ของ “ฟาร์มแม่นยำ” พบว่าปริมาณน้ำฝนในช่วงครึ่งปีหลังของทั้ง 2 พื้นที่จะมีน้อยมาก จนอาจส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน

การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนแบบ 9 เดือนล่วงหน้าใน เขื่อนป่าสักฯ จ. ลพบุรี โดย “ฟาร์มแม่นยำ”

การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนแบบ 9 เดือนล่วงหน้าใน เขื่อนอุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น โดย “ฟาร์มแม่นยำ”

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

One Bangkok พัฒนากรุงเทพฯ ชูแนวคิด “The Heart of Bangkok” เมืองที่ใช้ใจสร้าง

วัน แบงค็อก พลิกโฉมวงการอสังหาฯไทย ด้วยการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ ปักหมุด “เมืองกลางใจ” หรือ The Heart of Bangkok เมืองที่ใช้ใจสร้าง พร้อมเผยประสบการณ์ชอปปิ้งและไลฟ์สไตล์ระดับโลก เตรีย...

Responsive image

Indorama Ventures ออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้าน ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน

Indorama Ventures ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศความสำเร็จในการระดมทุน 1 หมื่นล้านบาท ผ่านการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนร...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...