ทำ Startup ยังไงให้รุ่ง ? ถอดรหัสความสำเร็จของสตาร์ทอัพเกาหลี จากบริษัทจัดเก็บนามบัตร สู่แอปฯระดับโลก | Techsauce

ทำ Startup ยังไงให้รุ่ง ? ถอดรหัสความสำเร็จของสตาร์ทอัพเกาหลี จากบริษัทจัดเก็บนามบัตร สู่แอปฯระดับโลก

ถอดบทเรียนการเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพของคุณชเวแจโฮ ซีอีโอบริษัท Drama& company บริษัทที่มีมูลค่าการลงทุนไปถึงระดับ Series D ที่เริ่มต้นจากบริษัทจัดเก็บนามบัตร ไปสู่ Remember แอปพลิเคชันครอบคลุมทุกเรื่องการสมัครงานสำหรับชาวเกาหลีใต้ 

คุณชเวแจโฮได้เล่าเรื่องราวจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพของตน พร้อมแนวคิดที่พาไปสู่ความสำเร็จ เทคนิคการหาทีมและการหานักลงทุน เรื่องราวความล้มเหลวและความประทับใจในการทำธุรกิจภายในงาน Comeup 2023  ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ใฝ่ฝันจะเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพ

ก่อนจะเริ่มต้นเราต้องรู้ก่อนว่าอยากสร้างอะไร

จุดเริ่มต้นของบริษัท Drama& company เริ่มต้นจากความคิดของคุณชเวแจโฮ ที่อยากจะสร้าง Professional Network หรือเครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ เหมือนอย่าง LinkedIn ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก แต่ในเอเชียรวมถึงเกาหลี Professional Network ยังมีภาพที่ไม่ชัดเจน ซึ่งคุณชเวแจโฮจึงตั้งใจจะจับตลาดในกลุ่มผู้ใช้นี้

ชเวแจโฮคิดไปถึงเรื่องนามบัตรก่อนเป็นอันดับแรก โดยคิดว่าถ้าสร้างเว็บไซต์ทำนามบัตรออนไลน์เฉย ๆ คงไม่สามารถทำให้คนเข้ามาใช้งานเยอะ อยากมากก็คงได้สิบกว่าคนต่อวัน แต่จุดที่ชเวแจโฮมองเห็นคือ Pain point ของการรักษานามบัตร ยิ่งเราสร้างคอนเน็คชั่นมากเท่าไร นามบัตรเราก็จะมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นบริษัทของเขาจึงเริ่มต้นด้วยระบบรักษานามบัตรแบบออนไลน์นั่นเอง

ต่อมาได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน Remember ได้เปิดตัวฟีเจอร์เพิ่มเติมที่ครอบคลุมการใช้งานได้แก่ 

  • Career ฟีเจอร์สร้างโปรไฟล์ในแอป เพิ่มโอกาสหางานที่ใช่ 
  • Community ฟีเจอร์สำหรับแแลกเปลี่ยนข้อมูลและพูดคุยกับเพื่อนร่วมวงการ 
  • Now ฟีเจอร์รับข่าวสารจากทางเศรษฐกิจบริษัทชั้นนำ
  • Business card ฟีเจอร์จัดการนามบัตร เพียงแค่ถ่ายรูปก็สามารถเก็บนามบัตรได้หลายสิบใบในที่เดียว ไม่ต้องกังวลว่าจะทำหายอีกต่อไป

ปัจจุบัน Remember จึงกลายเป็นแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์สำหรับคนทำงาน โดยมียอดผู้ใช้งานในเกาหลีใต้กว่า 3.8 ล้านคน และ 1 ล้านคนในญี่ปุ่น 

ทีม แนวคิด และนักลงทุน สามสิ่งสร้างบริษัทให้แข็งแกร่ง

ชเวแจโฮกล่าวว่ามีสามสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจนั่นก็คือ mindset ที่ตั้งใจจะแก้ปัญหาให้กับลุกค้าแบบครอบคลุม หา pain point ของลูกค้าให้ชัดเจน และต้องทีมที่ดี ทีมที่มีเป้าหมายไปในแนวทางเดียวกัน และสามารถทำงานร่วมกันได้เข้าขา ท้ายที่สุดคือนักลงทุนที่เข้าใจ vision ของบริษัท สามสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้บริษัทเติบโตได้อย่างรวดเร็วในระยะแรก

ทีมแบบไหนล่ะที่เหมาะสมในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ

คุณชเวแจโฮกล่าวว่า แน่นอนว่าบริษัทสร้างใหม่ยังไงก็ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับบริษัทชั้นนำอย่างแน่นอน ในช่วงแรกจึงต้องหาจากคนใกล้ตัวก่อน ไม่ว่าจะรู้จักบริษัทของตัวเองหรือไม่ก็ตาม ถ้าเข้าใจ Vision และเป้าหมายตรงกันแล้ว เชื่อว่านี่แหละคือทีมที่เหมาะสมสำหรับตัวเขาเอง

ทุกการเติบโตย่อมมีรอยยิ้มและนํ้าตา

คุณชเวแจโฮกล่าวว่า ในฐานะ ceo มีความลำบากกว่าตอนเป็นพนักงานธรรมดามาก เนื่องจากถ้าเราไม่พอใจในการทำงานเราก็สามารถบ่นหัวหน้า บ่นบริษัทได้ แต่พอเราเป็นประธานเองล่ะ เราจะบ่นใคร? 

เวลาที่บริษัทประสบปัญหา ผลลัพธ์ไม่ตรงเป้าหมาย พนักงานทำได้ไม่ตรงใจ เขามักจะมองเห็นว่าตัวเองคือต้นเหตุของปัญหาเพราะทุกขั้นตอนของบริษัทเขาเป็นคนสร้างมาเองกับมือ มันทำให้ทุกอย่างเหมือนชี้มาที่ตัวเอง เกิดเป็นความเครียด ความกดดันที่มากขึ้น 

แต่ใช่ว่าในทุกวันจะเป็นความแต่ความผิดหวังและความเครียดเสมอไป ชเวแจโฮกล่าวว่าผลลัพธ์ที่เขาได้จากการทำงานไม่ว่าจะเป็น การออกฟีเจอร์ใหม่ๆ ผลตอบรับจากแอปพลิเคชัน หรือมีทีมที่สนใจร่วมงานกับบริษัท เป็นสิ่งที่ทำให้เขามีความสุขและภูมิใจมาก นอกจากนี้เขายังภูมิใจในทีมงานของเขา ที่ขยันขันแข็งพาบริษัทให้ประสบความสำเร็จในระดับ Series D ได้ในปัจจุบัน

ถ้ามั่นใจในธุรกิจของตัวเอง ก็ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้

กับคำถามที่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะต้องหานักลงทุนเพิ่ม? ในฐานะที่ผ่านการระดมทุนมาหลายครั้ง แต่ส่วนตัวเขาไม่ได้มีขั้นตอนที่ตายตัว แต่สิ่งสำคัญคือความมั่นใจในธุรกิจของตนเอง หาคำตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมเราต้องทำธุรกิจนี้ แล้วมันจะสร้างอะไรถ้าได้เงินทุนเพิ่ม ถ้าเรามั่นใจในคำตอบแล้วละก็ ก็เริ่มหานักลงทุนได้เลย ดังนั้น ถ้าเราแน่วแน่ในธุรกิจของตนมากพอ เชื่อว่าไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้แน่นอน

อ้างอิง: rememberapp



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...