เมื่อ Technology + Insight ออกแบบและขับเคลื่อน Digital Transformation | Techsauce

เมื่อ Technology + Insight ออกแบบและขับเคลื่อน Digital Transformation

แม้ว่าขณะนี้ ผู้อ่านหลายคนจะได้รับฟังเรื่องของ Digital Transformation จนเห็นความจำเป็นกันแล้ว แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้มีรายละเอียดมากมายจนทำให้หลายองค์กรใช่ว่าจะดำเนินการโดยไร้อุปสรรค ดังนั้น การเล่าถึงกรณีศึกษาด้าน Digital Transformation จึงยังจำเป็นอยู่ โดยเฉพาะกรณีศึกษาในประเทศไทย อันมีบริบทอันเป็นเอกลักษณ์บางอย่างที่ไม่อาจหาจากตัวอย่างในต่างประเทศ

ซึ่งหากถามถึงกรณีศึกษาด้าน Digital Transformation ในประเทศไทย คงไม่มีใครให้ข้อมูลได้ดีไปกว่า I AM Consulting บริษัทที่ปรึกษาด้าน Digital Solution ที่พร้อมช่วยแปลงร่างองค์กรไทยให้พร้อมผจญคลื่น Disruption ได้อย่างแข็งแกร่ง ในวันนี้ Techsauce ได้รับโอกาสพูดคุยกับคุณกริช วิโรจน์สายลี Country Vice President บริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด หรือ I AM Consulting ที่จะมาเล่า Insight การใช้เทคโนโลยีในองค์กรไทยที่ประสบความสำเร็จจากประสิทธิภาพที่เห็นผลจริง

เพราะระบบต่างประเทศมาด้วย Best Practice ซึ่งอาจไม่เหมาะกับ “คนไทย”

คุณกริช เล่าว่า I AM Consulting เริ่มจากการเป็นบริษัทให้คำปรึกษาการใช้งานระบบ SAP ในประเทศไทยมานานกว่า 16 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงธุรกิจของผู้ใช้ให้มีประสิทธิภาพ, ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม คุณกริชชี้ว่าต่อให้ Solution Software ที่ถูกสร้างขึ้นมาจะมีประสิทธิภาพสูงขนาดไหนก็ตาม ก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่จะเกิดขึ้นต่อองค์กรได้ เหตุเพราะระบบเหล่านี้มักมาด้วย Best Practice จากต่างประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าด้วยบริบทของแต่ละประเทศหรือองค์กรที่แตกต่างกัน องค์กรไทยจึงไม่อาจนำ Best Practice ที่เกิดขึ้นไปใช้งานได้โดยตรงแน่นอน ทำให้ทุก Solution ต้องมีการปรับแต่งให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์กร 

คุณกริช ยกตัวอย่างถึงองค์กร 2 แบบ ได้แก่ องค์กรธุรกิจเอกชน และหน่วยงานราชการ แม้ว่าพวกเขาจะใช้ Software ตัวเดียวกัน แต่ใช่ว่าทั้ง 2 จะมีเป้าหมายเดียวกัน โดยภาคธุรกิจอาจมองถึงประสิทธิภาพหรือความเร็วต่องาน ส่วนราชการอาจมองถึงความโปร่งใส ความถูกต้องของงานเป็นสำคัญ ยังไม่นับรวมวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นรายละเอียดที่สำคัญสำหรับการออกแบบระบบ

เราออกแบบ Solution โดยคำนึงถึง Digital Competency ของผู้ใช้ เพราะแต่ละองค์กรมีขีดการแข่งขันที่แตกต่างกัน

RPA และ Blockchain พาองค์กรก้าวรวดเร็วเมื่อใช้ถูกที่ถูกเวลา

นอกจากการคำนึงถึงการปรับแต่ง Solution ให้ตรงตามเป้าหมายแล้ว หน้าที่ของที่ปรึกษายังเป็นการนำเสนอเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสมกับแก่องค์กร โดยคุณกริชกล่าวว่า ปัจจุบัน เรามีเทคโนโลยีที่พร้อมยกระดับองค์กรให้ Go Digital อยู่มากมาย ซึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจและพร้อมต่อการลงทุนในเวลานี้มี 2 อย่าง คือ Robotic Process Automation หรือ RPA และ Blockchain

