เทคใช่ แต่ไม่มีทุน...ทำอย่างไรถึงจะลดช่องว่างระหว่างนักลงทุน กับ Deep Tech Startup ได้ | Techsauce

เทคใช่ แต่ไม่มีทุน...ทำอย่างไรถึงจะลดช่องว่างระหว่างนักลงทุน กับ Deep Tech Startup ได้

เราต่างทราบกันเป็นอย่างดีว่า Deep Tech เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหายิ่งใหญ่และซับซ้อนของโลกใบนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและความมั่นคงทางอาหาร แต่ในทางกลับกันการลงทุนเพื่อสนับสนุน Deep Tech Startup นั้นกลับไม่ได้รับเงินทุนมากพอที่จะนำพาธุรกิจให้เติบโตได้

ที่เป็นเช่นนี้ มีสาเหตุหลัก คือ ความขัดแย้งทางความคิดระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการลงทุน รวมไปถึงอคติที่มีต่อแนวทางการลงทุน เนื่องจาก Deep Tech เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และซับซ้อน รูปแบบการลงทุนแบบดั้งเดิมอาจนำมาใช้ไม่ได้…. Gapระหว่างนักลงทุนกับ Deep Tech Startup มีอะไรบ้าง แล้วปัญหานี้จะแก้ได้อย่างไร ไปหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ ซึ่งได้เรียบเรียงมาจาก สรุป session Deep Tech Investment Insights: Current Gaps and Future Pathways จัดโดย Hello Tomorrow APAC

Deep Tech

Venture Capital กับ Deep Tech Startup

ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจากโมเดลการลงทุนของ Venture Capital แบบดั้งเดิม

  • โดยปกติแล้ว หุ้นส่วนของบริษัท Venture Capital (General Partner) มักจะคุ้นชินกับโครงสร้างการบริหารทุนขนาดใหญ่ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ หรือ AUM มีค่าบริหารจัดการที่คงที่ ซึ่งถ้าหาก Venture Capital หลีกออกจากโมเดลรูปแบบเช่นนี้ ก็ยิ่งเพิ่มอุปสรรคในการดึงดูดเงินทุนจากนักลงทุนของบริษัทได้  (Limited Partner) 
  • จึงทำให้กองทุนของ Venture Capital จัดประเภทนวัตกรรม Deep Tech ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะกองทุน Venture Capital ใดที่มีกำหนดการลงทุนในระยะเวลาจำกัดที่ 10 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่การพัฒนา Deep Tech ยังไม่เห็นภาพและเป็นรูปเป็นร่าง การลงทุนใน Deep Tech ภายในระยะเวลาดังกล่าวจึงอาจไม่สร้างกำไรได้
  • การประเมินศักยภาพเทคโนโลยี Deep Tech ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม แทบจะไม่มีกองทุน Venture Capital ใดที่มีผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสม หรือมีที่ปรึกษาที่มีความเข้าใจมากพอ

“ จากการสำรวจของ Hello Tomorrow ล่าสุดพบว่า กองทุนที่ลงทุนใน Deep Tech กว่า 81% โดยเฉลี่ยแล้วนักลงทุนขาดความเชี่ยวชาญในการประเมินศักยภาพของ Deep Tech”

อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่าง VCs และนักลงทุน Limited Partner (LP)

  • Venture Capital มักจะสนใจในส่วนของผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ในขณะที่องค์กรที่ร่วมในฐานะนักลงทุนแบบ LP ไม่เพียงแต่คาดหวังในผลตอบแทนเท่านั้น ยังคงพิจารณา Startup ว่าจะช่วยขยายเครือข่ายการจัดหานวัตกรรมของตนได้หรือไม่ด้วย

  • แรงจูงใจที่แตกต่างกันเช่นนี้จึงทำให้องค์กรต่าง ๆ (ที่ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกองทุน Deep Tech เนื่องจากอาจเป็นผู้ซื้อกิจการ หรือเป็นลูกค้าของ Startup ในอนาคต) อาจเข้ามาลงทุนและปรับตัวเองให้เข้ากับ VC ได้ยาก

  • ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นสามารถเติมเต็มได้ผ่านการปรับโครงสร้างการบริหารร่วมระหว่าง VCs และ LPs ที่มาจากองค์กรใหม่ได้ เช่น GPs หรือผู้บริหารกองทุน สามารถอนุญาตให้ LPs ขององค์กรที่มีบทบาทสำคัญ มาร่วมเป็นผู้บริหารในคณะกรรมการการลงทุนของกองทุน และอนุญาตให้ LP มีส่วนร่วมในการเลือกดีลที่เหมะสม และสามารถประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการลงทุน

อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากแนวคิดของ Limited Partner (LP) ที่มีต่อนวัตกรรม Deep Tech