สำหรับ RPA คุณกริช กล่าวว่า ในการทำงานมักจะมีงานบางอย่างที่ต้องดำเนินการซ้ำ ซึ่งหากสามารถใช้ระบบอัตโนมัติมาช่วยก็จะเพิ่มประสิทธิภาพได้ อย่างไรก็ตาม งานที่ซ้ำเหล่านี้ มักมีความซับซ้อนพอสมควรจนต้องพัฒนาเทคโนโลยีอย่าง RPA อันเป็นระบบอัตโนมัติที่มีส่วนผสมของ AI เข้าแก้ปัญหา โดยหนึ่งในปัญหาที่ทาง I AM Consulting เห็นชัดเจนที่สุดคืองาน “เอกสาร”

คุณกริช ขยายความว่างานเอกสารเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงต้องทำซ้ำต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเอกสารของแต่ละองค์กรมีรูปแบบแตกต่างกันซึ่งหากใช้ระบบอัตโนมัติธรรมดาจะเกิดความผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี OCR (Optical Charactor Recognition) อันเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์อ่านทำความเข้าใจตัวอักษร มาใช้กับงานเอกสารโดยตรง ทำให้แม้ว่าเอกสารของแต่ละองค์กรจะมีรูปแบบหรือตำแหน่งระบุข้อมูลที่แตกต่างกัน ระบบก็จะเข้าใจพร้อมกับจัดการบันทึกและดำเนินการต่อได้โดยอัตโนมัติ

ปัจจุบัน OCR ได้รับการประยุกต์ใช้ทั้งงานหลังบ้านรวมถึงงานที่เกี่ยวข้องกับ Product ที่ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสารจัดซื้อ งานเอกสารบัญชี ไปจนถึงงานในส่วน Credit Scoring และ Digital Lending ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมทั้งความเร็ว ความถูกต้อง ไปจนถึงต้นทุนต่างๆ ได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ Blockchain ซึ่งมีจุดเด่นด้านการจัดเก็บข้อมูล และการทำงานที่โปร่งใส มีความปลอดภัยสูง ด้วยการทำงานบนเครือข่ายทำให้เชื่อมั่นได้ว่าข้อมูลจะไม่ถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ซึ่งคุณกริชชี้ว่าปัจจุบันได้มีการออกแบบและพัฒนาโซลูชัน Blockchain for Enterprise ขึ้นมา ทั้งที่ใช้งานแล้วและอยู่ระหว่างพัฒนา เช่น Decentralized Digital Lending

สำหรับกลุ่ม Non-Bank, การออกหุ้นกู้เพื่อธุรกิจ SME ในรูปของ Crowdfunding ไปจนถึงระบบ E-Voting สำหรับผู้ถือหุ้น โดยระบบ E-Voting นั้น ทาง I AM Consulting ได้ร่วมกับพาร์ทเนอร์ในกลุ่ม Thailand Blockchain Working Group พัฒนาและใช้งานจริงในการประชุมผู้ถือหุ้นที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เพื่อแก้ไข pain point ในเรื่องของการเดินทาง และการเว้นระยะห่าง ที่มาจากผลกระทบของสถานการณ์ COVID-19

คุณกริช เผยว่า ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีบล็อกเชนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น มีการใช้งานในหลายองค์กรธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ในกลุ่มนักพัฒนาบล็อกเชนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องให้เติบโตแข็งแรง I AM Consulting และพันธมิตร ได้แก่ J Ventures ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มในกลุ่มบริษัทเจมาร์ท, Dome Cloud ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านไอทีครบวงจร และ Satang Corporation เว็บเทรดคริปโตเคอร์เรนซี จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง Thailand Blockchain Working Group (TBWG) ซึ่งเรามีความมุ่งมั่นว่าการรวมตัวนี้จะช่วยให้องค์กร ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ เกิดความเข้าใจ และต้องการที่จะเข้าถึงเทคโนโลยี ส่งผลให้เทคโนโลยีบล็อกเชนและไอทีอื่นๆ เติบโตในประเทศไทยต่อไป