  • Limited Partners (LPs) ยังคงลังเลที่จะลงทุนในกองทุนเทคโนโลยี Deep Tech เนื่องจากมีภาพจำว่ามีความเสี่ยงเกินไป หรือ ให้ผลตอบแทนไม่ตรงกับที่คาดหวัง นอกจากนี้ Limited Partners ไม่มีความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์ที่เบื้องหลังเทคโนโลยีมากพอ เช่นเดียวกันนี้ แม้แต่ธนาคารก็ห้ามปราม Limited Partners เข้ามาลงทุน เพราะตัวธุรกิจไม่น่าสนใจพอที่จะโน้มน้าวใจนักลงทุนได้

  • นักลงทุนหุ้นส่วนจำกัด LPs มักจะเชื่อมั่นบริษัท Venture Capital จากประวัติของกองทุนและชื่อผู้ก่อตั้ง มากกว่าแนวทางที่ VC เลือกจะลงทุนในนวัตกรรมต่าง ๆ  จากข้อมูลของ Mountain Ventures LPs กว่า 60% กล่าวว่าประวัติของกองทุนจะเป็นเกณฑ์อันดับแรกที่มีผลต่อการตัดสินใจ

  • อย่างไรก็ตาม ต่อให้พื้นฐานประวัติการลงทุนของ VC นี้ดี ใช่ว่าจะนำไปใช้กับกองทุนที่มีอยู่เป็นส่วนใหญ่ได้ แม้ว่าผลตอบแทนที่ได้จากการเข้าไปลงทุนในนวัตกรรมเทคโนโลยี แต่ในเทคโนโลยี Deep Tech อาจจะได้ผลตอบแทนต่ำกว่ามาก ดังนั้นผลการดำเนินงานย้อนหลังอาจไม่ตอบโจทย์ LPs ได้ทั้งหมด 

อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากความคาดหวังของ CVCs / VCs ที่มีต่อ Deep-Tech Startups

  • Venture Capital ส่วนใหญ่มักมีภาระทางการเงินที่ผูกพันต่อนักลงทุน LPs มักจะมองว่ากองทุนที่ดีจะต้องให้ผลตอบแทนตามที่กำหนดเวลาไว้ VCs จึงคาดหวังที่จะเห็น Startup จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ให้ได้โดยเร็ว

  • Startup ธุรกิจ Deep Tech ส่วนมากมักมีนวัตกรรมขั้นสูง และเต็มไปด้วยแนวคิดเชิงทฤษฎี จนทำให้ Venture Capital มองเห็นภาพได้ยากว่า Startup เหล่านี้จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้จริง และนำวางจำหน่ายในท้องตลาด จนสามารถขยายขนาดธุรกิจ และนำบริษัทจดทะเบียนสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างไร

  • CVC หรือ Corporate Venture Capital ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งเพื่อบริหารกองทุนโดยเฉพาะ 

  • ผู้ก่อตั้ง Startup (Founder) ควรเรียนรู้ว่าจะนำเทคโนโลยี Deep-Tech มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ดีขึ้น และควรวางแผนถึงรายได้และการนำบริษัทจดทะเบียนสู่ตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นกิจจะลักษณะ

  • ทางผู้ก่อตั้ง Startup และ CVCs จะต้องร่วมกันจัดโครงสร้างการบริหารที่สร้างสรรค์มากพอเพื่อดึงจุดเด่นให้กับ Startup ในการสร้างกำไร ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตโดยรวมของ Venture นั้น ๆ

Corporate กับ Deep Tech Startup

ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์กร (Corporate) และ Deep-Tech Startup

  • เมื่อถึงเวลาที่ต้องร่วมมือกันในด้านของเงินทุน องค์กรมักจะมีขั้นตอนการดำเนินการที่ยาวนานและซับซ้อน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อ Startup ที่ต้องการเงินทุนในเวลารวดเร็วเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จริง

  • ผลประโยชน์ระยะยาวระหว่างบริษัทและ Startup อาจแตกต่างไปตามกาลเวลา

  • องค์กรมักถนัดที่จะทำงานกับเทคโนโลยีที่ทราบดีอยู่แล้วและเห็นผลออกมาเป็นรูปธรรม (อย่างน้อยสามารถพัฒนา Minimum Viable Product ออกมาทดสอบตลาดได้) มากกว่าเทคโนโลยีที่เป็นเพียงแนวคิด ซึ่งหากสตาร์ทอัพที่ทำงานด้าน Deep-Tech ยังไม่มีการออกแบบหน้าตาผลิตภัณฑ์ให้เห็นภาพ องค์กรอาจจะสนับสนุน Startup ด้วยเงินทุนจำนวนน้อย

  • องค์กรทั่วไปมีความสุขมากหากได้พัฒนาร่วมกันกับ Startup แต่อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะ Startup บางส่วนใช้เวลายาวนานเกินกว่าที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดได้

  • เพื่อให้การร่วมมือครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ ทั้งองค์กรและ Startup เองต้องพิจารณาในหลายแง่มุม โดยเฉพาะระยะเวลาการพัฒนา หรือประเด็นต่าง ๆ อาทิ การร่วมกันลงทุน หรือการร่วมกันพัฒนา

ความท้าทายเฉพาะ Deep Tech Startup เอง

อุปสรรคทั่วไปที่ Startup ต้องเผชิญ

  • การเข้าถึงแหล่งเงินทุน

  • การเข้าถึงผู้ประกอบการธุรกิจที่มีความสามารถ เนื่องจากผู้ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอาจไม่ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ดีที่สุดเสมอไป

  • การเข้าถึงลูกค้า สำหรับกรณี Deep Tech ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจ B2B

อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการระดมทุน

  • เงินระดมทุนที่ได้จากภาครัฐจะเป็นกุญแจสำคัญในการเริ่มต้นทำธุรกิจ Startup ในช่วงแรก ด้วยเหตุนี้ Startup ควรสำรวจนโยบายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภาครัฐก่อน รัฐบาลเองก็ต้องการ Startups ให้มีส่วนร่วมในการสร้างแรงงานที่มีรายได้สูง อีกทั้งสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

  • สำหรับการลงทุนในจำนวนเงินที่สูงขึ้น องค์กรส่วนใหญ่จะอาศัยคณะกรรมการการลงทุน และหน่วยงานส่วนใหญ่มีงบประมาณดำเนินงานที่มากพอที่จะครอบคลุมต้นทุนเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยให้สตาร์ทอัพระดมทุนได้ง่ายขึ้น

อุปสรรคจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีฝีมือ

  • Startup มักจะขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการบริหารผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ การนำนวัตกรรมดังกล่าวเป็นที่ต้องการจริงในตลาด (commercialization) 

  • Startup ที่พัฒนาเทคโนโลยี Deep tech ส่วนใหญ่ไม่มีเงินมากพอที่จะไปจ้าง Product Person (Product Owner ที่เข้าใจ market / customer รู้จัก pain-point มากพอที่พัฒนานวัตกรรมเป็นสินค้าได้ หรือผู้จัดการ) จึงเน้นไปที่จ้างนักวางแผนการตลาดในตอนท้าย ซึ่งแท้จริงแล้ว Product Talent จำเป็นมากสำหรับองค์กรตั้งแต่ช่วงต้นของการพัฒนานวัตกรรม

  • องค์กรส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการจ้าง Product Talent ในเอเชีย แต่ด้วยโควิด-19 และการทำงานทางไกล ได้เอื้อให้องค์กรสามารถดึงดูด Talent ต่างชาติให้เข้ามาทำงานได้มากขึ้น

  • บริษัทพัฒนาโทรศัพท์ หรือแพลตฟอร์ม E-Commerce ไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป คนรุ่นต่อไปอยากจะทำงานที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลก ด้วยเหตุนี้ผู้ก่อตั้ง Deep tech Startup จะต้องใช้กลยุทธ์การเล่าเรื่องขายบริษัทให้เป็น เพื่อนำคนที่ดีที่สุดมาทำงานร่วมกับองค์กร

Open Commercialisation แนวคิดของการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของ Deep Tech Startup

การเปิดโอกาสให้พาร์ทเนอร์ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด (Open Commercialisation)แนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้น คล้ายกับแนวคิด Open Innovation โดยจะสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างองค์กรอื่น ๆ ในระบบนิเวศเดียวกัน แต่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนช่วงท้ายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ด้วยวิธีดังกล่าว จะช่วยผลักดันให้แต่ละองค์กรร่วมมือกันมากขึ้น ซึ่งอาจจะได้ผู้ที่มีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดมากขึ้น และบางทีอาจมีผู้นำบางส่วนจากธุรกิจต่าง ๆ ที่มาจากบรรษัทข้ามชาติมายื่นมือช่วยเหลือ Deep-Tech Startups ได้

อย่างไรก็ตามจากปัญหาในเรื่องของการลงทุนใน Deep Tech Startup นั้น ได้เกิดขึ้นทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกัน

Techsauce จึงได้มีการร่วมมือกับ Hello Tomorrow เดินหน้ายกระดับประสิทธิภาพองค์กรด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ DeepTech โดยการเชื่อมโยงองค์กรในประเทศไทยกับกลุ่ม DeepTech Startups ผ่านการร่วมมือทั้งในรูปแบบพันธมิตรและการเข้าลงทุน สนใจติดต่อได้ที่ [email protected]

================================

สรุปประเด็นจากการเสวนาระหว่าง
Eugene Wee, Director – Enterprise, A*STAR
Isabel Fox, General Partner, Outsized Ventures
Mark Phong, Asia R&I Director Advanced Research Labs & Business Development, L’Oreal Research & Innovation
Ernest Xue, Head, Hello Tomorrow Asia Pacific

ที่มา: Hello Tomorrow

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...