COVID-19 ผลกระทบต่อ Digital Transformation ที่ไม่อาจปฏิเสธได้

หากพูดถึงช่วงที่ผ่านมา คงไม่มีสถานการณ์ใดส่งผลกระทบต่อธุรกิจไปมากกว่า COVID-19 โดยในมุมของคุณกริชซึ่งสังเกตและได้รับฟังเสียงสะท้อนจากผู้ใช้บริการ ระบุว่า COVID-19 เป็นตัวเร่งให้ธุรกิจทั้งหลายที่เห็นโอกาส เร่งเครื่องผลักดันผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่ตลาดเร็วกว่าเดิม ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้หนีไม่พ้น Digital Solution นั่นเอง อีกส่วนหนึ่งที่ COVID-19 เป็นตัวเร่งการปรับบริการธุรกิจโดยคำนึงถึง Social Impact เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน

คุณกริช เสริมว่า จากสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ธุรกิจที่เป็นผู้รับบริการของ I AM Consulting อาจประสบ “ความติดขัด” ในการทำธุรกิจ ดังนั้น สิ่งที่ I AM Consulting ทำคือการเข้าไปช่วย “พัฒนาธุรกิจ” ร่วมกับลูกค้า ด้วยการคิดออกแบบ Solution ให้ “ลูกค้าของลูกค้า” (Customer of Client) ได้รับบริการที่ดีที่สุด ซึ่งทั้งนี้  Digital Transformation ยังเป็นที่ต้องการขององค์กรจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อการค้นหา New S- Curve เพื่อก้าวสู่พรมแดนใหม่ หรือการเสริม Current S-Curve ให้ธุรกิจที่มีอยู่เดิมดำเนินไปได้เต็มที่ขึ้น

3 แกนแนวคิดด้านเทคโนโลยีที่ช่วยให้ธุรกิจแข็งแรงในอีก 3 ปีข้างหน้า

เมื่อได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการ Implement Digital Solution ให้กับองค์กรมามากมาย คำถามที่ควรจะถามต้องว่าด้วยแนวคิดที่จำเป็นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งทางคุณกริชแนะนำว่า องค์กรต้องเตรียมเทคโนโลยีบนแนวคิด 3 แบบ ดังนี้


  • Core Technology ต้องแข็งแรง ก่อนที่จะ Apply เทคโนโลยีและนวัตกรรมใดๆ องค์จะต้องสร้างเทคโนโลยีที่เป็นแกนหลักให้มีความแข็งแรงเสียก่อน อย่างเช่น องค์กรเอนเทอร์ไพรส์ที่ใช้งานระบบ SAP ERP อาจจะต้องกลับมาพิจารณาว่า ระบบที่ใช้อยู่นั้นทำงานเต็มประสิทธิภาพของระบบแล้วหรือยัง มีการวางแผนเพื่อรองรับการเติบโต หรือส่วนไหนที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อเชื่อมต่อกับระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งการมี Core Technology ที่แข็งแรงอาจจะไม่ใช่การยกเครื่องระบบใหม่ แต่เป็นการปรับปรุง หรือต่อยอดส่วนที่ถูกละเลยให้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพก็ได้

  • Integration การผสมผสานงานแต่ละส่วนให้ชัดเจน อีกแนวคิดหนึ่งที่ต้องยึดไว้ คือการพยายามผสานเทคโนโลยีในงานแต่ละขั้นให้เชื่อมโยงกันอันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพต่อธุรกิจโดยรวม คุณกริชยกตัวอย่างถึงธุรกิจ E-Commerce ซึ่งนอกจากการจัดการขายสินค้าแล้ว ยังสามารถผสาน CRM เพื่อติดตามและกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่องได้
  • Outsource งานอย่างเหมาะสม แน่นอนว่าองค์กรหนึ่งไม่จำเป็นต้องจัดตั้งทีมอย่างครบวงจรโดยเฉพาะงานที่ไม่ถนัดและไม่สามารถต่อยอดกับธุรกิจได้ ดังนั้น การเลือก Outsource งานบางอย่างออกไป จะทำให้องค์กรเกิดความคล่องตัวมากกว่า พร้อมกับยังได้รับประสิทธิภาพในระดับมาตรฐานซึ่งในการดำเนินธุรกิจในอนาคตได้

จะเห็นได้ว่าแนวคิด Digital Transformation ที่จำเป็นไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเลือกเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงการเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของทั้งตัวองค์กรและธุรกิจอย่างเหมาะสม เพื่อให้ Digital Solution ใหม่ๆ ถูกนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพของทั้งองค์กรได้อย่างแท้จริง

บทความนี้เป็น Advertorial

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...